Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > ศาลฎีกาไม่ให้ประกัน"คธา"อดีตโบรกเกอร์ คดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เหตุผล"เกรงว่าจะหลบหนี "

ศาลฎีกาไม่ให้ประกัน"คธา"อดีตโบรกเกอร์ คดี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เหตุผล"เกรงว่าจะหลบหนี "

Submitted by sarayut on Tue, 2014-03-11 12:15

11 มี.ค. 2557 ณ ศาลอาญา รัชดา ศาลฎีกามีคำสั่งไม่ให้ประกันตัว นายคธา (สงวนนามสกุล) อดีตโบรกเกอร์หนุ่ม ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีโพสต์ 2 ข้อความข่าวลืออันไม่เป็นมงคลทำให้หุ้นตก ในช่วงปี 52 และข้อความเกี่ยวกับสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

ศาลฎีกาให้เหตุผลว่า "ศาลพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดี ประกอบกับศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี 8 เดือน และคดีต้องห้ามไม่ให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง หากอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว จำเลยอาจจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวในระหว่างฎีกา ให้ยกคำร้อง ลงวันที่ 7 มี.ค.2557"

คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากการที่มีผู้โพสต์ข้อความลงในเว็บบอร์ดฟ้าเดียวกัน เมื่อปี 2552 เรื่องข่าวลือที่ทำให้หุ้นตกอย่างหนัก และการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อเดือนเมษายน 2552 ซึ่งเป็นข้อความที่เกี่ยวข้องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี อย่างละ 1 ข้อความ รวมเป็นความผิด 2 กรรม

คธาถูกจับกุมตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2552 แต่ได้รับการประกันตัว ในช่วงเวลาเดียวกัน ตำรวจยังได้จับกุมตัวผู้ต้องหาอีกรวมอย่างน้อย 5 คน รวมถึงผู้ที่แปลข่าวจากสำนักข่าวต่างประเทศซึ่งวิเคราะห์เรื่องหุ้นตกแล้วนำไปโพสต์ในเว็บบอร์ดด้วย แต่แยกดำเนินคดี

ต่อมา 25 ธ.ค.2555 ศาลชั้นต้นตัดสินว่า นายคธามีความผิด ตามมาตรา 14 (2) ของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ลงโทษจำคุกกรรมละ 3 ปี 2 กรรมรวม 6 ปี จำเลยรับสารภาพในชั้นสอบสวนเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาจึงลดโทษให้ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 4 ปี

ในการพิพากษาชั้นอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2557 ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้น จากจำคุก 4 ปี เหลือ 2 ปี 8 เดือนจำเลยโดยที่จำเลยได้ยื่นคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ใช้หลักทรัพย์เดิมมูลค่า 500,000 บาท แต่ศาลอุทธรณ์ได้ศาลส่งศาลฎีกาพิจารณา

 

หมายเหตุ มีการเพิ่มเติมข้อมูลเวลา 17.30 น.(11 มี.ค.)

ข่าว [1]
การเมือง [2]
สิทธิมนุษยชน [3]
ข่าวลือ [4]
คธา [5]
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ [6]
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 [7]
ศาลฎีกา [8]
สถาบันกษัตริย์ [9]
หุ้นตก [10]

Source URL: https://prachatai.com/journal/2014/03/52204#comment-0

Links
[1] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[2] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87
[3] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99
[4] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD
[5] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%98%E0%B8%B2
[6] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
[7] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C-%E0%B8%9E%E0%B8%A82550
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2
[9] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%8C
[10] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%81