Skip to main content
sharethis

เปิดตัวรายงานของสถาบันวิจัยเอเชีย เซ็นเตอร์ "ข้อมูลบิดเบือนออนไลน์โดยรัฐ: ผลกระทบต่อความสุจริตและสมบูรณ์ของการเลือกตั้งในประเทศไทย"

ข้อมูลบิดเบือนออนไลน์โดยรัฐ หรือที่รู้จักกันว่าปฏิบัติการข่าวสาร (ไอโอ) เป็นกลวิธีหนึ่งที่กัดกร่อนความสุจริตและสมบูรณ์ของการเลือกตั้ง(electoral integrity) ในประเทศไทย ควบคู่ไปกับกลวิธีที่มีอยู่ก่อนแล้ว เช่น กฎหมายเลือกตั้งที่ไม่สอดคล้องกับตามมาตรฐานสากล การยึดอำนาจโดยกองทัพเป็นระยะๆ หรือการสำแดงพลังของกลุ่มสนับสนุนสถาบันกษัตริย์เพื่อล้มล้างรัฐบาลปฏิรูปที่มาจากการเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 พ.ค. 2566 ข้อมูลบิดเบือนโดยรัฐจะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่กำหนดกระบวนการและผลลัพธ์ของการเลือกตั้ง อันจะยังผลกระทบต่อความสุจริตและสมบูรณ์ของการเลือกตั้งในประเทศไทย

เอเชีย เซ็นเตอร์ – สถาบันวิจัยในกรุงเทพฯ ที่มีสถานะที่ปรึกษาพิเศษจากสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ – ไดร้ะบุและอธิบายแนวโน้ม ดังกล่าวไว้ในรายงานวิจัยฉบับล่าสุดในชื่อ “ข้อมูลบิดเบือนโดยรัฐ: ผลกระทบต่อความสุจริตและสมบูรณ์ของการเลือกตั้งในประเทศไทย” ซึ่งเปิดตัวไป 28 เมษายนนี้ รายงานฉบับนี้ สำรวจการเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนออนไลน์โดยรัฐ 4 ประเภท และประเมินผลกระทบต่อความสุจริตและสมบูรณ์ของการเลือกตั้ง

การเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนโดยรัฐ 4 ประเภท ได้แก่

หนึ่ง การใช้ทรัพยากรรัฐเพื่อสร้างและเผยแพร่เนื้อหาสนับสนุนผู้อยู่ในอำนาจ เพื่อสร้างภาพลักษณ์เชิงบวกแก่รัฐบาล กองทัพ และสถาบันกษัตริย์

สอง การใช้ข้อมูลบิดเบือนเป็นอาวุธเพื่อคุกคามนักการเมืองและนักกิจกรรมที่เป็นคนชายขอบ ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือชนกลุ่มน้อยทางชาติพันธุ์-ศาสนา นี่ถือเป็นการขัดขวางการมีส่วนร่วมทางการ เมืองที่สามารถนำความเปลี่ยนแปลงให้พวกเขา

สาม การบิดเบือนข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเลือกตั้งและการทำลายความน่าเชื่อถือของ นักการเมือง พรรคการเมือง และนโยบายของพรรค นี่ถือเป็นการริดรอนสิทธิของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่จะเข้าถึงข้อมูลหลากหลายเพื่อช่วยการตัดสินใจ

และสี่การสร้างความเกลียดชังและขยายความแตกแยกทางอุดมการณ์ในสังคม อันนำไปสู่การแบ่งขั้วการเมืองแบบสุดโต่ง

เจมส์ โกเมซ นักรัฐศาสตร์และผู้อำนวยการภูมิภาคของเอเชีย เซ็นเตอร์คาดการณ์ว่า “ในการเลือกตั้งครั้งต่อๆ ไป ประเทศไทยจะประจักษ์ถึงการขยับไปสู่การใช้ปฏิบัติการข่าวสารในการทำลายประชาธิปไตย แทนที่การยึดอำนาจโดยทหาร โดยปฏิบัติการข่าวสารจะกลายเป็นอาวุธในการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองให้กับทหารผ่านกระบวนการเลือกตั้งโดยการปลุกปลั่นกลุ่มอนุรักษ์นิยมและใส่ร้ายขบวนการประชาธิปไตย”

โกเมซเสริมว่า “ไอโอในประเทศไทยมีความเป็นสถาบันสูง และหากไม่มีมาตรการจัดการปฏิบัติการเหล่านี้ อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ การเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนจะเป็นตัวชี้ขาดในการเลือกตั้งทั่วไปในครั้งนี้”

กอปร์กุศล นีละไพจิตร ผู้นำการวิจัยชิ้นนี้ ตั้งข้อสังเกตว่า “ผู้หญิงที่มีบทบาททางการเมืองมักตกเป็นเป้าโจมตีของปฏิบัติการข่าวสาร โดยไอโอจะถูกนำมาใช้เพื่อด้อยค่าผู้หญิง วิจารณ์รูปร่างหน้าตาของพวกเธอ รวมถึงเชื่อมโยงพวกเธอกับเรื่องอื้อฉาวทางเพศ ข้อมูลบิดเบือนดังกล่าวไม่เพียงทำลาย ชื่อเสียง แต่ยังทำลายสุขภาพจิตและในบางกรณีไอโอได้นำไปสู่การคุกคามทางกายภาพต่อพวกเธอ ที่น่ากังวลกว่านั้นผู้หญิงที่เล่นการเมืองหลายคนจำใจต้องยอมรับภัยคุกคามจากไอโอในฐานะเงื่อนไขในการทำงานที่พวกเธอไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

รายงานฉบับนี้เป็นรายงานเกี่ยวกับประเทศไทยฉบับที่ 3 ของสถาบันวิจัยเอเชีย เซ็นเตอร์ เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2565 ทางสถาบันได้เผยแพร่ รายงานฉบับแรกเรื่อง “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของประเทศไทย: การจำกัดสิทธิดิจิทัลและการปิดปากผู้เห็นต่างบนพื้นที่ออนไลน์” ซึ่งทบทวนบทมาตราต่างๆ ของพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับปี 2550 และฉบับแก้ไขปี 2560 ตลอดจนผลกระทบของกฎหมายดังกล่าวต่อสิทธิดิจิทัลในประเทศไทย ถัดมาในเดือนสิงหาคม เอเชีย เซ็นเตอรไ์ด้นำเสนอรายงานฉบับที่ 2 เรื่อง “เสรีภาพทางอินเตอร์เน็ต ในประเทศไทย” ซึ่งทบทวนและวิเคราะห์กฎหมายทสี่ ่งผลกระทบต่อเสรีภาพทางอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย

สำหรับเอเชีย เซ็นเตอร์ เป็นสถาบันวิจัยที่ได้รับสถานะที่ปรึกษาพิเศษจากสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (UN ECOSOC) เมื่อเร็วๆ นี้สถาบันได้ร่วมมือกับกูลเกิลและมูลนิธิอาเซียน จัดทำโครงการอบรมการรู้เท่าทันสื่อที่ผลิตผู้ฝึกสอนต้นแบบจำนวนกว่า 120 คนในประเทศไทย โดยโครงการได้ส่งต่อทักษะความรู้เท่าทันสื่อให้กับผู้รับผลประโยชน์ปลายทางตามเป้าหมายจำนวนมากกว่า 8,000 คน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net