Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > ตัวแทนองค์กรแรงงานถอนตัวแทนคณะทำงานร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ > ตัวแทนองค์กรแรงงานถอนตัวแทนคณะทำงานร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์

ตัวแทนองค์กรแรงงานถอนตัวแทนคณะทำงานร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์

Submitted by auser15 on Sun, 2015-11-01 16:48
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) แถลงข่าวถอนตัวออกจากคณะทำงานร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ของกระทรวงแรงงาน ระบุฉบับกระทรวงฯ ไม่สอดรับกับอนุสัญญา ILO และไม่ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน
 
 
 
(ที่มาภาพ: voicelabour.org)
 
1 พ.ย. 2558 Voice Labour [1] รายงานว่าวันที่ 1 พฤศจิกายน2558 คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้แถลงข่าวเพื่อถอนตัวแทนจากคณะทำงานร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ กระทรวงแรงงาน โดยนางสาววิไลวรรณ แซ่เตีย ประธาน คสรท.ได้แถลงว่า ได้มีการยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลในวันกรรมกรสากล 1 พฤษภาคม 2558 เพื่อนำเสนอหลักการสำคัญในการแก้ไขกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่ได้มีการผลักดันร่วมกันมาเริ่มตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา โดยกำหนดหลักการใหญ่ ๆ เป็นไปตามร่างพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ฉบับบูรณาการของขบวนการแรงงาน ซึ่งกำหนดให้กฎหมายแรงงานสัมพันธ์ที่จะแก้ไขใหม่ต้องเป็นฉบับเดียวกัน มุ่งส่งเสริม คุ้มครองแรงงานครอบคุลมทุกกลุ่ม พร้อมกับให้สอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 ที่ให้การรับรองการสิทธิการรวมตัวและสิทธิการเจรจาซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนงานตามหลักการที่ทางสากลให้การยอมรับและได้พยายามได้ขับเคลื่อนมาผลักดันมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด เพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมกัน 
 
แต่กระทรวงแรงงานก็พยายามเร่งรีบเสนอร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ฉบับกระทรวงแรงงานต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาทำให้ คสรท. และ สรส. ต้องยื่นหนังสือคัดค้านเพื่อให้กระทรวงแรงงานนำกลับมาเพื่อพิจารณาใหม่ เพราะว่า ร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ที่กระทรวงแรงงานเสนอมีเนื้อหาไม่สอดรับกับอนุสัญญา ILO ทั้ง 2 ฉบับ และไม่ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน จนต้องนำกลับมาพิจารณาใหม่และมีการตั้งคณะทำงานพิจารณาร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ใหม่จากภาคส่วนต่าง ๆ ของกระทรวงแรงงาน มีการประชุมกันเพื่อหาแนวทางแก้ไขร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ และแนวโน้มที่ประชุมฯ จะไม่ยอมรับหลักการตามที่ คสรท. และ สรส. ร่วมกันเสนอ ทั้งที่หลักการต่างๆ เป็นหลักการใหญ่ในการมุ่งคุ้มครองคุณภาพชีวิตของคนงานให้มีความมั่นคงได้ในทุกมิติสอดรับกับหลักการสากลไปตามความต้องการขององค์กรแรงงาน คนงาน กระทั่งเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558 ณ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้มีการประชุมเพื่อปรึกษาหารือถึงกรณีที่คณะทำงานพิจารณาร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ของกระทรวงแรงงานไม่ยอมรับหลักการร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ตามเสนอที่มีเนื้อหาสอดรับกับมาตรฐานในทางสากล และมีมติร่วมกันที่จะยืนหยัดในหลักการของร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฉบับบูรณาการของขบวนการแรงงาน
 
ด้านนายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการสรส. กล่าวว่าคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการกำหนดมาตรการการขับเคลื่อนร่วมกันเพื่อยืนยันหลักการเดิม ร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ฉบับแก้ไขใหม่ต้องเป็นฉบับเดียว มุ่งส่งเสริมการร่วมตัวของพี่น้องคนงานทุกภาคส่วนไม่ควรแบ่งแยก และให้พี่น้องผู้ใช้แรงงานได้เข้าใจถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของคนงานเป็นไปตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 และฉบับที่ 98 ที่ให้การรับรองการสิทธิการรวมตัวและสิทธิการเจรจาซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนงานตามหลักการที่ทางสากลให้การยอมรับ จึงขอประกาศว่าคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และ สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ขอถอนตัวออกจากการเป็นคณะทำงานพิจารณาร่างกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ของกระทรวงแรงงาน โดยให้ผู้แทนของทั้ง 2 องค์กร ยื่นใบลาออกจากการเป็นผู้แทนในคณะทำงานฯ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พร้อมกับจะร่วมกันกำหนดแนวทางในการผลักดันตามแนวทางเพื่อให้มีซึ่งกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ฉบับที่ต้องสอดคล้องกับหลักการสากล ยึดหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียม ครอบคุลมคนงาน ได้ทุกภาคส่วน สร้างความมั่นคง ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างเป็นธรรมให้กับคนงานอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
 
ทั้งนี้ตัวแทน 2 องค์กร ประกอบด้วย นายชาลี ลอยสูง รองประธาน คสรท. และนายบุญจันทร์ เจริญรัมภ์ ฝ่ายกฎหมาย สรส.
ข่าว [2]
การเมือง [3]
คุณภาพชีวิต [4]
แรงงาน [5]
สังคม [6]
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย [7]
คสรท. [8]
ร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ [9]
สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ [10]
สรส. [11]

Source URL: https://prachatai.com/journal/2015/11/62215#comment-0

Links
[1] http://voicelabour.org/?p=23380
[2] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[3] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87
[4] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95
[5] https://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99
[6] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1
[7] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%97-0
[9] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C
[10] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C
[11] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%AA