Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > คดีฟ้อง 10 นักกิจกรรม-นักสหภาพแรงงานกรณีปีนรัฐสภา เริ่มสืบพยาน 21 ก.พ. นี้ > คดีฟ้อง 10 นักกิจกรรม-นักสหภาพแรงงานกรณีปีนรัฐสภา เริ่มสืบพยาน 21 ก.พ. นี้

คดีฟ้อง 10 นักกิจกรรม-นักสหภาพแรงงานกรณีปีนรัฐสภา เริ่มสืบพยาน 21 ก.พ. นี้

Submitted by user8 on Mon, 2012-02-20 13:47

อ้างยุยงให้ประชาชนล้มล้างกฎหมาย มั่วสุมเกิน 10 คน กรณีจอน อึ๊งภากรณ์กับพวกรวม 10 คนเป็นแกนนำชุมนุมต้านการออกกฎหมาย สนช. สมัยคณะรัฐประหารและมีผู้ปีนสภา โดย \มีชัย-ครูหยุย\" ร่วมเป็นจำเลยฝ่ายโจกท์ กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน เปิดเผยวันนี้ (20 ก.พ.) ว่ากรณีที่พนักงานอัยการฟ้อง นายจอน อึ้งภากรณ์ กับพวกรวม 10 คน เป็นจำเลยกรณีปีนเข้าไปนั่งชุมนุมบริเวณหน้าห้องประชุมภายในอาคารรัฐสภา เพื่อคัดค้านการออกกฎหมายของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จะเริ่มการสืบพยานนัดแรกในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 09.00 น. นี้ ณ ห้องพิจารณาคดี 801 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ทั้งนี้ศาลอาญานัดสืบพยานโจทก์และจำเลยรวม 48 นัด เริ่มตั้งแต่วันที่ 21 ก.พ. 55 เป็นต้นไป โดยพนักงานอัยการโจทก์ นำพยานที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่มาจากการรัฐประหารปี 2549 จำนวน 4 ปาก เข้าเบิกความต่อศาลเป็นกลุ่มแรกในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 55 นี้ ได้แก่ 1.นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน สนช. 2.นางสาวพจนีย์ ธนาวรานิช 3. นายวัลลภ ตังคณานุรักษ์ 4.นางเตือนใจ ดีเทศน์ ในวันสืบพยานครั้งแรกนี้จำเลยทั้งสิบจะยื่นคำร้องต่อศาลขออนุญาตให้มีการพิจารณาคดีและสืบพยานลับหลังจำเลย เนื่องจากเป็นการสืบพยานต่อเนื่องเป็นเวลานาน ประกอบกับจำเลยทั้งสิบต้องปฏิบัติงานเต็มเวลาและบางคนภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดจึงไม่สามารถเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดีได้ทุกนัด ประกอบกับจำเลยทั้งสิบมีทนายความอยู่แล้ว ทั้งนี้ เพื่อให้การพิจารณาคดีเป็นไปโดยไม่ชักช้า โดยในวันดังกล่าวจำเลยทั้งสิบกลุ่มเครือข่ายภาคประชาชน และผู้ร่วมสังเกตการณ์คดีทั้งภายในและจากต่างประเทศจะเข้าร่วมฟังการพิจารณาคดี เพราะเล็งเห็นความสำคัญของการใช้เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธตามมาตรา 63 ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้คุ้มครองไว้ อีกทั้งยังเป็นการใช้สิทธิพลเมืองในการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 21 อีกด้วย คดีดังกล่าวพนักงานอัยการมีความเห็นสั่งฟ้องนายจอน อึ๊งภากรณ์กับพวกรวม 10 คน เป็นจำเลยต่อศาลอาญาในข้อหาบุกรุกรัฐสภา ยุยงให้ประชาชนล้มล้างกฎหมาย (กบฏ) และชุมนุมมั่วสุมเกิน 10 คนโดยเป็นแกนนำ (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 362 มาตรา 116(3) มาตรา 215 วรรคสามตามลำดับ) ศาลรับฟ้อง เป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.4383/2553 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2553 กลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้เหตุผลว่าการชุมนุมภายในบริเวณรัฐสภาดังกล่าว \"เกิดขึ้นจากสถานการณ์บ้านเมืองภายหลังการรัฐประหารเมื่อปี 2549 มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติ ทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภาและรัฐสภา พิจารณาร่างกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมและละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชนอย่างรีบเร่งและขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยเฉพาะกฎหมายที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น เช่น พระราชบัญญัติความมั่นคง พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ฯลฯ เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2550\" จำเลยทั้งหมดและพวกจึงได้ชุมนุมเพื่อคัดค้านการปฏิบัติหน้าที่และเรียกร้องการมีส่วนร่วมตามระบอบประชาธิปไตยบริเวณหน้ารัฐสภา ต่อมามีประชาชนจำนวนมากร่วมกันปีนเข้าไปภายในรัฐสภา โดยกลุ่มทนายความและนักกฎหมายเพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่าเป็นไปเพื่อ \"ขอให้สภานิติบัญญัติรับฟังข้อเรียกร้องของประชาชน เนื่องจากประตูรัฐสภาถูกปิดโดยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าไปในรัฐสภาได้ ประกอบกับไม่มีสมาชิกสภานิติบัญญัติหรือเจ้าหน้าที่รัฐสภาคนใดออกมารับฟังข้อเรียกร้องของประชาชน นำมาสู่การถูกฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลในคดีนี้\" ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จำเลยทั้ง 10 คนในคดีที่อัยการฟ้องดังกล่าวประกอบด้วย นายจอน อึ๊งภากรณ์ นายสาวิทย์ แก้วหวาน นายศิริชัย ไม้งาม นายพิชิต ไชยมงคล นายอนิรุทธ์ ขาวสนิท นายนัสเซอร์ ยีหมะ นายอำนาจ พละมี นายไพโรจน์ พลเพชร นางสาวสารี อ๋องสมหวัง และนางสาวสุภิญญา กลางณรงค์"

ข่าว [1]
สิทธิมนุษยชน [2]
กระบวนการยุติธรรม [3]
จอน อึ๊งภากรณ์ [4]
ปีนสภา [5]
ศิริชัย ไม้งาม [6]
สนช. [7]
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ [8]

Source URL: https://prachatai.com/journal/2012/02/39320#comment-0

Links
[1] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[2] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99
[3] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
[4] https://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%AD%E0%B8%99-%E0%B8%AD%E0%B8%B6%E0%B9%8A%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C
[5] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2
[6] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%A1
[7] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%8A
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8D%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4