Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

 บูราฮานูดิน อุเซ็ง แปลและเรียบเรียงบทความจากนิตยสาร GATRA ของอินโดนีเซีย  โดยเป็นตอนที่ 5 ของชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจะห์จากหนังสือพิมพ์" ซึ่งนำเสนอกระบวนการสันติภาพในอาเจะห์ โดยเฉพาะการเจรจาระหว่างผู้นำรัฐบาลอินโดนีเซียและผู้นำขบวนการอาเจะห์เสรี (Free Aceh Movement หรือ GAM) ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์เมื่อปี 2548 โดยมีอดีตประธานาธิบดีชาวฟินแลนด์  มาร์ตติ อาห์ติสสารี เป็นผู้ไกล่เกลี่ย

ทั้งนี้ บทความในชุด "ถอดบทเรียนสันติภาพในอาเจะห์จากหนังสือพิมพ์" นำมาจากภาคผนวกหนังสือ Unseen the scenes behind the Aceh Peace Treaty ซึ่งมี Salim Shahab & E.E Siadari บรรณาธิการร่วม ที่รวบรวมบทความที่เคยตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ต่างๆ เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี 

0000

บุคคลหนึ่งที่ทำงานอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย  และเป็นผู้อยู่หลังฉากของการพูดคุยสันติภาพเฮลซิงกิ เขาไม่ใช่เป็นนักการเมือง และทั้งไม่ใช่เป็นนักการทูต คนนั้นคือ ยูฮา คริสเท็นเซ็น ชาวฟินแลนด์อายุ 47 ปี มีฐานะตำแหน่งที่ปรึกษาทางธุรกิจในเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ก่อนหน้านั้นหลายปี ยูฮาและภรรยา เปิรกโก คริสเท็นเซ็น  (Pirkko Christensen ) อาศัยอยู่สุลาเวซีใต้ เป็นเวลานานถึง  3 ปี

ทั้งสามีและภรรยาคู่นี้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ด้านสังคมวิทยาภาษาศาสตร์ในภูมิภาคนี้ รวมถึงภาษาต่างๆ ในภูมิภาคสุลาเวซีใต้ ขณะที่พวกเขาทำงานอยู่ในมากัสสาร์  ยูฮา มักจะแวะมาเยี่ยมเยียน ฟาริด ฮูเซ็น ที่แคมปัสมหาวิทยาลัยฮาซานุดดีน ฟาริด ฮูเซ็น ศัลยแพทย์ และในฐานะอาจารย์ผู้บรรยายอาวุโส นักศึกษาแพทย์มหาวิทยาลัยฮาซานุดดีน และมีความสนิทสนมและเป็นเพื่อนที่สนิทกัน

“ยูฮา และภรรยา มักจะมาพักที่บ้านของผมเสมอ” ฟาริด ฮูเซ็น ผู้อำนวยการทั่วไป กองบริการการแพทย์ในกรมการสุขภาพอนามัย กล่าว

ในยุคของประธานาธิบดีเมกาวาตี ซูการโนปุตรี  ท่านยูซุฟ กัลลา ชักชวนฟาริด ฮูเซ็นมาเป็นผู้ช่วยงาน

การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในอาเจะห์  ฟาริดจึงนึกถึงยูฮา เพื่อนเก่าชาวฟินแลนด์ทันที  ทั้งๆ ที่อยู่ห่างไกลกัน ฟาริด และยูฮาได้ติดต่อทางโทรศัพท์เสมอเป็นแรมปี

“ยูฮามักพูดเสมอๆว่า เขารู้จักแกนนำสมาชิกขบวนการอาเจะห์เสรี ในประเทศสวีเดน“  ฟาริดกล่าวว่า ยูฮาสัญญาว่าเขาจะช่วยประสานงาน และจัดให้มีการพบปะประชุมกับพวกเขา  ฟาริดบินไปฟินแลนด์ ก่อนที่จะบินไปพบขบวนการอาเจะห์เสรีที่สต๊อคโฮล์ม ดังที่ได้กล่าวไป แต่เขามีโอกาสเพียงพบในห้องล็อบบี้ของโรงแรมเท่านั้น “ผมในฐานะประชาชนชาวอินโดนีเซีย ผมจึงไม่เดินเข้าไปหาพวกเขาก่อน” ฟาริดกล่าว

ความพยายามในการแก่ไขความขัดแย้งในอาเจะห์ได้ถูกเลื่อนไป เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียอยู่ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี โดยท่านยูซุฟ กัลลา ได้รับการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ่งและได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานาธิบดีร่วมทีมกับท่านศุสิโล บัมบัง ยุทธโยโน ในฐานะประธานาธิบดี หลังชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย ดังนั้น ความพยายามในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในอาเจะห์  จึงได้มีการหยิบยกมาอีกครั้งหนึ่ง

ฮามิด อะวาลุดดีน  (Hamid Awaluddin) นำคณะผู้แทนสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในนั้นมี ฟาริด ฮูเซ็นร่วมคณะด้วย  เพื่อทำหน้าที่ในการเจรจากับขบวนการอาเจะห์เสรี ฟาริดจึงชักชวนยูฮาเข้ามาช่วยอีกแรงในฐานะเป็นผู้ติดต่อประสานงานกับท่าน มาร์ตติ อะห์ติซารี  อดีตประธานาธิบดีชาวฟินแลนด์ ประธานองค์กร ซ๊เอ็มไอ  (CMI :The Crisis Management Initiative Organization : องค์กรริเริ่มเพื่อการบริหารจัดการภาวะวิกฤติ)

ยูฮาร้องขอท่านมาร์ตติ เพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศอินโดนีเซียในการแก้ไขปัญหากับขบวนการอาเจะห์เสรี  และเป็นผู้ช่วยในการจัดการให้มีการพบปะประชุมกับฟาริด  ฮฺเซ็น เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547 และฟาริด ยังได้ร้องขอให้ท่านช่วยเป็นคนกลางไกล่ในการพูดคุยสันติภาพอย่างไม่เป็นทางการระหว่างอินโดนีเซีย และขบวนการอาเจะห์เสรี ต่อมาท่านมาร์ตติรับปากตกลง

ในการพูดคุยสันติภาพ ระหว่างสาธารณะรัฐอินโดนีเซีย และขบวนการอาเจะห์เสรี ยูฮาได้ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย เขาเป็นเสมือนตัวแทนนายหน้าของแกนนำขบวนการอาเจะห์เสรีในสวีเดน และนำพวกเขามาสู่โต๊ะเจรจาที่เฮลซิงกิ

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net