Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > ศาลรธน.เกาหลีใต้ ฟันคำสั่ง 'ปักจุงฮี' ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน > ศาลรธน.เกาหลีใต้ ฟันคำสั่ง 'ปักจุงฮี' ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน

ศาลรธน.เกาหลีใต้ ฟันคำสั่ง 'ปักจุงฮี' ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน

Submitted by suluck on Fri, 2013-03-22 18:14

ศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ออกคำวินิจฉัยครั้งประวัติศาสตร์ ชี้กฤษฎีกาของประธานาธิบดีปักจุงฮีเมื่อ 39 ปีก่อนขัดรัฐธรรมนูญ ปูทางสู่การลบล้างคำพิพากษาที่เคยตัดสินคดีการเมืองด้วยกฎหมายเผด็จการทั้งหมด

เมื่อวันพฤหัสบดี ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยด้วยเสียงเอกฉันท์ ว่า กฤษฎีกาฉุกเฉินของประธานาธิบดี ฉบับที่ 1, ฉบับที่ 2, และฉบับที่ 9 ซึ่งออกเมื่อปี 2517 และปี 2518 มีเนื้อหา "ไม่สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย"

โดยศาลมีมติเอกฉันท์ 8-0 ระบุว่ากฤษฎีกาฉุกเฉินดังกล่าว "จำกัดสิทธิและละเมิดสิทธิพื้นฐานของประชาชนอย่างเกินเหตุ"
 
ปักจุงฮี บิดาของประธานาธิบดีเกาหลีใต้คนปัจจุบัน ปักกึนเฮ ได้ปกครองประเทศระหว่างปี 2504-2522 ก่อนที่เขาจะถูกลอบสังหาร
 
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กฤษฎีกาฉบับที่ 1 และที่ 2 ได้ "ห้ามวิจารณ์รัฐบาล" และ "ใช้อำนาจตุลาการในทางที่ผิด รวมทั้งละเมิดเสรีภาพในการแสดงออก และสิทธิทางการเมืองของพลเมือง"
 
คำวินิจฉัยครั้งประวัติศาสตร์นี้จะส่งผลให้บรรดาคำพิพากษาในอดีต ที่ได้ตัดสินคดีโดยใช้กฤษฎีกาซึ่งอาศัยอำนาจตามความในรัฐธรรมนูญยูชิน ปี 2515 เป็นโมฆะทั้งหมด
 
ศาลรัฐธรรมนูญได้ออกคำวินิจฉัยดังกล่าวหลังจากอดีตนักโทษการเมือง โอจองซัง อายุ 71 ปี กับพวกอีก 5 คน ได้ยื่นคำร้องต่อศาลแห่งนี้เมื่อปี 2553
 
เมื่อปี 2517 โอได้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานละเมิดกฤษฎีกาฉุกเฉินของประธานาธิบดี ฉบับที่ 1 และกฎหมายความมั่นคงแห่งชาติ เขาถูกซ้อมทรมานและถูกจำคุกเป็นเวลา 3 ปี ฐานวิพากษ์วิจารณ์ปักจุงฮีกับเด็กหญิงมัธยมบนรถบัส
 
ในปี 2550 โอได้ขอให้ศาลตัดสินคดีของเขาใหม่ตามคำแนะนำของคณะกรรมการแสวงหาความจริงเพื่อความสมานฉันท์ ต่อมาในปี 2553 ศาลฎีกาได้กลับคำพิพากษาดังกล่าว และประกาศให้เขาพ้นผิดในทุกข้อหา
 
ปักจุงฮีประกาศใช้รัฐธรรมนูญยูชินในปี 2515 เพื่อให้ตนสามารถครองอำนาจได้โดยไม่มีกำหนด เขาได้ออกกฤษฎีกาหลายฉบับ โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 53 ของรัฐธรรมนูญยูชิน ซึ่งเปิดทางให้เขาใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดต่างๆผ่านหน่วยงานรัฐ เช่น องค์การข่าวกรองกลางเกาหลี ในการปราบปรามสื่อมวลชนและพลเมือง
 
กฤษฎีกาฉุกเฉินของประธานาธิบดีฉบับที่ 1 ซึ่งออกในเดือนมกราคม 2517 ได้ห้ามมิให้ผู้ใดแสดงความเห็นคัดค้านรัฐธรรมนูญยูชิน และฉบับที่ 2 ได้อนุญาตให้คุมขังบุคคลที่ละเมิดกฤษฎีกาฉบับที่ 1 ได้โดยไม่ต้องมีหมายจับ และกำหนดโทษจำคุกสูงสุด 15 ปี
 
ในปี 2518 ปักจุงฮีได้ออกกฤษฎีกาฉบับที่ 9 สั่งห้ามการชุมนุมทางการเมืองทุกรูปแบบ เพื่อปราบปรามการประท้วงของนักศึกษา
 
ปักจุงฮีได้ทำรัฐประหารยึดอำนาจเมื่อปี 2504 แล้วเข้าปกครองประเทศในฐานะผู้นำทหาร จนกระทั่งได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนที่สามของเกาหลีใต้ในปี 2506 และอยู่ในตำแหน่งจนถึงปี 2522
 
ที่มา: วอยซ์ทีวี [1], New York Times [2]

 

ข่าว [3]
ต่างประเทศ [4]
กฤษฎีกาฉุกเฉิน [5]
ปักจุงฮี [6]
รัฐธรรมนูญ [7]
ศาลรัฐธรรมนูญ [8]
เกาหลีใต้ [9]

Source URL: https://prachatai.com/journal/2013/03/45895#comment-0

Links
[1] http://news.voicetv.co.th/global/65984.html?fb_action_ids=435668649853169&fb_action_types=og.likes&fb_source=other_multiline&action_object_map=%7B%22435668649853169%22%3A502961239767496%7D&action_type_map=%7B%22435668649853169%22%3A%22og.likes%22%7D&action_ref_map=%5B%5D
[2] http://www.nytimes.com/2013/03/22/world/asia/court-says-south-korean-dictator-father-of-current-president-violated-constitution.html
[3] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[4] https://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8
[5] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%89%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B4%E0%B8%99
[6] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%87%E0%B8%AE%E0%B8%B5
[7] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D
[9] https://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89