Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > การไม่เลือกปฏิบัติต่อแรงงาน (ตอน: 2) กรณีศึกษาฝ่ายเภสัชภัณฑ์บริษัท Miles Inc. > การไม่เลือกปฏิบัติต่อแรงงาน (ตอน: 2) กรณีศึกษาฝ่ายเภสัชภัณฑ์บริษัท Miles Inc.

การไม่เลือกปฏิบัติต่อแรงงาน (ตอน: 2) กรณีศึกษาฝ่ายเภสัชภัณฑ์บริษัท Miles Inc.

Submitted by prachatai on Tue, 2009-05-19 04:00

วิทยากร บุญเรือง

บริษัท Miles Inc. เป็นบริษัทวิจัยของอเมริกา ทำธุรกิจด้านเคมีภัณฑ์ ดูแลสุขภาพและเทคโนโลยี เป็นองค์กรอิสระในเครือของมีบริษัทแม่อย่าง Bayer AG ซึ่งเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเภสัชภัณฑ์และเคมีภัณฑ์ของเยอรมัน ฝ่ายเภสัชภัณฑ์มีพนักงาน 6,000 คน มียอดขายในประเทศสหรัฐและแคนาดาประมาณ 1.4 พันล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

เนื่องจากบริษัท Miles Inc. รับงานจากรัฐบาลสหรัฐ จึงจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของรัฐบาลที่ห้ามมิให้มีการเลือกปฏิบัติใน เรื่องเพศ เชื้อชาติ สีผิว ศาสนาหรือภูมิลำเนาเดิมอย่างเคร่งครัดอยู่แล้ว แต่บริษัทยังก้าวไปไกลกว่ากฎระเบียบโดยกำหนดเป็นวัฒนธรรมของบริษัทว่าให้มี การจ้างพนักงานจากหลากหลายภูมิหลัง

ในงานวิจัยของ Sessa และคณะ (“Workforce diversity: The good, the bad, and the reality”, อ้างใน Ferris et al.,1995) พบถึงตัวอย่างในการดำเนินธุรกิจโดยไม่เลือกปฏิบัติต่อแรงงานของ บริษัท Miles Inc. ดังนี้

ทั้งบริษัท Miles Inc. และฝ่ายเภสัชภัณฑ์ทำตามวิสัยทัศน์ของบริษัทที่เกี่ยวกับการจ้างพนักงานจาก หลากหลายภูมิหลัง โดยริเริ่มกระบวนการหลายอย่างที่แสดงว่าบริษัทมีนโยบายอย่างจริงจัง สิ่งแรกที่ดำเนินการคือด้านสวัสดิการ ฝ่ายเภสัชภัณฑ์เริ่มโครงการสวัสดิการช่วยครอบครัวของพนักงานโดยขยาย สวัสดิการที่มีอยู่แล้ว (เช่นสวัสดิการสำหรับบุตรบุญธรรม การลาส่วนตัวและด้วยความจำเป็นครอบครัว โครงการสุขภาพ เงินช่วยเหลือพนักงานและสวัสดิการฉุกเฉิน) เพิ่มสวัสดิการใหม่ (เช่น การแบ่งงานกันทำ การเปลี่ยนกะเวลาทำงาน บริการแนะนำศูนย์ดูแลเด็กเล็ก โครงการเรียนปริญญาในสถานประกอบการและเงินช่วยเหลือคู่สมรสย้ายมาอยู่กับ พนักงาน) สวัสดิการเหล่านี้ทำได้ไม่ยากนักเนื่องจากเป็นการขยายโครงการที่มีอยู่แล้ว และฝ่ายบริหารให้การสนับสนุนไว้แล้ว

บริษัท มีนโยบายให้ผู้จัดการต้องรับผิดชอบการทำงานของพนักงานจากหลากหลายภูมิหลัง เหล่านี้ รวมทั้งประเมินผลงานและคำนวณเงินโบนัสที่พนักงานแต่ละคนควรได้รับ ขณะเดียวกันบริษัทเองเริ่มประชาสัมพันธ์ว่าบริษัทมีนโยบายจ้างงานดังกล่าว โดยผ่านตัวพนักงานและสื่อต่างๆให้ชุมชนทราบ

ขณะ เดียวกันฝ่ายเภสัชภัณฑ์ส่งเสริมให้พนักงานแสดงความคิดเห็นด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อช่วยผู้จัดการที่รับผิดชอบบุคลากรจากต่างภูมิหลังวางแผนการจัดองค์การ ในระดับต่างๆ ร่วมแสดงความเห็นประกอบด้วยทีมที่ปรึกษาด้านพนักงานหลากหลายภูมิหลัง คณะวิจัยสองคณะและกลุ่มสนับสนุนเกย์และเลสเบียน กลุ่มเหล่านี้จะรายงานผลการปรึกษาให้ผู้จัดการในแผนกของตนทราบ การให้พนักงานมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มเช่นนี้ทำให้ฝ่ายบริหาร ตั้งกลุ่มประสานงานกลางในฝ่ายเภสัชภัณฑ์ในเวลาต่อมา กลุ่มทำหน้าที่ประสานกับกลุ่มอื่นในโรงงาน กลุ่มนี้ประกอบด้วยผู้จัดการจากหลากหลายแผนกทั้งในและนอกสำนักงานกลาง กลุ่มประชุมเพื่ออภิปรายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของพนักงานหลากหลาย ภูมิหลังในฝ่ายเภสัชภัณฑ์ทั้งหมด หน้าที่ของกลุ่มคือเสนอแนะและทบทวนแผนปฏิบัติการเพื่อปรับปรุงงานของฝ่าย เภสัชภัณฑ์ในด้านการจ้างงาน เลื่อนตำแหน่งและรักษาพนักงานที่มาจากภูมิหลังต่างๆโดยให้ความสำคัญกับกลุ่ม สตรีและชนกลุ่มน้อยเป็นพิเศษ ข้อเสนอแนะที่กลุ่มเสนอซึ่งฝ่ายบริหารได้เห็นชอบแล้วมีสามเรื่องคือ

(1) ให้จัดโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับการคุกคามทางเพศสำหรับพนักงานทุกคน

(2) จัดโครงการฝึกอบรมสำหรับผู้จัดการและหัวหน้างานเพื่อให้รู้วิธีจัดการคนที่มาจากภูมิหลังต่างๆและ

(3) จัดทำแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารพนักงานหลากหลายภูมิหลังเพื่อ เป็นฐานข้อมูลและเครื่องมือการบริหารสำหรับฝ่ายบริหารในด้านพนักงานหลากหลาย ภูมิหลังที่ทำงานในสถานประกอบการ

โครงการพนักงานหลากหลายภูมิหลังช่วยฝ่ายเภสัชภัณฑ์ของบริษัท Miles เริ่ม กระบวนการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร เริ่มมีการกำหนดวัตถุประสงค์และลำดับความสำคัญในอันที่จะให้บริษัทสามารถ แข่งขันกับบริษัทอื่นในโลกธุรกิจและสภาพสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว

กรณีศึกษาของบริษัท Miles Inc. เป็นตัวอย่างของโครงการพนักงานหลากหลายภูมิหลังที่ริเริ่มโดยบริษัท ทั้งนี้ในรายงานชุด “การไม่เลือกปฏิบัติต่อแรงงาน” ในตอนต่อไปจะเสนอกรณีศึกษาตัวอย่างของบริษัทที่มีนโยบายการไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อช่วยพนักงานที่มีอายุมาก

 

เรียบเรียงจาก:

  • Coporates Success Through People: Making International Labours Standards Work For You (Nikolai Rogovsky And Emily Sims, ILO, 2002)

รายงานก่อนหน้านี้:

  • การไม่เลือกปฏิบัติต่อแรงงาน (ตอน: 1) การไม่เลือกปฏิบัติคืออะไร และมีผลดีต่อนายจ้างอย่างไร [1]

รายงานที่เกี่ยวข้อง: [2]

  • การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ตอน: 1) กรณีศึกษาบริษัท Levi Strauss [2]
  • การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ตอน: 2) “แผนการโนอาห์” สร้างแรงงานสู่ผู้ประกอบการ [3] 
  • การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ตอน: 3) ดูพวกเขากระทำกับแรงงาน เมื่อธุรกิจ dotcom ล่มสลาย [4]
  • การเลิกจ้างแรงงานที่เป็นธรรมในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ (ตอน: 4) มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศกับการเลิกจ้างงาน [5]
ข่าว [6]
ต่างประเทศ [7]
แรงงาน [8]

Source URL: https://prachatai.com/journal/2009/05/24251#comment-0

Links
[1] http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=16620&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai
[2] http://www.prachatai.com/05web/th/home/16056
[3] http://www.prachatai.com/05web/th/home/16089
[4] http://www.prachatai.com/05web/th/home/16149
[5] http://www.prachatai.com/05web/th/home/page2.php?mod=mod_ptcms&ContentID=16195&SystemModuleKey=HilightNews&SystemLanguage=Thai
[6] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[7] https://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99