Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > นักเศรษฐศาสตร์ชี้แรงงานไทยค่าแรงน้อยเป็นหนี้ถึง 96-97% > นักเศรษฐศาสตร์ชี้แรงงานไทยค่าแรงน้อยเป็นหนี้ถึง 96-97%

นักเศรษฐศาสตร์ชี้แรงงานไทยค่าแรงน้อยเป็นหนี้ถึง 96-97%

Submitted by auser15 on Sun, 2018-09-30 16:35

นักเศรษฐศาสตร์ระบุครัวเรือนไทยกว่า 49% หรือ 10 ล้านครัวเรือนเป็นหนี้ 4.9% เป็นหนี้นอกระบบที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม แรงงานไทยที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อครัวเรือน เป็นหนี้ถึง 96-97% (มูลค่าเฉลี่ย 130,000 บาท) โดยเป็นหนี้นอกระบบ 53-54% และ 78-79% เคยผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้นอกระบบมักเอารัดเอาเปรียบมีการคิดดอกเบี้ยถึง 20-30% ต่อเดือน


ที่มาภาพประกอบ: Karn Bulsuk (CC BY-NC 2.0) [1]

30 ก.ย. 2561 ผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงในไตรมาสสี่ จึงไม่มีความจำเป็นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องรีบปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายช่วงปลายปี แม้นธนาคารกลางสหรัฐฯปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกในช่วงเดือนธันวาคม ก็จะไม่มีผลต่อกระแสเงินไหลออกมากนัก ตลาดการเงินไทยยังมีความน่าสนใจในการลงทุน การมีความชัดเจนในเรื่องการเลือกตั้งก็ส่งผลให้ความมั่นใจของนักลงทุนเพิ่มขึ้น การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในปีหน้าหลังจากกระบวนการเจรจาข้อตกลงทางการค้าสามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ภายใต้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจโดยภาพรวม

อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณการเพิ่มขึ้นของหนี้เสียในระบบธนาคารและสถาบันการเงิน จึงทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น ทำให้ครัวเรือนไทยเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้น้อยลง จึงไปก่อหนี้นอกระบบมากขึ้น ครัวเรือนไทยกว่า 49% หรือ 10 ล้านครัวเรือนเป็นหนี้ หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้คนกลุ่มนี้ได้รับผลกระทบ และ ภาคธุรกิจก็มีต้นทุนทางการเงินเพิ่มสูงขึ้น 

แรงงานไทยที่มีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่า 1.5 หมื่นบาทต่อครัวเรือน เป็นหนี้ถึง 96-97% (มูลค่าเฉลี่ย 130,000 บาท) โดยเป็นหนี้นอกระบบ 53-54% และ 78-79% เคยผิดนัดชำระหนี้ เมื่ออัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น จะทำให้การผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้นไปอีกและหนี้เสียในระบบสถาบันการเงินจะเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉพาะธนาคารเฉพาะกิจของรัฐที่ต้องตอบสนองนโยบายของรัฐในการช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยและธุรกิจ SMEs ขณะนี้ยอดปรับโครงสร้างหนี้ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประมาณ 40% ของหนี้ที่เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้จะกลับมาเป็นหนี้เสียหรือเอ็นพีแอล แม้นตัวเลขเอ็นพีแอลในระบบยังค่อนข้างต่ำแต่เริ่มมีสัญญาณฟองสบู่

อสังหาริมทรัพย์รวมทั้งหนี้เสียที่อยู่อาศัยและหนี้เสียสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มขึ้น โดยที่หนี้เสียที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ที่เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้จะเป็นกลุ่มคนอายุระหว่าง 40-53 ปี (เจนเอ็กซ์)  
การก่อหนี้ของครัวเรือนส่วนใหญ่จะใช้ไปเพื่อ การอุปโภคบริโภค การซื้อบ้านและที่ดิน และเพื่อการลงทุนและประกอบอาชีพ การกู้เพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ค่าการศึกษาบุตร และ ค่ารักษาพยาบาล อีกด้วย
เจ้าหนี้นอกระบบมักเอารัดเอาเปรียบ มีการคิดดอกเบี้ยถึง 20-30% ต่อเดือน และมักคิดดอกเบี้ยทบต้นทบดอกในเวลาที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ทันตามกำหนด ทำให้ลูกหนี้ต้องกลายเป็นผู้ที่มีภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นอย่างไม่เป็นธรรม อีกทั้งเจ้าหนี้นอกระบบยังใช้วิธีการทวงหนี้ที่รุนแรง เช่น การใช้กำลังข่มขู่ หรือทำให้ลูกหนี้อับอายด้วยวิธีอื่น ๆ การเอารัดเอาเปรียบและวิธีการทวงหนี้ที่รุนแรงนี้ทำให้เกิดปัญหาทางสังคมติดตามมา
    
ผศ.ดร.อนุสรณ์ กล่าวเสนอแนะว่าต้องมีนโยบายให้ประชาชนเข้าถึงการใช้บริการทางการเงินและเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้นและเปลี่ยนหนี้นอกระบบมาเป็นหนี้ในระบบ การปล่อยให้ดอกเบี้ยลอยตัวในระบบสถาบันการเงินเพื่อให้การคิดอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามความเสี่ยงของลูกหนี้จะช่วยบรรเทาปัญหาการเป็นหนี้นอกระบบได้ระดับหนึ่ง ส่งเสริมการแข่งขันเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในระบบสถาบันการเงินและเข้าถึงบริการการเงินได้ทั่วถึงครอบคลุมมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องไม่แข่งขันกันจนเกินพอดีจนเกิดความเสี่ยงต่อระบบ นอกจากนี้ ควรบูรณาการการกำกับดูแลระบบสถาบันการเงินให้เชื่อมโยงกันมากขึ้นและก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างเสถียรภาพกับนวัตกรรมทางการเงินที่อาจนำมาสู่ความเสี่ยงของระบบการเงิน วิกฤติสถาบันการเงินหากจะเกิดขึ้นในอนาคต ความอ่อนไหวจะไม่ได้อยู่ที่ระบบธนาคารพาณิชย์ หากจะอยู่ที่ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ สหกรณ์ออมทรัพย์และnon-bank ต่างๆ รวมทั้งการเก็งกำไรในนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ เช่น Cryptocurrency 

ข่าว [2]
เศรษฐกิจ [3]
สังคม [4]
แรงงาน [5]
คุณภาพชีวิต [6]
อนุสรณ์ ธรรมใจ [7]
หนี้สิน [8]
แรงงาน [9]
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

Source URL: https://prachatai.com/journal/2018/09/78916

Links
[1] https://www.flickr.com/photos/karnbulsuk/17011604479/in/photolist-rVfVkv-4z5uUX-4z9TrA-obi9S1-9brPcD-9tsDRi-ary6yz-nQkHRB-7SvGFG-4z9Pzq-4gK2Ez-7EuknV-hDiXPz-rfGy2W-4VxHUb-7uoQwv-4z5BRP-sapVX7-4Ggxwe-ipPGsZ-4z9KYm-nTT9es-4z5CcB-7SvTNd-obnASH-23QZLS8-nTTaSt-C9ws1-wKRhy3-nQkGaa-nxR5o6-o9kex5-4z9SCb-4Vtuyz-ks4pEV-9w97UV-8vzkxN-4vEej6-bz5CSR-4VxGPs-qxzzJB-ob5aet-ob5azZ-8HB6u5-2mjfwp-4z5DiH-nxRgcw-bwm6sQ-9buVL7-qHwQQ
[2] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[3] https://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88
[4] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1
[5] https://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99
[6] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95
[7] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C-%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%88
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99
[9] https://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-0