Skip to main content
sharethis

เมื่อ 22 พ.ค. 66 ในการแถลงข่าวและลงนามข้อตกลงร่วม (MOU) ในการจัดตั้งรัฐบาล ที่โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ ช่วงหนึ่งมีการตอบคำถามสื่อมวลชนเรื่องการผลักดัน "กฏหมายสมรสเท่าเทียม" นั้น พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่า การสมรสเท่าเทียมเป็นสิทธิการรับรองที่ประชาชนพึ่งจะสามารถใช้ได้ ไม่ได้เป็นการบังคับประชาชนที่เห็นต่างตามหลักการของศาสนาแต่อย่างใด

สำหรับเงื่อนไข MOU ของพรรคร่วมรัฐบาลข้อ 2 ระบุว่า "ยืนยันและผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม เพื่อรับประกันสิทธิ์สมรสสำหรับคู่รักทุกเพศ โดยจะไม่บังคับประชาชนที่เห็นว่าขัดแย้งกับหลักการศาสนาที่ตนเองนับถือ"

ด้านวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ ชี้แจงเพิ่มเรื่องที่สมรสเท่าเทียมที่ก่อนหน้านี้พรรคประชาชาติตั้งเงื่อนไขว่าต้องไม่ขัดหลักศาสนานั้น วันมูหะมัดนอร์ชี้แจงว่า ประการแรก ในการทำพิธีสมรสจะต้องประกอบด้วยคู่สมรสและผู้ทำพิธี หากคู่สมรสไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาแล้ว กฎหมายจะไปละเมิดหรือบังคับไม่ได้ ประการที่สอง ผู้ที่จะทำพิธีสมรส เช่น โต๊ะอิหม่าม คอเต็บ บิหลั่น ถ้า (คู่สมรส) มาไม่ถูกต้องจะไปบังคับให้เขากระทำพิธีนั้นไม่ได้ เพราะขัดกับหลักศาสนา เช่นเดียวกับ ศาสนาอื่นๆ ก็เช่นเดียวกัน ผมเข้าใจว่าพระตามโบสถ์ต่างๆ  ถ้าไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาที่ตัวเองเชื่อถือ ก็ไม่สามารถจะให้พระหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกระทำพิธีให้คู่สมรสที่ไม่ถูกต้องตามหลักศาสนาได้

สุดารัตน์-พิธา ยันกรอบ MOU ครอบคลุมทุกเพศ หนุนความคิด “ทุกคนเท่าเทียม”

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net