Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > เฟซบุ๊กตอบรับคำขอรัฐบาล แบนเพจ 'กูkult' ในไทย อ้างข้อจำกัดทางกฎหมาย > เฟซบุ๊กตอบรับคำขอรัฐบาล แบนเพจ 'กูkult' ในไทย อ้างข้อจำกัดทางกฎหมาย

เฟซบุ๊กตอบรับคำขอรัฐบาล แบนเพจ 'กูkult' ในไทย อ้างข้อจำกัดทางกฎหมาย

Submitted by user007 on Thu, 2016-05-05 16:43
สมศักดิ์ ชี้ต่างประเทศยังเข้าได้ คาดด้วยมาตรการนี้อีกหน่อยเพจอื่นก็โดนด้วย ตั้งข้อสังเกตเกิดไล่เลี่ยกับข่าวเข้าถึงหลังไมค์แอดมินล้อประยุทธ์ เฟซบุ๊กเผยครึ่งหลังปี 58 รัฐไทยขอข้อมูล 3 แอคเคาท์ แต่เฟซบุ๊กไม่ให้

5 พ.ค. 2559 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊กแฟนเพจ 'กูkult' ซึ่งมีผู้กดไลค์หลายหมื่น และมักมีการโพสต์ภาพเชิงล้อเลียนเสียดสีสังคมและการเมือง รวมทั้งสถาบันกษัติริย์ ไม่สามารถเข้าถึงได้เนื้อหาได้แล้ว โดยเฟซบุ๊กแจ้งว่า "ไม่มีเนื้อหาอยู่ใน ไทย คุณไม่สามารถดูเนื้อหานี้ได้เนื่องจากกฎหมายในท้องถิ่นจำกัดความสามารถของเราในการแสดงเนื้อหานั้น หากคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่ศูนย์ช่วยเหลือ"

ทั้งนี้เมื่อเฟซบุ๊กอธิบายถึง ข้อจำกัดทางกฎหมายที่ใช้กับการเข้าถึงเนื้อหา [1] ด้วยว่า ข้อจำกัดทางกฎหมายที่ใช้กับการเข้าถึงเนื้อหาหมายถึงการที่ Facebook ไม่เปิดให้เข้าถึงเนื้อหาตามคำสั่งของรัฐบาล ในบางครั้ง รัฐบาลอาจสั่งให้ Facebook ลบเนื้อหาที่ละเมิดกฎหมายท้องถิ่นออก เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจะประเมินความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งดังกล่าว หน่วยงานต้นสังกัดของผู้ออกคำสั่ง นโยบายของเรา และกฎหมายท้องถิ่น ในบางกรณี เราจะไม่เปิดให้เข้าถึงเนื้อหาในประเทศหรือเขตแดนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกรณีที่เราลบเนื้อหาที่ระบุชัดแจ้งว่าผิดกฎหมายซึ่งอาจมีองค์กรที่ไม่ใช่รัฐบาลแจ้งให้เราทราบ เช่น กลุ่มองค์กรที่ไม่หวังผลกำไรหรือองค์กรการกุศล เช่น การปฏิเสธการมีอยู่ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในประเทศเยอรมนี และหากทางเราได้รับรายงานดังกล่าว เราจะจำกัดเนื้อหานั้นกับประชาชนในประเทศเยอรมนี

เฟซบุ๊กยังเผยแพร่ รายงานคำขอของรัฐบาลทั่วโลก [2] เพื่อดูข้อมูลที่ Facebook จำกัดการเข้าถึงตามกฎหมายท้องถิ่น ซึ่งสามารถดูได้ตามลิงค์ (https://govtrequests.facebook.com/ [2])

สมศักดิ์ ชี้ต่างประเทศยังเข้าได้ คาดอีกหน่อยเพจอื่นก็โดนได้

สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ผู้ใช้เฟซบุ๊กเพื่อการสื่อสารและนำเสนอความคิดอยู่เป็นประจำ ซึ่งขณะนี้เขาลี้ภัยทางการเมืองอยู่ต่างประเทศ ได้โพสต์ถึงกรณีดังกล่าวด้วยว่า ในต่างประเทศยังสามารถเข้าถึงเพจดังกล่าวได้ 

"ถ้าเฟซบุ๊คเป็นคนบล็อกจริง ก็แสดงว่าเฟซบุ๊คยอมร่วมมือกับทางการไทยในการบล็อกเพจ คือไม่ได้ลบเพจ เพราะเพจยังอยู่ ผมดูได้ (แค็พมาให้ดูตัวเป็นตัวอย่างว่ามีข้อความอะไรบ้าง) อย่างนี้อีกหน่อย ก็บล็อกเพจอื่นๆ (เช่นเพจผม) ด้วยข้ออ้างเดียวกันได้สิ อย่างที่บอกว่า โดยส่วนตัว ผมเองยังไม่ถึงกับชัวร์เต็มที่ว่าใครบล็อก ยังไงก็ช่วยเช็คกันดูนะครับ" สมศักดิ์ โพสต์

เกิดไล่เลี่ยกับข่าวเข้าถึงหลังไมค์แอดมินล้อประยุทธ์

Blognone [3] และ Khaosod English [4] รายงานว่า มีการตั้งข้อสังเกตุด้วยว่าเกตุด้วยว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกับการที่ตำรวจ สามารถเข้าถึงบทสนทนาใน Messenger ของแอดมินเพจ "เรารักพล.อ.ประยุทธ์" ที่โดนตั้งข้อกล่าวหากระทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งมีการตั้งข้อสงสัยว่าเฟซบุ๊กได้ยื่นมือเข้ามาช่วยมากน้อยแค่ไหน

อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานการปิดกั้นเพจอื่นๆ ในลักษณะเดียวกัน ทั้งนี้ ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่เฟซบุ๊กบล็อคคอนเทนต์ที่กระทบความมั่นคงตามคำขอของรัฐบาลไทย [5]

เฟซบุ๊กเผยครึ่งหลังปี 58 รัฐไทยขอข้อมูล 3 แอคเคาท์ แต่เฟซบุ๊กไม่ให้

ขณะที่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เฟซบุ๊ก [6]เปิดเผยรายงานความโปร่งใส ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2558 (ก.ค.-ธ.ค.) ระบุว่า รัฐไทยข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กในไทยจากเฟซบุ๊กเป็นจำนวน 3 ครั้ง 3 แอคเคาท์ โดยเฟซบุ๊กไม่ได้ให้ข้อมูลดังกล่าวแม้แต่รายเดียว (0%) ทั้งนี้ เฟซบุ๊กระบุว่าจะตอบสนองต่อคำขอเกี่ยวข้องกับคดีอาญาที่มีผลตามกฎหมาย โดยจะมีการตรวจสอบความเพียงพอทางกฎหมายของแต่ละคำขอ และจะปฏิเสธหรือขอให้มีข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงต่อคำขอที่กว้างหรือคลุมเครือเกินไป

ขณะที่ช่วงเวลาดังกล่าวเฟซบุ๊กระบุว่า มีจำนวน 30 ชิ้นของเนื้อหาที่จำกัด 

"เราจำกัดการเข้าถึงเนื้อหาในประเทศไทยที่รายงานโดยกระทรวงการต่างประเทศหรือ Thai CERT (ทีมตอบสนองภาวะเหตุการณ์ด้านความมั่นคงทางคอมพิวเตอร์) ภายใต้กฎหมายท้องถิ่นที่ห้ามการวิพากษ์วิจารณ์หรือดูหมิ่นพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์" เฟซบุ๊กอธิบายการจำกัดเนื้อหาดังกล่าว

ข่าว [7]
การเมือง [8]
ไอซีที [9]
การล้อเลียน [10]
กูkult [11]
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล [12]
หมิ่นสถาบันกษัตริย์ [13]
เฟซบุ๊ก [14]
แฟนเพจ [15]

Source URL: https://prachatai.com/journal/2016/05/65631#comment-0

Links
[1] https://www.facebook.com/help/1601435423440616
[2] https://govtrequests.facebook.com/
[3] https://www.blognone.com/node/80646
[4] http://www.khaosodenglish.com/detail.php?newsid=1462426398
[5] https://www.blognone.com/node/62382
[6] https://govtrequests.facebook.com/country/Thailand/2015-H2/
[7] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87
[9] https://prachatai.com/category/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5
[10] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99
[11] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B9kult
[12] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A5
[13] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B9%8C
[14] https://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%8B%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B9%8A%E0%B8%81
[15] https://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%88