Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > ศาลอียูคว่ำกฎหมายบังคับเก็บเมทาดาทา ชี้ละเมิดความเป็นส่วนตัว > ศาลอียูคว่ำกฎหมายบังคับเก็บเมทาดาทา ชี้ละเมิดความเป็นส่วนตัว

ศาลอียูคว่ำกฎหมายบังคับเก็บเมทาดาทา ชี้ละเมิดความเป็นส่วนตัว

Submitted by user13 on Wed, 2014-04-09 17:09

เครือข่ายพลเมืองเน็ต [1]

 

9 เม.ย.2557 เมื่อวันอังคารที่ 8 เมษายนที่ผ่านมา ศาลยุติธรรมสหภาพยุโรปตัดสินว่า กฎหมาย European Data Retention Directive 2006 หรือกฎหมายสหภาพยุโรป ว่าด้วยการจัดเก็บข้อมูล ปี 2006 (พ.ศ.2549) ที่บังคับให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ต้องเก็บเมทาดาทา (metadata) ส่วนตัวของผู้ใช้บริการที่ลงทะเบียนใช้งาน ไว้เป็นเวลาสองปี ว่าขัดต่อสิทธิพลเมือง ว่าด้วยความเป็นส่วนตัว

ศาลได้แถลงว่า “ข้อเท็จจริงที่ข้อมูลถูกจัดเก็บและนำไปใช้ โดยปราศจากการแจ้งให้ผู้ใช้ที่ทำการลงทะเบียนใช้งานได้ทราบ ทำให้บุคคลเหล่านั้นเกิดความกังวลว่าชีวิตส่วนตัวของพวกเขากำลังถูกสอดแนม”

ศาลตัดสินว่าการจัดเก็บข้อมูลการใช้บริการโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตตามกฎหมายนี้ อาจบ่งบอกถึงข้อมูลส่วนบุคคล เกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของผู้ที่ถูกเก็บข้อมูลที่มีความเฉพาะเจาะจงในรายละเอียด เช่น กิจวัตรประจำวัน ที่พักอาศัยทั้งชั่วคราวและถาวร ความสัมพันธ์กับผู้คนในสังคม และความถี่ในการพบปะผู้คน

การพิจารณายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการจัดเก็บของศาลในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากการริเริ่มของนักเคลื่อนไหวจากไอร์แลนด์ และออสเตรีย ได้แก่ กลุ่ม Digital Rights Ireland และ Austrian Working Group on Data Retention ที่ฟ้องร้องรัฐบาลของประเทศตนเองในประเด็นนี้

 

แปลและเรียบเรียงจาก
http://mashable.com/2014/04/08/ecj-rejects-metadata-law-privacy [2]

 

ขอบเขตของข้อมูล "เมทาดาทา" นั้นกว้างแค่ไหน?

เมทาดาทา (metadata) นั้นหมายถึงข้อมูลประกอบที่อธิบายข้อมูลหลักอีกที เช่น ในการโทรศัพท์หากัน เนื้อความที่พูดคุย คือข้อมูลหลัก ส่วนหมายเลขต้นทาง-ปลายทาง และเวลาที่ต่อสาย-วางสาย คือข้อมูลเมทาดาทา หรือในไฟล์ MP3 ตัวเพลงที่เราฟัง คือข้อมูลหลัก ส่วนชื่อเพลง ชื่ออัลบั้ม ชื่อนักร้อง และความยาวของเพลง เป็นข้อมูลประกอบ

แม้เมทาดาทาไม่ใช่ตัวข้อมูลที่เป็นเนื้อหาหลัก แต่ก็มีความสำคัญ และหลายครั้งมันเปิดเผยตัวเนื้อหาหลักอย่างชัดเจน หรือสามารถนำเมทาดาทาหลายๆ ชิ้นมาประกอบกันเพื่อระบุอัตลักษณ์ตัวตนของคนได้

เนื่องจากกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในหลายประเทศยังเป็นกฎหมายจากยุคอนาล็อก ยุคที่พลังการจัดเก็บผ่านเครือข่ายสื่อสารยังมีไม่มาก และพลังการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่ด้วยคอมพิวเตอร์ยังไม่รวดเร็วเช่นทุกวันนี้ ซึ่งการใช้ประโยชน์จากเมทาดาทาทำได้จำกัด กฎหมายเหล่านั้นก็เลยยังไม่ได้คิด ยังไม่ได้คุ้มครองข้อมูลเมทาดาทานี้

มันเลยกลายเป็นช่องโหว่ให้หน่วยงานข่าวกรองบางประเทศ อ้างว่าข้อมูลที่ตัวเองอยากจัดเก็บนั้น "เป็นเมทาดาทา" แล้วก็จัดเก็บกันดื้อๆ

 

ข่าว [3]
ต่างประเทศ [4]
สิทธิมนุษยชน [5]
ไอซีที [6]
metadata [7]
ความเป็นส่วนตัว [8]
สหภาพยุโรป [9]
เครือข่ายพลเมืองเน็ต [10]
เมทาดาทา [11]

Source URL: https://prachatai.com/journal/2014/04/52643#comment-0

Links
[1] https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152347540963130&set=a.10150109699603130.289409.116319678129&type=1&stream_ref=10
[2] http://mashable.com/2014/04/08/ecj-rejects-metadata-law-privacy
[3] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[4] https://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8
[5] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99
[6] https://prachatai.com/category/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5
[7] https://prachatai.com/category/metadata
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7
[9] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9B
[10] https://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95
[11] https://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B2