กรุงเทพโพลล์เผยผลสำรวจแรงงานใน กทม.และปริมณฑลร้อยละ 72.3 พบว่าชีวิตไม่ดีขึ้นหลังช่วงโควิดระบาดหนักและยังเจอผลกระทบเรื่องงานมีร้อยละ 44.5 รายได้ลดลงถึง สะท้อนความต้องการอยากให้มีการคุมราคาสินค้าและขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ
29 เม.ย.2566 มหาวิทยาลัยกรุงเทพเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน(กรุงเทพโพลล์) เรื่อง “ความหวังของแรงงานไทย ในวันแรงงานแห่งชาติ” โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแรงงานในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลจำนวน 643 คน พบว่า
เมื่อถามว่าชีวิตความเป็นอยู่ในวันนี้เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 พบว่ากลุ่มตัวอย่างแรงงานร้อยละ 41.4 มีชีวิตความเป็นอยู่เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนร้อยละ 30.9 มีชีวิตความเป็นอยู่แย่ลง ขณะที่ร้อยละ 27.7 มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
ทั้งนี้เมื่อถามว่ายังต้องเจอผลกระทบต่อการทำงานหรือไม่ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลายพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 71.9 ยังเจอผลกระทบ โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 44.5 รายได้ต่อวันลดลงจากเดิม รองลงมาร้อยละ 31.3 ต้องทำงานเยอะขึ้น งานหนักขึ้น และร้อยละ 24.0 ไม่มี OT เงินโบนัส ขณะที่ร้อยละ 28.1 ไม่เจอกับผลกระทบ
เมื่อถามว่า “ในปัจจุบันรายรับจากค่าจ้างแรงงานกับรายจ่ายเป็นอย่างไร” พบว่า แรงงานร้อยละ 45.7 มีรายรับพอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ขณะที่ร้อยละ 38.6 มีรายรับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ส่วนที่เหลือร้อยละ 15.7 มีรายรับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม
สิ่งที่อยากขอให้กับแรงงาน ในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 73.9 อยากให้ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค พื้นฐานไม่ให้ขึ้นราคา กระทบค่าครองชีพ รองลงมาคือ อยากให้เร่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำคิดเป็นร้อยละ 72.2 และอยากให้มีสวัสดิการโบนัสแก่แรงงานในทุกๆ ปี คิดเป็นร้อยละ 52.7
สุดท้ายเมื่อถามว่าอยากให้มีการพัฒนาทักษะในด้านใด เพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานสากลพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 63.6 อยากให้พัฒนาทักษะในการปรับตัวและเปิดรับในการเรียนรู้สิ่งใหม่ รองลงมาคือ ทักษะทางภาษา คิดเป็นร้อยละ 44.6 และทักษะในการสื่อสารทางการตลาด คิดเป็นร้อยละ 27.1
ทั้งนี้ในโพลล์ระบุว่าการสำรวจนี้ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวโดยสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากกลุ่มแรงงานจำนวน 643 คนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป จำนวน 11 เขต จากทั้งหมด 50 เขต แบ่งเป็นเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ จตุจักร ดอนเมือง ดุสิต บางเขน บางกะปิ บางซื่อ ภาษีเจริญ มีนบุรี สายไหม หนองแขม หลักสี่ และปริมณฑล 2 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี โดยระยะเวลาการสำรวจทำในช่วงวันที่ 18 – 23 เม.ย.2566
รายละเอียดผลสำรวจทั้งหมด
1. ชีวิตความเป็นอยู่ในวันนี้เป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19
ร้อยละ | |
ดีขึ้น |
27.7 |
เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง |
41.4 |
แย่ลง |
30.9 |
2. ผลกระทบต่อการทำงานที่ยังต้องเจอหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลายยังเจอผลกระทบ ได้แก่ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
|
ร้อยละ |
รายได้ต่อวันลดลงจากเดิม |
71.9 |
ต้องทำงานเยอะขึ้น งานหนักขึ้น |
44.5 |
ไม่มี OT เงินโบนัส |
31.3 |
หางานได้ยากขึ้น |
21.5 |
ถูกลดสวัสดิการต่างๆ ที่เคยได้รับลง |
19.1 |
ตกงาน ต้องหางานใหม่ |
12.8 |
ไม่เจอผลกระทบ |
28.1 |
3. ข้อคำถาม “ในปัจจุบันรายรับจากค่าจ้างแรงงานกับรายจ่ายเป็นอย่างไร”
ร้อยละ | |
รายรับเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม |
15.7 |
รายรับพอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม |
45.7 |
รายรับไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม |
38.6 |
4. สิ่งที่อยากขอให้กับแรงงาน ในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ร้อยละ | |
อยากให้ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค พื้นฐานไม่ให้ขึ้นราคา กระทบค่าครองชีพ |
73.9 |
อยากให้เร่งขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ |
72.2 |
อยากให้มีสวัสดิการโบนัสแก่แรงงานในทุกๆ ปี |
52.7 |
อยากให้ดูแลสวัสดิการความปลอดภัย ค่ารักษาพยาบาลแก่แรงงาน |
44.2 |
อยากให้สร้างงาน สร้างอาชีพ ลดภาวการณ์ว่างงาน |
42.1 |
อยากให้ดูแลสวัสดิการเกี่ยวกับผู้เกษียณอายุ ผู้สูงอายุ |
33.1 |
อื่นๆ อาทิ ดูแลความเป็นอยู่แรงงาน ดูแลแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม |
0.3 |
5. ข้อคำถาม “อยากให้มีการพัฒนาทักษะในด้านใด เพื่อเพิ่มศักยภาพต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานสากล” (เลือกตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ร้อยละ | |
ทักษะในการปรับตัวและเปิดรับในการเรียนรู้สิ่งใหม่ |
63.6 |
ทักษะทางภาษา |
44.6 |
ทักษะในการสื่อสารทางการตลาด |
27.1 |
ทักษะในการสร้างสรรค์และนวัตกรรม |
24.1 |
ทักษะทางด้านเทคโนโลยี |
21.9 |
ทักษะในการคิดและวิเคราะห์ |
16.0 |
อื่นๆ อาทิ ไม่มี ไม่ทราบ |
0.8 |