Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > นักอนุรักษ์ทยอยประกาศคืน ‘รางวัลลูกโลกสีเขียว’ จวก ปตท.สร้างภาพสีเขียว > นักอนุรักษ์ทยอยประกาศคืน ‘รางวัลลูกโลกสีเขียว’ จวก ปตท.สร้างภาพสีเขียว

นักอนุรักษ์ทยอยประกาศคืน ‘รางวัลลูกโลกสีเขียว’ จวก ปตท.สร้างภาพสีเขียว

Submitted by user04 on Thu, 2013-08-01 03:56
กลุ่มผู้เคยได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวจาก ปตท. ทยอยประกาศตัวไม่ขอเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างภาพนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้ ปตท.อีกต่อไป เตรียมเดินหน้าคืนรางวัลพร้อมเงินศุกร์ 2 ส.ค.นี้ 
 
สภาพอ่าวพร้าว เกาะเสม็ด เมื่อวันที่ 31 พ.ค.56
โดย: Karnt Thassanaphak [1]
 
1ส.ค.56 – ความเคลื่อนไหวในสังคมออนไลน์เฟซบุ๊กกรณีเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วจากท่อส่งน้ำมันกลางทะเลของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน) หรือ พีทีที จีซี ในเครือ ปตท.ตั้งแต่เมื่อวันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา ทำให้คราบน้ำมันดิบสร้างความเสียหายแก่ชายหาดบนเกาะเสม็ด จ.ระยอง รวมทั้งสัตว์น้ำในทะเล มีการรวมตัวตั้งกลุ่ม "คืนรางวัลลูกโลกสีเขียว ปตท. [2]" ขึ้นเพื่อประท้วงเหตุการณ์ดังกล่าว และการแก้ปัญหาของ ปตท. พร้อมมีการนัดหมายกันของกลุ่มผู้เคยได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวจาก ปตท.เพื่อไปคืนรางวัลที่สำนักงานใหญ่ ปตท.ในวันศุกร์ที่ 2 ส.ค.นี้ 
 
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเริ่มต้นจาก เมื่อช่วงเย็นวันที่ 31 ก.ค.56 นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อาจารย์ภาควิชาอายุรศาสตร์ หน่วยวิชาระบบ หัวใจและหลอดเลือด คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าของรางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2550 ในฐานะเป็นผู้เปิดประตูสู่โลกธรรมชาติให้กับเยาวชน ด้วยการจัดกิจกรรมดูนกและให้ความรู้เรื่องของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชนและผู้สนใจทั่วไป โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัว Rungsrit Kanjanavanit [3] ประกาศคืนรางวัล พร้อมเงินสด 1 แสนบาท
 
“ผมต้องกราบขออภัยและด้วยความเคารพอย่างสูงต่อ ฯพณฯ ท่าน อานันท์ ปันยารชุน และคณะกรรมการรางวัลลูกโลกสีเขียว ปตท.ผมมีความจำเป็นต้องคืนรางวัลดังกล่าวที่ได้รับมาแก่ทางบริษัท ในปี พ.ศ.2550 ผมรู้สึกขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่ทางคณะกรรมการได้ให้กำลังใจ และเกียรตินี้แก่ผม แต่ ด้วยพฤติกรรมของบริษัท ปตท.ที่ผ่านมา ผมไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างภาพสีเขียว ของบริษัทฯ ได้จริงๆ โดยผมจะนำไปส่งคืนพร้อมเงินหนึ่งแสนที่ได้รับมาในวันศุกร์นี้ครับ ขอกราบขออภัยอีกครั้งครับ” ข้อความจากเฟซบุ๊ก Rungsrit Kanjanavanit [3]
 
 
 
ต่อมา ผู้ใช้เฟซบุ๊กในชื่อ Acharawadee Buaklee [4] ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กส่วนตัวของ นางอัจฉราวดี บัวคลี่ ผู้ชำนาญการสื่อพลเมือง สำนักเครือข่ายสื่อพลเมือง ไทยพีบีเอส อดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์พลเมืองเหนือ ซึ่งเป็นสื่อมวลชนดีเด่นรางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2550 ก็ได้โพสต์ข้อความแสดงความเห็นด้วยกับแนวคิดของ นพ.รังสฤษฎ์ และจะส่งมอบรางวัลดังกล่าวคืนให้กับ ปตท.เช่นกัน
 
“ต้องขออภัยในกำลังใจที่เคยมีให้กับหนังสือพิมพ์ 'พลเมืองเหนือ' จ.เชียงใหม่ พวกเราเคยรู้สึกภาคภูมิใจที่การร่วมสื่อสารเพื่อปกป้องดูแลทรัพยากรของชุมชนมีคนมองเห็นคุณค่า แม้ขณะนี้หนังสือพิมพ์พลเมืองได้ปิดตัวลงไปนานแล้ว แต่เชื่อว่าผู้ร่วมงานทุกคนยังคงยึดมั่นกับแนวคิดเดิม ดิฉันในนามอดีตบรรณาธิการหนังสือพิมพ์พลเมืองเหนือ เห็นด้วยกับแนวคิดของ นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ จึงขอส่งมอบรางวัลดังกล่าวคืนต่อ ปตท. โดยจะส่งคืนทางไปรษณีย์ยัง ปตท.สำนักงานใหญ่ในวันพรุ่งนี้ (1 ส.ค.2556)” ข้อความจากเฟซบุ๊ก Acharawadee Buaklee [4]
 
 
ส่วนในเพจ คนอนุรักษ์ [5] ได้รวบรวมชื่อผู้ประกาศจุดยื่นโดยการคืนรางวัลลูกโลกสีเขียวของ ปตท.ว่าล่าสุด มีจำนวน 5 กลุ่ม/คน ประกอบด้วย
 
1.นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ เจ้าของรางรางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2550 ประเภทบุคคล (คลิกอ่านข้อมูล [6])
2.นายเข็มทอง และนางอาริยา โมราษฎร์ ผู้ก่อตั้ง “กลุ่มเด็กรักป่า” เจ้าของรางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2546 ประเภทบุคคล (คลิกอ่านข้อมูล [7])
3.หนังสือพิมพ์พลเมืองเหนือ จ.เชียงใหม่ เจ้าของรางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2550 ประเภทสื่อมวลชน (คลิกอ่านข้อมูล [8])
4.แม้นวาด กุญชร ณ อยุธยา เจ้าของรางรางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2550 ประเภทงานเขียน จากสารคดี "เขา ป่า นา เล : บันทึกที่หล่นหายในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา" (คลิกอ่านข้อมูล [9])
5.กลุ่มเยาวชนอาสาสมัครปางแฟน เจ้าของรางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2548 ประเภทกลุ่มเยาวชน (คลิกอ่านข้อมูล [10])
 
 
นอกจากนี้ ในกลุ่ม คืนรางวัลลูกโลกสีเขียว ปตท. [11] มีการเผยแพร่ข้อความของ นายเข็มทองและนางอาริยา โมราษฎร์ ผู้ก่อตั้ง “กลุ่มเด็กรักป่า”ประกาศคืนรางวัลลูกโลกสีเขียว
 
ระบุว่า “เรียน ฯพณฯ ท่าน อานันท์ ปันยารชุน และคณะกรรมการรางวัลลูกโลกสีเขียว ปตท.ผมมีความจำเป็นต้องคืนรางวัลดังกล่าวที่ได้รับมาแก่ทางบริษัท ในปี พ.ศ.2546 ผมรู้สึกขอบพระคุณเป็นอย่างสูงที่ทางคณะกรรมการได้ให้กำลังใจ และเกียรตินี้แก่ผมและภรรยา แต่ด้วยพฤติกรรมของบริษัท ปตท.ที่ผ่านมา ผมไม่สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างภาพองค์อนุรักษ์ธรรมชาติ ของปตท.ได้ ผมกับภรรยาจะนำถ้วยรางวัลมาส่งคืนในวันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม 2556 ณ.ปตท.สำนักงานใหญ่
 
ปล.ผมขออนุญาตท่านอานันท์และกรรมการทุกท่านนะครับ ผมขอคืนเฉพาะถ้วยรางวัล ส่วนเงินรางวัลหนึ่งแสนนั้น ผมใช้ซื้อน้ำมันปตท.ท่านไปหมดแล้ว ขอกราบขออภัยท่านอีกครั้งครับ”
 
ทั้งนี้ ในเว็บไซต์รางวัลลูกโลกสีเขียว (http://pttinternet.pttplc.com/greenglobe/history.html [12]) ระบุถึงความเป็นมาของรางวัลดังกล่าวไว้ว่า รางวัลลูกโลกสีเขียวเป็นโครงการต่อเนื่อง จากโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติฯ ปตท.ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ.2542 เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 72 พรรษา ด้วยความร่วมมือของผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ โดยมีเป้าหมายสนับสนุนและให้กำลังใจ แก่ผลงานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของบุคคลและกลุ่มบุคคล ที่ทำด้วยแรงกาย แรงใจ และด้วยความมุ่งมั่น เป็นความดีที่สมควรได้รับการยกย่องและเผยแพร่เป็นแบบอย่างต่อไป
 
นับจากปีแรกจนถึงปัจจุบัน รางวัลลูกโลกสีเขียว มีผลงานประเภทชุมชน บุคคล กลุ่มเยาวชน งานเขียน ความเรียงเยาวชน สื่อมวลชน และรางวัล “สิปปนนท์ เกตุทัต 5 ปี แห่งความยั่งยืน” ได้รับ รางวัลลูกโลกสีเขียว ไปแล้วทั้งสิ้น 249 รางวัล โดยผู้ได้รับรางวัลยังคงมุ่นมั่นสร้างสรรค์ผลงาน ในการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และขยายเครือข่ายแห่งการอนุรักษ์ออกไปมากขึ้นกว่าเดิม
 
สำหรับรายงานความคืบหน้าการเคลื่อนไหวในกลุ่มคืนรางวัลลูกโลกสีเขียว ปตท. [2] กำหนดการกิจกรรมการคืนถ้วยรางวัลแก่ ปตท.วันที่ 2 ส.ค.56 นายเข็มทองและนางอาริยา โมราษฎร์ ผู้ก่อตั้งกลุ่มเด็กรักป่า เจ้าของรางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2546 จะนำถ้วยรางวัลไปคืน ปตท. หน้าสำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดี ตั้งแต่เวลา 06.00 น. และนายเข็มทองจะอดอาหารเป็นเวลา 9 ชั่วโมง ก่อนคืนถ้วยรางวัล
 
จากนั้นในเวลา 15.30 น. ผู้ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวที่แสดงเจตนารมณ์ร่วมคืนถ้วยรางวัลทุกท่าน พร้อมกันที่ ปตท.สำนักงานใหญ่ และจะประกาศเจตนารมณ์ในเวลา 16.00 น. โดยมี นายรังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2550 เป็นผู้นำแสดงเจตนารมณ์ และในเวลา 17.00 น. คณะผู้ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวจะขอขมากรรมการทุกท่าน ก่อนแยกย้ายกันกลับ
 
สำหรับผู้ที่แสดงเจตนารมณ์คืนถ้วยรางวัล ในเบื้องต้นเพิ่มเป็น 10 กลุ่ม/คน โดยเพิ่มเติมอีก 5 กลุ่ม/คน ประกอบด้วย
1.พระอาจารย์ยงยุทธ ทีปโก วัดปางงุ้น ต.สรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่ รางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2552 (คลิกอ่านข้อมูล [13])
2.นิตยสารโลกสีเขียว มูลนิธิโลกสีเขียว รางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2549 ประเภทสื่อมวลชน โดยบรรณาธิการคนปัจจุบันจะนำมาคืน (คลิกอ่านข้อมูล [14])
3.นายจตุพงษ์ จันทรเพชร เจ้าของรางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2549 ประเภทงานเขียน จากสารคดี “ต้นเอ๋ย ต้นไม้” (คลิกอ่านข้อมูล [15])
4.นายเพชร มโนปวิตร เจ้าของรางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2546 ประเภทงานเขียน จากสารคดี “นกแต้วแล้วท้องดำ...บนเส้นทางแห่งการสูญพันธุ์?” แสดงเจตนาคืนถ้วยรางวัล แต่ยังหาถ้วยรางวัลไม่พบ เนื่องจากเหตุน้ำท่วมใหญ่ปลายปี 2554
5.นิตยสารมนต์รักแม่กลอง เจ้าของรางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2552 ประเภทสื่อมวลชน ก็มีการแสดงเจตจำนงคืนรางวัลด้วย (https://www.facebook.com/pattaraporn.apichit/posts/3264203619677 [16])
 
นอกจากนี้ในส่วนของกลุ่มเยาวชนอาสาสมัครปางแฟน เจ้าของรางวัลลูกโลกสีเขียว ปี 2548 ประเภทกลุ่มเยาวชน ได้จัดทำจดหมายอย่างเป็นทางการถึงผู้บริหาร ปตท.และคณะกรรมการรางวัลลูกโลกสีเขียว
 
พร้อมระบุ "... เรา “กลุ่มเยาวชนอาสาสมัครปางแฟน” จึงขอส่งคืนรางวัลลูกโลกสีเขียว ที่เราได้รับจาก ปตท. เมื่อปี พ.ศ. 2548 ประเภท กลุ่มเยาวชนอาสาสมัครด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อแสดงความผิดหวัง ต่อการจัดการปัญหานี้ของ ปตท. และเพื่อเป็นเสียงเล็กๆ เสียงหนึ่งที่เรียกร้องให้ ปตท. เสนอข้อเท็จจริง พร้อมทั้งแสดงความรับผิดชอบอย่างจริงจังต่อปัญหาที่เกิดขึ้น เราขอไม่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างภาพสีเขียวของ ปตท.อีกต่อไป”

คลิกอ่านจดหมายขอคืนรางวัล [17]

 

ข่าว [18]
คุณภาพชีวิต [19]
สิทธิมนุษยชน [20]
สิ่งแวดล้อม [21]
นักอนุรักษ์ [22]
น้ำมันดิบรั่ว [23]
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน) [24]
ปตท. [25]
พีทีที จีซี [26]
รางวัลลูกโลกสีเขียว [27]
อ่าวไทย [28]

Source URL: https://prachatai.com/journal/2013/08/47951#comment-0

Links
[1] https://www.facebook.com/karnt.thassanaphak
[2] https://www.facebook.com/groups/444814035635790/permalink/444816632302197/
[3] https://www.facebook.com/rungsrit.kanjanavanit
[4] https://www.facebook.com/acharawadee.buaklee
[5] https://www.facebook.com/Khonanurak?hc_location=timeline
[6] http://pttinternet.pttplc.com/greenglobe/2550/personal-05.html
[7] http://pttinternet.pttplc.com/greenglobe/2546/personal-02.html
[8] http://pttinternet.pttplc.com/greenglobe/2550/media-01.html
[9] http://pttinternet.pttplc.com/greenglobe/2550/writing-02.html
[10] http://pttinternet.pttplc.com/greenglobe/2548/youthgroup-05.html
[11] https://www.facebook.com/groups/444814035635790/
[12] http://pttinternet.pttplc.com/greenglobe/history.html
[13] http://pttinternet.pttplc.com/greenglobe/2552/personal-01.html
[14] http://pttinternet.pttplc.com/greenglobe/2549/media-01.html
[15] http://pttinternet.pttplc.com/greenglobe/2549/writing-01.html
[16] https://www.facebook.com/pattaraporn.apichit/posts/3264203619677
[17] http://pangfan.org/%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%97/
[18] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[19] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95
[20] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99
[21] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1
[22] https://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C
[23] https://prachatai.com/category/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7
[24] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%97-%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5-%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A5-%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A5-%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99
[25] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%97
[26] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5-%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%B5
[27] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7
[28] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2