Skip to main content
sharethis

ผลสำรวจคนทำงานชาวญี่ปุ่น 12,940 ราย พบการทำงานล่วงเวลา (OT) ส่งผลต่อการเปลี่ยนอาชีพถึง 84% นอกจากนี้คนหนุ่มสาวมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับสมดุลชีวิตและการทำงาน


ที่มาภาพประกอบ: tokyoform (CC BY-NC-ND 2.0)

27 พ.ค. 2566 En Tenshoku เว็บไซต์สนับสนุนการเปลี่ยนอาชีพในประเทศญี่ปุ่น ทำการสำรวจผู้ใช้เว็บไซต์ 12,940 ราย เมื่อช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. 2566 ที่ผ่านมา โดยถามว่าการทำงานล่วงเวลา (OT) และจำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลาโดยเฉลี่ยส่งผลต่อการเลือกบริษัทเมื่อค้นหางานใหม่หรือไม่ ผู้ตอบแบบสอบถาม 84% ระบุว่า "ส่งผล" ต่อการตัดสินใจของพวกเขา 

เมื่อพิจารณาตามกลุ่มอายุ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ในวัย 20 และ 30 ปีจะระบุว่ามีผลอย่างมากต่อการเลือกงาน ซึ่งบ่งชี้ว่าคนหนุ่มสาวมีแนวโน้มสูงที่จะให้ความสำคัญกับสมดุลชีวิตและการทำงาน

ผู้ตอบแบบสอบถามรายหนึ่งหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่า “ฉันทำงานในบริษัทที่ต้องทำงานล่วงเวลา แต่ฉันถูกบังคับให้ตอกบัตรลงเวลาเพื่อไม่ให้ทำงานล่วงเวลาเกินอัตราที่กำหนด ฉันต้องการย้ายไปบริษัทที่จ่ายค่าจ้างอย่างยุติธรรม แม้ว่าฉันจะทำงานล่วงเวลาก็ตาม”

ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2023 จำนวน 'เงินค่าล่วงเวลาพิเศษ' (Overtime premium)* ที่ธุรกิจกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในญี่ปุ่นต้องจ่ายให้กับพนักงานที่ทำงานมากกว่า 60 ชั่วโมงต่อเดือนเพิ่มขึ้นจาก 25% เป็น 50% เมื่อผู้ตอบแบบสอบถามถูกถามว่าพวกเขาทราบเรื่องนี้หรือไม่ น้อยกว่า 40% ตอบว่าทราบ ในขณะที่ 61% ตอบว่าพวกเขาไม่ทราบเรื่องนี้

'เงินค่าล่วงเวลาพิเศษ' (Overtime premium) หมายถึง เงินที่จ่ายให้กับพนักงานเมื่อทำงานเกินจำนวนชั่วโมงการทำงานล่วงเวลา (OT) ที่กำหนดในสัญญาการทำงานหรือกฎหมาย ซึ่งอัตราเงินเพิ่มที่จ่ายในการทำงานล่วงเวลาอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กรหรือกฎหมายของแต่ละประเทศ โดยทั่วไปแล้วเงินที่จ่ายเพิ่มจากการทำงานล่วงเวลามักถูกกำหนดให้สูงกว่าอัตราเงินเดือนปกติ

ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ให้การตอบรับในเชิงบวกต่อการปรับขึ้นเงินค่าล่วงเวลาพิเศษ โดย 80% กล่าวว่า "เห็นด้วย" และ "เห็นด้วยอย่างยิ่ง" อย่างไรก็ตาม บางคนยังแสดงความกังวล รวมถึง “จะทำให้การทำงานล่วงเวลาเป็นปกติ หมายความว่าหากผู้คนต้องการได้เงินมากขึ้น พวกเขาจะต้องทนกับการทำงานล่วงเวลา” และ “บางคนจงใจทำงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ได้ค่าล่วงเวลา”

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net