Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > สุเนตร ชุตินธรานนท์: วัฒนธรรมหนังสือในอุษาคเนย์ > สุเนตร ชุตินธรานนท์: วัฒนธรรมหนังสือในอุษาคเนย์

สุเนตร ชุตินธรานนท์: วัฒนธรรมหนังสือในอุษาคเนย์

Submitted by user8 on Mon, 2013-04-01 12:41

การปาฐกถาพิเศษ "วัฒนธรรมหนังสือในอุษาคเนย์" โดย รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์

ในงานประชุมวิชาการ Thailand Conference on Reading 2013 จัดโดยสำนักงานอุทยานการเรียนรู้หรือ TK Park ระหว่างวันที่ 21 และ 22 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งจัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทด้านการส่งเสริมการอ่านของไทยเพื่อนบ้านอาเซียนอีก 3 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย พม่า และเวียดนาม และมีการบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญจากอินเดียนั้น

โดยในวันที่ 22 มี.ค. มีการปาฐกถาพิเศษ “วัฒนธรรมหนังสือในอุษาคเนย์” โดย รศ.ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยตอนหนึ่งของปาฐกถาอาจารย์สุเนตรกล่าวว่า ทุกชาติไม่เฉพาะประเทศไทย มักมองเพื่อนบ้านในฐานะที่ไม่ได้มองโดยเน้นความเป็นมนุษย์ แต่เน้นที่มิติการเป็นศัตรูในประวัติศาสตร์ หรือเฉพาะด้านเศรษฐกิจการค้า ดังนั้น ประตูสู่ความเข้าใจความเป็นมนุษย์และมีความสำคัญที่จะทำความเข้าใจประเทศเพื่อนบ้านอีกด้านหนึ่งก็คือ โลกของการอ่านหนังสือ

ในการปาฐกถาตอนหนึ่งอาจารย์สุเนตรยกตัวอย่างวรรณกรรมของประเทศเพื่อนบ้าน 2 เรื่อง เรื่องแรก คือ มาลาดวงจิต นวนิยายในกัมพูชา ที่สะท้อนเรื่องราวความรักของนักศึกษาชาวกัมพูชาในวิทยาลัยสีสุวัติ กับนิสิตหญิงที่เรียนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งในเรื่องได้สะท้อนภาพความรับรู้ของชาวกัมพูชาต่อชาวไทยอย่างน่าสนใจ

นอกจากนี้ เรายังสามารถเรียนรู้ภูมิหลังทางสังคมของประเทศเพื่อนบ้าน ผ่านวรรณกรรมได้ด้วย โดยอาจารย์สุเนตรยังกล่าวถึงวรรณกรรมเด็กของเวียดนาม เรื่อง "ขอตั๋วหนึ่งใบกลับไปสู่วัยเด็ก" ผลงานของ "เหงวียน เหญิต อั๋นห์" ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยแล้วโดย มนธิรา ราโท โดยวรรณกรรมนี้ได้รับรางวัลซีไรต์ในปี 2554 ซึ่งเป็นเรื่องไม่บ่อยครั้งนักสำหรับเวียดนาม ที่วรรณกรรมเยาวชน และไม่ใช่เรื่องราวของการปฏิวัติจะได้รับรางวัลในเวียดนาม

ท้ายของการปาฐกถา อาจารย์สุเนตรกล่าวว่าหนังสือคือหน้าตาที่เผยความเป็นมนุษย์ ทำให้มนุษย์เข้าใจมนุษย์อย่างที่เป็นมนุษย์ และการศึกษาหนังสือ ไม่ใช่ศึกษาแต่ตัวหนังสือ แต่ต้องทำศึกษาบริบทที่มาของหนังสือด้วย เพื่อให้เข้าใจว่าเพราะเหตุใดหนังสือเล่มนั้นจึงถูกพิมพ์ จึงเป็นที่นิยม และในขณะที่หนังสือมีบริบทของสังคมเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดหนังสือ หนังสือเองก็ผลักดันให้สังคมเปลี่ยนแปลงด้วยพร้อมกันไปด้วย

โดยอาจารย์สุเนตรหวังว่าการอ่านหนังสือจะเป็นพาหนะที่จะทำความเข้าใจจิตวิญญาณภูมิภาคอาเซียน และเปิดพื้นที่ให้กับสังคมไทยและเพื่อนบ้านอาเซียน

ข่าว [1]
วัฒนธรรม [2]
การศึกษา [3]
Cho tôi xin một vé đi tuổi thơ [4]
Maladoungchet [5]
Nguyen Nhat Anh [6]
กัมพูชา [7]
การอ่าน [8]
ขอตั๋วหนึ่งใบกลับไปสู่วัยเด็ก [9]
ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา [10]
ประวัติศาสตร์ [11]
พม่า [12]
มาลาดวงจิต [13]
วรรณกรรม [14]
สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ [15]
สุเนตร ชุตินธรานนท์ [16]
หนังสือ [17]
อุษาคเนย์ [18]
เวียดนาม [19]
เสวนา [20]
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [21]

Source URL: https://prachatai.com/journal/2013/04/46050#comment-0

Links
[1] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[2] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
[3] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2
[4] https://prachatai.com/category/cho-t%C3%B4i-xin-m%E1%BB%99t-v%C3%A9-%C4%91i-tu%E1%BB%95i-th%C6%A1
[5] https://prachatai.com/category/maladoungchet
[6] https://prachatai.com/category/nguyen-nhat-anh
[7] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%99
[9] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%8B%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81
[10] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2
[11] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C
[12] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2
[13] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95
[14] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
[15] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89
[16] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3-%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C
[17] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%AD
[18] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B9%8C
[19] https://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1
[20] https://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%B2
[21] https://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%95%E0%B9%89