Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > ผอ.ส.วัฒนธรรมศึกษา โยนโจทย์กลางวงถก 'E-Sport' เด็กไทยเป็นตัวอะไรถึงเล่นไม่ได้ > ผอ.ส.วัฒนธรรมศึกษา โยนโจทย์กลางวงถก 'E-Sport' เด็กไทยเป็นตัวอะไรถึงเล่นไม่ได้

ผอ.ส.วัฒนธรรมศึกษา โยนโจทย์กลางวงถก 'E-Sport' เด็กไทยเป็นตัวอะไรถึงเล่นไม่ได้

Submitted by user007 on Wed, 2017-02-22 20:18

วงถก 'E-Sports เกม กีฬา ธุรกิจ และเด็กไทย' นพ.ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต ชู มาตรการ '3 ต้อง 3 ไม่' ลดการใช้สื่อทางลบ ผุดแนวการเติบโตและการป้องกันผลทางลบ ปธ. E-Sports จุฬาฯ ยัน สามารถสร้างสรรค์ได้ ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษาถามเด็กไทยเป็นตัวอะไรถึงเล่นไม่ได้ 

เมื่อวันที่ 20 ก.พ. ที่ผ่านมา กรมกิจการเด็กและเยาวชน  กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดเสวนา “E-Sports เกม กีฬา ธุรกิจ และเด็กไทย” เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดที่หลากหลายจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และปัญหาเด็กติดเกม รวมถึง e-sport เหมาะสมกับเด็กไทยหรือไม่ พร้อมทั้งแนวทาง ลดการใช้สื่อทางลบ 3 ต้อง 3 ไม่ โดยผู้สื่อข่าวได้เรียบเรียงจาก THE MATTER [1] สำนักข่าวไทย [2] และวิดีโอคลิปจากเพจ วิวาทะ V2 [3] บางส่วนดังนี้

ยงยุทธ์  วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สังคมไทยมีปัญหาเรื่องการเลี้ยงดูเด็กกับเกมส์ออนไลน์มาเยอะมาก ซึ่งพวกนี้ล้วนมีผลต่อการพัฒนาการของเด็กทั้งสิ้น เช่นเด็กช่วงประถมวัยส่งผลให้สมาธิสั้นลง การเรียนรู้เสีย การสังคมเสียต่อไปอีกด้วย ขึ้นมาขั้นเยาวชนก็อาจจะเสียสุขภาพ ติดความรุนแรง สำริดผลทางด้านการเรียน ส่งผลไปยังเรื่องเพศ ค่านิยมทางการบริโภค การล่อลวง ฉะนั้นปัญหาของการใช้ออนไลน์มีมากอยู่แล้ว สิ่งที่ควรทำเป็นอันดับแรกคือ จะให้อย่างไรเพื่อยกระดับครอบครัวหรอสังคมไทยให้ใช้อินเตอร์เน็ตไปในทางที่เหมาะสม ควรจะใช้หลักการเรียนรู้เพื่อสร้างผลิตภาพ

3 ต้อง 3 ไม่

ยงยุทธ กล่าวต่อว่าเด็กและเยาวชนควรปฏิบัติตามหลักการ '3 ต้อง 3 ไม่' โดย 3 ต้องประกอบด้วย ต้องตกลงเวลา ต้องกำหนดโปรแกรม ต้องเล่นกับลูก ส่วน 3 ไม่ ประกอบด้วย ไม่เล่นก่อนนอน ไม่เล่นในเวลาครอบครัว ไม่เป็นตัวอย่างที่ผิด

“ถ้าการกีฬาประเทศไทยควรจะยอมรับ E-Sport ต้องเป็นหลักที่ทางโอลิมปิกสากลยอมรับก่อน” ยงยุทธ กล่าว

สำหรับเรื่อง E-Sport ยงยุทธมองว่า เป็นการใช้วาทกรรมของคำว่า Sport มาแทรก เป็นแค่คำพูดของทางอเมริกาที่มีธุรกิจสื่อบันเทิงเป็นหลักไม่ใช่สากลทั่วโลก และมีความเห็นส่วนตัวว่า E-Sport ยังไม่ใช่ Mental Sport และถ้าการกีฬาประเทศไทยควรจะยอมรับ E-Sport ต้องเป็นหลักที่ทางโอลิมปิกสากลยอมรับก่อน

การเติบโตและการป้องกันผลทางลบ

ต่อกรณีคำถาม ทำอย่างไรครอบครัวและ E-Sport สามารถเติบโตไปด้วยกันได้โดยให้เกิดทางลบให้น้อยที่สุด นั้น นพ.อดิศักดิ์  ผลิตผลการพิมพ์ กล่าวว่า นี่เป็นคำถามที่สำคัญ และเรียกร้อง ‘ความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจ’ ที่ตอนนี้มีแต่ ‘ความไม่เป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจ’ โดยอธิบายว่าเรื่องเกมนั้นมีบริษัทที่อยู่เบื้องหลังมากไม่ต่างกับปัญหามวยเด็ก นายแพทย์อดิศักดิ์เห็นว่าถ้าครอบครัวเข้มแข็งแบบผู้ฟังชี้แจงทั้งสองคนก็สามารถนำเกมมาปรับใช้กับชีวิตได้ แต่กับครอบครัวที่ ‘เปราะบาง’ อาจจะโดนสื่อต่างๆ ที่ไม่มีความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจทำให้ไขว้เขวและมีปัญหาได้ มิหนำซ้ำบริษัทธุรกิจใหญ่เบื้องหลังไม่ได้ออกนอกหน้า

ขณะที่ จิราพร เชาวน์ประยูร ยามาโมโต้ ผู้ดูแลสถานสงเคราะห์เด็ก พูดถึงข้อเสียของเกมที่เด็กที่อยู่ในกลุ่มเปราะบางเคยหนีไปเล่นเกมตามร้านเกมต่างๆ มาก่อน พร้อมทั้งบอกเล่าประสบการณ์ที่เคยมีเด็กที่อยู่ในการดูแลเข้าแข่งการแข่งขันเกม (แต่แพ้) แม้ว่าเด็กคนนั้นอาจจะยังไม่ได้ดีในการเรียนเท่าที่ควร แต่คุณจิราพรยังมองว่าเด็กได้ความมั่นใจมาจากตัวการแข่งเกม ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของผู้ปกครองและผู้ประกอบการที่ต้องช่วยกันดูแลเด็กในสังคมต่อไป
 
หมอแจน ตัวแทนสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ออกมาแสดงความเห็นชัดเจนว่าเด็กทุกคนมีสิทธิ์ติดเกม โดยเฉพาะเกมประเภทแข่งขัน ต่างๆ โดยให้ความเห็นว่า “อาจจะสร้างนักกีฬา E-Sport ได้ 1 คน แต่อาจจะสร้างเด็กติดเกมอีกหลายหมื่นคน’ ด้วยความที่คุณหมอกล่าวว่าตัวคุณหมอเองเจอเด็กที่ติดเกมหลายระดับ ตั้งแต่ระดับอ่อนจนถึงระดับที่หลงผิดจนทำงานใดๆ ไมได้ ก่อนจะทิ้งท้ายว่า “เกมอาจจะสร้างรายได้ได้ในระยะสั้นๆ  แต่ในระยะยาวมันไม่แน่นอน สิ่งที่คุณเสียเวลาไปกับเกม ในขณะที่คนอื่นขวนขวายตั้งใจเรียน พยายาม มีวินัยและรับผิดชอบ ใครกันแน่ที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอย่างแท้จริง”
 
นพ.อดิศักดิ์ ให้ความเห็นว่า E-Sport หรือเรื่องเทคโนโลยีมาถึงแน่นอน และการแก้ไขปัญหาร่วมกันเป็นเรื่องที่สมควร ทั้งนี้เพราะธุรกิจฟากโลกออนไลน์ยังขาดการดูแลกันต่อไป ยังเห็นว่ามีเยาวชน มีพ่อแม่ มีหน่วยงานที่ไม่เข้าใจ หรือช่วยและเชียร์เยาวชนผิดๆ
 

E-Sports สามารถสร้างสรรค์ได้

ประธานของชมรม E-Sports ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็กล่าวว่า E-Sports สามารถสร้างสรรค์ได้ อย่างตัวผู้ที่จะเข้าชมรมต้องมีเกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.2 ตัวชมรมมีการพัฒนาเกมจาก Engine ต่างๆ อย่าง Unity หรือ Unreal Engine และมีการจัดตารางการแข่งขันแบบจริงจัง ทั้งยังมีการศึกษาการเล่นของผู้เล่นต่างชาติ ตัวรุ่นพี่หรืออาจารย์ของชมรมก็เป็นโค้ชผู้แนะนำทั้งในเรื่องการเรียนและจัดการเวลา

อดีตหัวหน้าทีมเตรียมอุดมศึกษา E-Sport และเป็นสมาชิกของชมรม E-Sport ของทางจุฬาลงกรณ์ฯ ได้นำเอาประสบการณ์ที่เคยแข่งขันในประเทศอเมริกา ว่าการเป็นนักกีฬาสาย E-Sport ต้องมีการศึกษาเพิ่ม มีการซ้อมทั้งด้านร่างกายและความคิดไม่ต่างกับกีฬาทั่วไปที่สามารถฝึกฝนทักษะต่างๆ ได้ แต่มันอาจจะดูเข้าถึงง่ายกว่าสำหรับเด็กหลายๆ คน ชื่นชอบกีฬาแนวนี้ และมองว่าถ้ากีฬาทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ง่ายเช่นเดียวกับ E-Sport ก็จะมีบุคลากรในกีฬาในประเภทอื่นๆ เช่นกัน

เด็กไทยเป็นตัวอะไรเล่นไม่ได้ 

ขณะที่ ประดิษฐ์ โปซิว ผู้อำนวยการสถาบันวัฒนธรรมศึกษา กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมแลกเปลี่ยนด้วยว่า ฟังแล้วสุดท้ายกลายเป็นสองฝ่าย ระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายคัดค้าน จะอะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่ตนฟังยังแล้ว ไม่ค่อยเข้าใจตรรกะนักก็คือว่า เด็กติดเกมแล้วเขาก็คือเด็กติดเกม ถ้ามี E-Sport เข้าไปแล้วเด็กติดเกมจะเพิ่มขึ้น ตรรกะสองอันนี้มันเข้ากันไม่ได้หรอก การที่จะเกิด E-Sport แล้วเด็กติดเกมจะติดเกมมากขึ้น แต่ว่าเป็นไปได้ว่าเด็กติดเกมจะนำ E-Sport มาเป็นข้ออ้าง แต่มันไม่ได้หมายความว่าจะทำให้เด็กติดเกมเพิ่มมากขึ้น หรือเด็กเล่นเกมบ้าคลั่งมากขึ้น เพราะฉะนั้นประเด็นเรื่อง E-Sport นี้โอเค ตรรกะแบบนี้เอามาว่าถ้า E-Sport มาแล้วเด็กติดเกมจะมากขึ้นตนมองว่ามันไม่ใช่

"เราก็รู้อยู่ว่าเกมอยู่ในระบบออนไลน์ นั่นหมายความว่ามันเล่นกันได้ทั่วโลก เพราะมันสื่อสารกันหมดทั่วโลก เขาเล่นกันได้ทั่วโลก เด็กไทยเป็นตัวอะไรเล่นไม่ได้ ต่ำช้ามากนักหรือ เด็กไทยเนี่ย มันก็คงไม่ใช่ เขาเล่น E-Sport กันได้ทั่วโลกเด็กไทยเล่น E-Sport ไม่ได้ใช่ไหม ตอบคำถามนี้ไหม  แล้วสุดท้ายถ้า E-Sport มันเข้าไปสู่กีฬาสากลจริง เราตามไปทีหลังจะตามเขาทันไหม" ประดิษฐ์ กล่าว

ประดิษฐ์ กล่าวอีกว่า รัฐบาลประกาศนโยบายไทยแลนด์ 4.0 คืออะไร  คือการนำเทคโนโลยีออนไลน์มาใช้ เกมก็ออนไลน์ เราจะตัดสิ่งนี้ออกอย่างนั้นหรือ เพราะฉะนั้นประเด็นปัญหาจริง ๆ ไม่ใช่อยู่ที่เด็กติดเกม ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ E-Sport ปัญหาก็คือเราเรียนรู้ที่จะอยู่กับออนไลน์นี้ยังไง อย่าไปสนเลยว่าเด็กติดเกมเข้าร้านเกม ทุกวันนี้เด็กไม่เข้าร้านเกม เด็กมีมือถือติดตัวแล้วจะเข้าร้านเกมทำไม ดังนั้นเราจะทำยังไงให้เด็กได้เรียนรู้ สังคมเรียนรู้ ครอบครัวเรียนรู้ ที่จะอยู่กับสังคมออนไลน์

สำหรับ E-Sport นั้น ผู้ใช้ยูสเซอร์ AxisXyclopz อธิบายไว้ในเว็บไซต์ dek-d.com [4] ว่า คือ การแข่งขัน วิดีโอเกมส์คอมพิวเตอร์ เกมส์เหล่านี้ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่า เป็นกีฬาชนิดใหม่ที่กำลังเป็นที่นิยมทั่วโลก โดยส่วนประกอบหลักๆของ E-Sports ไม่ได้แตกต่างจากกีฬาประเภทอื่นๆ กล่าวคือ ประกอบไปด้วย นักกีฬา อุปกรณ์กีฬา(เมาส์, คีย์บอร์ด, หูฟัง ETC.) ซึ่งก็คือ คอมพ์พิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ชนิดต่างๆที่สนับสนุนการเล่นเกมส์ แผนการเล่น รวมถึงทักษะและการฝึกซ้อมอย่างทุ่มเท่ของนักกีฬา

ข่าว [5]
ไอซีที [6]
การศึกษา [7]
กีฬา [8]
E-Sports [9]
จิราพร เชาวน์ประยูร ยามาโมโต้ [10]
ประดิษฐ์ โปซิว [11]
ยงยุทธ์ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ [12]
สถาบันวัฒนธรรมศึกษา [13]
อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ [14]
เกม [15]

Source URL: https://prachatai.com/journal/2017/02/70222#comment-0

Links
[1] https://thematter.co/rave/esport/18770
[2] http://www.tnamcot.com/content/659583
[3] https://www.facebook.com/quoteV2/videos/1047808765321029/
[4] https://www.dek-d.com/board/view/2001607/
[5] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[6] https://prachatai.com/category/%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5
[7] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2
[9] https://prachatai.com/category/e-sports
[10] https://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3-%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B8%A3-%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%95%E0%B9%89
[11] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%8C-%E0%B9%82%E0%B8%9B%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B8%A7
[12] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C-%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%8C
[13] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2
[14] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C-%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B9%8C
[15] https://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1