Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > ถอดบทเรียน 9 ปัญหาเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เสนอตั้งสมัชชากม.ภาคปชช. > ถอดบทเรียน 9 ปัญหาเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เสนอตั้งสมัชชากม.ภาคปชช.

ถอดบทเรียน 9 ปัญหาเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เสนอตั้งสมัชชากม.ภาคปชช.

Submitted by user13 on Thu, 2013-04-25 16:41

ภาคประชาชนแจง 9 ปัญหาเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เสนอตั้งสมัชชากฎหมายภาคประชาชน และคณะทำงานผลักดันกม.เข้าชื่อ


(แฟ้มภาพ: ประชาไท)

 

คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) จัดประชุมหารือและรับฟังความเห็น “การผลักดันการเข้าชื่อเสนอกฎหมายโดยภาคประชาชน : หลังรัฐสภาไม่รับหลักการของร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม ฉบับภาคประชาชน” เมื่อวันที่ 22 เมษายนที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารซอฟต์แวร์ปาร์ค มีตัวแทนร่างกฎหมายเข้าชื่อ ทั้งสิ้น 34 ฉบับแบ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้แล้ว 5 ฉบับ อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติ 10 ฉบับ กฎหมายที่อยู่ระหว่างนายกรัฐมนตรีลงนามรับรอง 6 ฉบับ กฎหมายที่อยู่ระหว่างประธานสภาผู้แทนราษฎรตรวจสอบ 13 ฉบับ โดยในจำนวนนี้อยู่ระหว่างการสนับสนุนการร่างของ คปก.15 ฉบับ

โดยสรุป ที่ประชุมได้จำแนกปัญหาการเข้าชื่อเสนอกฎหมายของประชาชน ทั้งสิ้น 9 ข้อ ได้แก่
1.ประชาชนยังขาดความรู้และเทคนิคในการร่างกฎหมาย เช่น การจัดหมวดหมู่กฎหมาย การเขียนสาระสำคัญในร่างกฎหมาย
2.ค่าใช้จ่ายในรณรงค์ การรวบรวมรายชื่อ เช่น ร่างกฎหมายการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งใช้งบประมาณ 12-15 บาทต่อรายชื่อ
3. กระบวนการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร การตรวจสอบรายชื่อ การคัดค้านรายชื่อ การลงนามรับรองของนายกรัฐมนตรี กรณีเป็นกฎหมายว่าด้วยการเงิน ไม่มีระยะเวลากำหนดและส่วนใหญ่ใช้เวลานาน
4.รัฐบาลมักอ้างว่ากฎหมายเข้าชื่อต้องมีร่างกฎหมายของรัฐบาลประกบ ทั้งที่ไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ (เป็นแค่ธรรมเนียมปฏิบัติ)
5.มีการตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อร่างกฎหมายเข้าชื่อถึงขั้นตอนสุดท้าย มักถูกแก้ไขจนไม่เหลือเนื้อหาสาระสำคัญตามเจตนารมณ์เดิมของร่างกฎหมาย
6.สภาผู้แทนราษฎรลงมติพิจารณาร่างกฎหมาย โดยไม่รอร่างกฎหมายเข้าชื่อ เช่น กรณีร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. ....
7.การลงมติใช้เสียงข้างมากปัดตกร่างกฎหมายเข้าชื่อ เช่น กรณีร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่..)
8.การพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไม่มีข้อมูลในเรื่องนั้นๆ จึงไม่เห็นความสำคัญของกฎหมายเข้าชื่อ
9.กฎหมายไม่ได้กำหนดให้มีสัดส่วน 1 ใน 3 ของผู้เสนอกฎหมาย ในชั้นกรรมาธิการร่วม

ทั้งนี้มีข้อเสนอจากที่ประชุมกรณีร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับประชาชนเข้าชื่อ ควรทำหนังสือไปยังสภาผู้แทนราษฎรอ้างว่าการแยกลงมติรับหลักการร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมขัดต่อหลักการของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 27, 163 ประกอบกับเสนอแนะให้เสนอร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. .... กลับเข้าสู่การพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ไม่สามารถเสนอกฎหมายที่มีหลักการเหมือนกัน ดังนั้นเมื่อสภาผู้แทนราษฎรแยกลงมติและมีหนังสือชี้แจงว่า มีหลักการของกฎหมายต่างกัน จึงสามารถเสนอกลับเข้าไปได้ใหม่

สำหรับแนวทางการขับเคลื่อนของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย เตรียมจัดทำหนังสือไปยังฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อติดตามเร่งรัดกฎหมายประชาชน ขณะเดียวกันที่ประชุมมีความเห็นสอดคล้องกันว่า ควรมีการเสนอให้มีการจัดตั้งสมัชชากฎหมายภาคประชาชน รวมถึงจัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฎหมายแก่ประชาชน ศึกษา ถอดบทเรียนการเข้าชื่อเสนอกฎหมายที่ผ่านมา และตั้งคณะทำงานเพื่อผลักดันกฎหมายเข้าชื่อโดยภาคประชาชน จะเป็นแนวทางหลักในการดำเนินการต่อไป
 

ข่าว [1]
คุณภาพชีวิต [2]
สิทธิมนุษยชน [3]
การเข้าชื่อเสนอกฎหมาย [4]
คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย [5]
ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับภาคประชาชน [6]

Source URL: https://prachatai.com/journal/2013/04/46403#comment-0

Links
[1] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[2] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95
[3] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99
[4] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2
[5] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2
[6] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1-%E0%B8%89%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99