Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > จำคุก 8 เดือนรอลงโทษ 2 ปี รุ่งศิลานักเขียนผู้ปฏิเสธรัฏฐาธิปัตย์ คสช. ไม่รายงานตัว > จำคุก 8 เดือนรอลงโทษ 2 ปี รุ่งศิลานักเขียนผู้ปฏิเสธรัฏฐาธิปัตย์ คสช. ไม่รายงานตัว

จำคุก 8 เดือนรอลงโทษ 2 ปี รุ่งศิลานักเขียนผู้ปฏิเสธรัฏฐาธิปัตย์ คสช. ไม่รายงานตัว

Submitted by user000 on Fri, 2016-11-25 17:00

ศาลทหารพิพากษาคดีสิรภพหรือรุ่งศิลา ไม่ไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช.จำคุก 1 ปี ปรับ 18,000 มีเหตุให้ลดโทษเหลือจำคุก 8 เดือน ปรับ 12,000 รอการลงโทษ 2 ปี เจ้าตัวให้สัมภาษณ์รู้สึกเฉยๆ แล้วเดินทางกลับคุก เขาติดคุกมาแล้ว 2 ปีครึ่งเหลือต่อสู้คดี 112 อีกคดี

25 พ.ย.2559 เวลา 08.30 น. ศาลทหารกรุงเทพอ่านคำพิพากษาคดีของสิรภพ นักเขียนผู้ใช้นามปากกว่าว่า รุ่งศิลา ในคดีฝ่าฝืนประกาศ คสช.ที่ 44/2557 ไม่ไปรายงานตัว

เว็บไซต์ iLaw [1] รายงานว่า ศาลพิพากษาว่า จากที่ฝ่ายโจกท์ได้นำสืบเห็นว่า จำเลยไม่ยอมไปรายงานตัวตามคำสั่ง คสช. โดยไม่ได้แจ้งเหตุขัดข้องจึงมีโทษตามคำสั่ง คสช. แม้ฝ่ายจำเลยจะนำสืบว่า ที่จำเลยไม่ไปรายงานตัว เพราะต้องการอารยขัดขืน เนื่องจากเป็นการปกป้องประชาธิปไตยด้วยวิธีสันติ อหิงสา และไม่ยอมรับว่า คสช. มีอำนาจเป็นรัฏฐาธิปัตย์ อย่างไรก็ตาม ศาลพิเคราะห์ว่า การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐแม้จะเป็นการอารยขัดขืนก็ถือเป็นความผิดทางกฎหมาย ส่วนประเด็นอำนาจการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวนนั้น ศาลพิเคราะห์ว่า ฝ่ายโจทก์มีเอกสารระบุอำนาจและฝ่ายจำเลยไม่มีหลักฐานพอหักล้างได้ จึงถือว่าการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว 

ศาลตัดสินว่าจำเลยมีความผิดให้โทษจำคุก 1 ปี ปรับ 18,000 บาท แต่มีเหตุให้ลดโทษเนื่องจากให้การเป็นประโยชน์ จึงลดโทษให้หนึ่งในสามเหลือโทษจำคุก 8 เดือน ปรับ 12,000 บาท เนื่องจากจำเลยไม่เคยจำคุกมาก่อนจึงให้รอการลงโทษ 2 ปี

ทั้งนี้ ก่อนจะมีคำพิพากษาสิรภพให้ความเห็นว่า ถ้าศาลตัดสินว่าสิ่งที่เขาทำมีความผิดก็เท่ากับศาลรับรองอำนาจให้คณะรัฐประหาร ถ้าเป็นเช่นนี้ ต่อไปก็ควรแก้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 เสียใหม่ว่า ถ้าผู้ใดล้มล้างอำนาจการปกครองของรัฐ หากล้มล้างไม่สำเร็จให้ถือว่าเป็นกบฎ แต่หากว่าสำเร็จหัวหน้าในการก่อการกบฏคือรัฏฐาธิปัตย์แทนเสียดีกว่า ถ้าการรัฐประหารสำเร็จก็ไม่ต้องรับผิด หากบัญญัติไว้ขัดแย้งกันเราจะสอนลูกหลานว่าอย่างไร

หลังศาลอ่านคำพิพากษา สิรภพให้สัมภาษณ์สั้นๆ อีกว่า รู้สึกเฉยๆ โดยปกติคนสู้คดีทางการเมืองต้องโทษจำคุก 2 ปี ปรับ 40,000 บาท สิรภพยังกล่าวอีกว่า “ไม่ได้รู้สึกอะไรเลย ติดคุกชินแล้ว เสร็จจากนี้ก็กลับไปติดคุกเหมือนเดิม” 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สิรภพยังเหลือคดีอยู่ในศาลทหารอีกหนึ่งคดีคือ คดีตามมาตรา 112  เขาโดนควบคุมตัวในค่ายทหารตั้งแต่วันที่ 25 มิ.ย.2557 เป็นเวลา 7 วันก่อนจะถูกนำตัวไปคุมขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ จนปัจจุบันเป็นเวลากว่า 2 ปี 6 เดือน อย่างไรก็ตาม คดี 112 ยังมีนัดสืบพยานในศาลทหารโดยยังไม่รู้กำหนดสิ้นสุดที่แน่ชัด

สิรภพเป็นจำเลยคดีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.คนแรกที่ให้การอย่างแข็งกร้าวและระบุว่าที่ไม่รายงานตัวตามคำสั่ง คสช.เพราะกระทำการอารยะขัดขืนและปฏิเสธอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ของคสช.  และยังยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญเรื่องพลเรือนขึ้นศาลทหารขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ แต่ศาลทหารยกคำร้อง (อ่านที่นี่ [2])

“ข้าพเจ้าต่อต้านการรัฐประหารในทางความคิดด้วยความสันติมาตลอด ในเมื่อเกิดการรัฐประหาร ณ เวลานั้น ข้าพเจ้าจึงแสดงกระทำอารยะขัดขืน ไม่ยอมรับอำนาจของกลุ่มบุคคลที่ใช้กำลังอาวุธเข้ามายึดล้มล้างการปกครองของรัฐบาลที่มาจากประชาชน เป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”

“ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่า คณะรัฐประหาร หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า คณะกบฏ จะรักษาอำนาจอยู่ได้นาน จึงเลือกที่จะปกป้องสิทธิและเสรีภาพ และรัฐธรรมนูญ โดยสันติอหิงสา โดยไม่ใช้ความรุนแรงด้วยการไม่ให้ความร่วมมือใดๆ กับคณะกบฏดังกล่าว”

 “หากมีรัฐประหารอีกและมีคำสั่งเรียกรายงานตัวอีกครั้ง ข้าพเจ้าก็ยังยืนยันว่าจะไม่ไป”

เขาเคยเบิกความไว้เช่นนั้น (อ่านที่นี่ [3])

หลังสืบพยานจบทนายจำเลยยื่นคำแถลงปิดคดี ศาลทหารก็ตีกลับให้ปรับแก้โดยระบุว่ามีเนื้อหา “เสียดสี” ศาล (อ่านที่นี่ [4])

ยิ่งไปกว่านั้นเขายังเป็นผู้ต้องขังหนึ่งเดียวที่ร่วมเป็นโจทก์ร่วมกับกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพวกในความผิดม. 113 เป็นกบฏล้มล้างการปกครองด้วย คดีนี้ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ต่างก็มีคำสั่ง "ไม่รับฟ้อง" ขณะนี้กำลังรอฟังคำสั่งศาลฎีกาว่าจะรับฟ้องหรือไม่ หลังยื่นไปแล้ว 6 เดือน

 

ข่าว [5]
การเมือง [6]
สิทธิมนุษยชน [7]
คสช. [8]
คำพิพากษา [9]
มาตรา 112 [10]
รัฏฐาธิปัตย์ [11]
รุ่งศิลา [12]
สิรภพ [13]
อารยะขัดขืน [14]
ไม่รายงานตัว [15]

Source URL: https://prachatai.com/journal/2016/11/69000#comment-0

Links
[1] https://www.facebook.com/iLawClub/photos/a.10150540436460551.646424.299528675550/10157754512180551/?type=3&theater
[2] http://prachatai.com/journal/2015/01/57598
[3] http://prachatai.com/journal/2016/05/65951
[4] http://prachatai.com/journal/2016/09/68124
[5] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[6] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87
[7] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%AA%E0%B8%8A
[9] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2
[10] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2-112
[11] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A2%E0%B9%8C
[12] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B2
[13] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%9E
[14] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B8%82%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%82%E0%B8%B7%E0%B8%99
[15] https://prachatai.com/category/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7