Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > หวั่น 'ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย' เลือกปฏิบัติคนจน ขวางเข้าถึงสิทธิสวัสดิการเท่าเทียม > หวั่น 'ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย' เลือกปฏิบัติคนจน ขวางเข้าถึงสิทธิสวัสดิการเท่าเทียม

หวั่น 'ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย' เลือกปฏิบัติคนจน ขวางเข้าถึงสิทธิสวัสดิการเท่าเทียม

Submitted by user13 on Thu, 2016-06-16 19:59

ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ไม่เห็นด้วยกรณีรัฐบาลเปิดลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย ห่วงเกิดการจัดสวัสดิการให้คนจนเท่านั้น ซึ่งจะกระทบต่อระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ด้านประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยชี้แก้ปัญหาไม่ตรงจุด หวั่นยิ่งเหลื่อมล้ำ


วิไลวรรณ แซ่เตีย, สุรีรัตน์ ตรีมรรคา

 

16 มิ.ย. 2559 จากกรณี พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ตามข้อเสนอของกระทรวงการคลัง ดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ในการจัดทำฐานข้อมูลประชาชนร่วมกับกระทรวงมหาดไทย พาณิชย์ เกษตรฯ กระทรวงการพัฒนาสังคม ไอซีที รองรับโครงการพัฒนาระบบชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (E-Payment) ของรัฐบาล โดยตอนหนึ่งระบุว่า ที่ผ่านมา การช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นไปอย่างไม่ตรงจุด เช่น รถเมล์ฟรี รถไฟฟรี หรือสวัสดิการต่างๆ เพื่อส่งไปยังผู้มีรายได้น้อยอย่างตรงจุด โดยให้ดำเนินการแบบสมัครใจ (ข่าวที่เกี่ยวข้อง [1])

สุรีรัตน์ ตรีมรรคา ผู้ประสานงานกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ให้สัมภาษณ์แสดงความกังวลว่า นโยบายเพื่อค้นหาคนจนในสังคมนี้จะส่งผลต่อนโยบายด้านสวัสดิการทันที เพราะยึดอยู่บนหลักการจัดทำสวัสดิการเพื่อคนจนอย่างเดียว และจะเกิดผลกระทบต่อระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าและเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ โดยผู้ที่มีรายได้เกินก็จะไม่ได้รับสิทธิพื้นฐานพยาบาล ทั้งนี้ มองว่าระบบสวัสดิการในประเทศไทยต้องเดินต่อไป ต้องเป็นสวัสดิการที่มอบให้แก่ทุกคน มากกว่าที่จะให้แก่คนจนอย่างเดียวเท่านั้น

สุรีรัตน์ ระบุว่า รัฐบาลดำเนินนโยบายดังกล่าวเพื่อจำกัดงบประมาณ แต่จะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม นอกจากนี้ การลงทุนทำระบบลงทะเบียนดังกล่าวจะใช้ทรัพยากรจำนวนมากทั้งด้านงบประมาณและบุคลากรในการตรวจสอบข้อมูลรายได้ของคนจำนวนมาก และเป็นระบบที่ไม่สามารถระบุรายได้ของคนได้อย่างชัดเจน เนื่องจากมีผู้ที่มีรายได้ไม่แน่นอนจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงรายได้รายปี ที่มีความผันผวนสูง พร้อมกันนี้ สุรีรัตน์ เสนอว่า ระบบดังกล่าวควรเปลี่ยนเป็นฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูลผู้เสียภาษีให้ชัดเจน เพื่อเข้าสู่ระบบภาษีมากกว่า

“ข้ออ้างของรัฐบาลที่บอกว่าการทำฐานข้อมูล เพื่อที่จะจัดทำนโยบายให้เหมาะสมกับคนจนนั้น เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น เนื่องจากท่าทีของรัฐบาลที่ผ่านมา ที่ต้องการประหยัดงบประมาณ ทำให้จุดยืนของรัฐไม่น่าเชื่อถือตามคำที่กล่าวอ้าง” สุรีรัตน์ กล่าว

ด้านวิไลวรรณ แซ่เตีย ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย แสดงความไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เพราะมองว่าทุกคนเป็นประชาชนคนไทยเหมือนกัน ไม่ว่าจะรวยหรือจนก็สมควรจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงบริการของรัฐอย่างเท่าเทียมกัน และถึงแม้ว่านโยบายอาจจะมีข้อดีแก่คนยากไร้ แต่ก็จะทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม

วิไลวรรณยังกล่าวอีกว่า การจำกัดสิทธิให้คนที่มีรายได้ต่ำกว่าหนึ่งแสนบาทต่อปีก็เป็นปัญหา เพราะสำหรับครอบครัวใหญ่ การมีรายได้มากกว่าหนึ่งแสนไม่ได้ถือว่าเยอะหรือร่ำรวย เพราะว่ามีภาระที่ต้องรับผิดชอบมาก อีกทั้งนโยบายปัจจุบันที่ให้ทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน เช่น รถเมล์ฟรี หรือ รถไฟฟรี ก็ไม่ได้มีปัญหา ไม่จำเป็นต้องไปจำกัดสิทธิใคร เพียงแต่อาจจะต้องใส่ใจกับการแก้ปัญหาภายในนโยบายมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น กรณีรถเมล์ฟรี รัฐอาจจะต้องเข้าไปดูว่ารถเมล์จอดรับผู้โดยสารจริงหรือไม่ หรือมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของประชาชนหรือไม่ เป็นต้น

สุดท้าย วิไลวรรณแนะนำว่า หากต้องการให้นโยบายช่วยเหลือคนยากไร้จริงๆ ก็ควรแก้ไขให้ตรงจุด โดยเสนอว่าอาจจะต้องมีนโยบายที่แตกต่างกันระหว่างคนเมืองกับคนต่างจังหวัด เพราะปัญหาที่เกิดแตกต่างกัน อย่างคนต่างจังหวัดเขาอาจมีปัญหาที่ราคาของผลผลิตการเกษตรที่ต่ำ ในขณะที่คนในเมืองอาจมีปัญหาเรื่องราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่สูงเกินไป หรือค่าแรงที่ต่ำเกินไป เป็นต้น จึงอยากจะให้รัฐไปใส่ใจกับปัญหาส่วนนั้นมากกว่า

 

 

ข่าว [2]
การเมือง [3]
คุณภาพชีวิต [4]
สิทธิมนุษยชน [5]
เศรษฐกิจ [6]
ผู้มีรายได้น้อย [7]
รถเมล์ฟรี [8]
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า [9]
วิไลวรรณ แซ่เตีย [10]
สวัสดิการ [11]
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา [12]
โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ [13]

Source URL: https://prachatai.com/journal/2016/06/66360#comment-0

Links
[1] http://prachatai.org/journal/2016/06/66355
[2] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[3] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87
[4] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95
[5] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99
[6] https://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88
[7] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B5
[9] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%96%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2
[10] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93-%E0%B9%81%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%A2
[11] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3
[12] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B2
[13] https://prachatai.com/category/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90