Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > 2 นักข่าวพม่าคว้ารางวัลพูลิตเซอร์ 2019 หลังเปิดโปงสังหารหมู่โรฮิงญา > 2 นักข่าวพม่าคว้ารางวัลพูลิตเซอร์ 2019 หลังเปิดโปงสังหารหมู่โรฮิงญา

2 นักข่าวพม่าคว้ารางวัลพูลิตเซอร์ 2019 หลังเปิดโปงสังหารหมู่โรฮิงญา

Submitted by user8 on Tue, 2019-04-16 06:20

วะลง และจ่อซออู ผู้สื่อข่าวชาวพม่าคว้ารางวัลพูลิตเซอร์ 2019 ประเภทข่าวต่างประเทศ จากรายงานข่าวเปิดโปงกองทัพพม่าและชุมชนพุทธยะไข่สังหารหมู่ชาวโรฮิงญาอย่างเป็นระบบ ผลจากการรายงานข่าว ทำให้ทั้งสองถูกทางการพม่าจับกุมคุมขัง โดยศาลตัดสินจำคุก 7 ปีในข้อหาเปิดเผยความลับราชการ

วะลง (บน) และจ่อซออู (ล่าง) 2 นักข่าวชาวพม่าที่ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ปี 2019 ประเภทข่าวต่างประเทศ (ที่มาของภาพ: pulitzer.org)

 

ในการประกาศผลรางวัลพูลิตเซอร์ประจำปี 2019 ซึ่งเป็นการประกาศปีที่ 102 ที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 15 เม.ย. ตามเวลาท้องถิ่น หรือเวลา 03.00 น. วันที่ 16 เม.ย. ตามเวลาประเทศไทย โดยในรางวัลพูลิตเซอร์ ประเภทข่าวต่างประเทศ (International Reporting) ปีนี้ได้แก่ ทีมข่าวรอยเตอร์ [1]และด้วยการอุทิศผลงานอย่างโดดเด่นของ วะลง (Wa Lone) และจ่อซออู (Kyaw Soe Oo) ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์ชาวพม่า ซึ่งรายงานเปิดโปงว่ากองทัพพม่าและชุมชนชาวพุทธในรัฐยะไข่มีส่วนรับผิดชอบต่อการขับไล่และสังหารชาวโรฮิงญามุสลิมอย่างเป็นระบบ โดยการรายงานข่าวที่กล้าหาญนี้ได้ทำให้ผู้สื่อข่าวทั้งสองถูกจองจำในคุก

โดยผลงานของทีมข่าวรอยเตอร์ต่อกรณีวิกฤตมนุษยธรรมรัฐยะไข่ อยู่ในผลงานข่าวชุด Myanmar Burning: The expulsion of the Rohingya [2]

สำหรับรางวัลพูลิตเซอร์ ประเภทข่าวต่างประเทศ ยังมีการมอบรางวัลให้กับผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าว Associated Press [3] ประจำกรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ได้แก่ Maggie Michael, Maad al-Zikry and Nariman El-Mofty จากผลงานเกาะติดรายงานข่าวสงครามกลางเมืองในเยเมนด้วย

สื่อรอยเตอร์เผยรายงานสืบสวน: กองกำลังพม่าสังหารหมู่ชาวโรฮิงญาที่หมู่บ้านอินดิน [4], 9 ก.พ. 2561

พม่าจำคุก 7 ปี 2 นักข่าวรอยเตอร์เปิดโปงสังหารหมู่โรฮิงญา [5], 3 ก.ย. 2561

ศาลพม่าปัดตกอุทธรณ์คดีสองนักข่าวรอยเตอร์เปิดโปงสังหารหมู่โรฮิงญา [6], 12 ม.ค. 2562

เจ้าหน้าที่พม่าขุดศพ 10 ร่างขึ้นมาจากหลุมศพขนาดใหญ่ที่ค้นพบที่หมู่บ้านอินดิน ห่างจากเมืองซิตตะเหว่ เมืองหลวงรัฐยะไข่ไปทางเหนือ 50 กม. ภาพถ่ายเมื่อ 19 ธันวาคม 2017 โดยในรายงานข่าวเชิงสืบสวนสอบสวนของรอยเตอร์ยืนยันว่าผู้เสียชีวิตทั้งหมดเป็นพลเรือนที่ถูกเจ้าหน้าที่พม่าร่วมกับชาวบ้านยะไข่สังหาร (ที่มา: Office of the Commander-in-Chief)

สภาพของหมู่บ้านอินดิน ในรัฐยะไข่ เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีประชากร 6,000 คน ในภาพเป็นภาพถ่ายจากดาวเทียมเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2017 แสดงให้เห็นสภาพของชุมชนที่ถูกเผาทำลาย (กรอบสีแดง) โดยมีชุมชนเพียงบางส่วนเท่านั้นที่ไม่ได้ถูกเผาทำลาย (กรอบสีเขียว) (ที่มา: วิกิพีเดีย)

ทั้งนี้รายงานเชิงสืบสวนสอบสวนของรอยเตอร์เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2018 (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) [4] เผยว่าทหารพม่าและ อส. ร่วมกันสังหารหมู่ชาวบ้านโรฮิงญา 10 รายในขณะถูกควบคุมตัวที่หมู่บ้านอินดิน ห่างจากซิตตะเหว่เมืองหลวงรัฐยะไข่ 50 กม. ทั้งยังเผยว่ากองทัพพม่ามีคำสั่ง "เคลียร์" หมู่บ้านชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่อย่างเป็นระบบ โดยหลักฐานของรอยเตอร์ระบุว่า กองพันทหารราบเบาที่ 33 เป็นผู้ปฏิบัติการที่หมู่บ้านอินดิน และได้รับการสนับสนุนจากกองพันตำรวจกองหนุนที่ 8 โดยในเวลาที่เผยแพร่ข่าวนั้น วะลง และจ่อซออู ถูกจับกุมมาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2017 และถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำอินเส่ง นครย่างกุ้ง

เดือนกรกฎาคม 2018 พวกเขาถูกตั้งข้อหาละเมิดกฎหมายมาตรา 3 (1) ที่ระบุถึงกรณีความลับทางราชการ ซึ่งเป็นกฎหมายมีมาตั้งแต่ยุคอาณานิคมอังกฤษ และเมื่อวันที่ 3 กันยายนปี 2018 ศาลพม่าตัดสินจำคุก 7 ปี และในเดือนมกราคมที่ผ่านมาศาลก็ยกคำร้องขออุทธรณ์

คดีนี้ทำให้เกิดเสียงโต้ตอบด้วยความไม่พอใจจากประชาคมนานาชาติเพราะถือเป็นการที่ทางการพม่าพยายามปิดกั้นไม่ให้มีการรายงานข่าวกรณีกองกำลังความมั่นคงสังหารหมู่ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญาในรัฐยะไข่ กรณีการกวาดล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคมปี 2017 ซึ่งส่งผลให้ชาวโรฮิงญามากกว่า 700,000 ราย ต้องลี้ภัยไปที่บังกลาเทศ นอกจากนี้ยังมีอาชญากรรมจากน้ำมืฝ่ายกองกำลังความมั่นคงพม่าทั้งการข่มขืน การฆาตกรรม และการวางเพลิง

ในการพิจารณาคดี นักข่าวพม่าทั้งสองคนปฏิเสธข้อกล่าวหาโดยเปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ทางการพม่าสร้างสถานการณ์เพื่อกล่าวหาเอาผิดพวกเขา ทั้งสองเล่าว่าพวกเขาถูกเชิญไปทานอาหารค่ำกับตำรวจ โดยที่ในขณะนั้นพวกเขากำลังหาข้อมูลทำข่าวเกี่ยวกับการสังหารชาวโรฮิงญา ในการนัดครั้งนั้นตำรวจก็ยื่นเอกสารให้พวกเขารับแล้วทำการจับกุมพวกเขาขณะที่พวกเขากำลังจะออกจากร้านอาหารโดยอ้างว่าพวกเขามีเอกสารลับทางราชการไว้ในครอบครอง

แต่ผู้พิพากษา เย ลวิน (Ye Lwin) อ้างว่านักข่าวสองรายนี้ "มีเจตนาทำให้รัฐเสียผลประโยชน์" จึงตัดสินพวกเขาว่ามีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความลับทางราชการ

ผู้สื่อข่าวทั้งสองคนเคยทำข่าวเหตุการณ์สังหารหมู่ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้านอินดิน ขณะที่ฝ่ายกองทัพพม่าเผยแพร่เหตุการณ์ในแบบของตนเองระบุว่าชาวโรฮิงญาถูกสังหารขณะถูกควบคุมตัว แต่ก็นำเสนอในทำนองว่ามีการใช้กำลังรุนแรงจากทั้งฝ่ายกองทัพและชาวบ้านในพื้นที่ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง [1] [4], [2] [7])

สำหรับรางวัลพูลิตเซอร์ (Pulitzer Prizes) ตั้งขึ้นเพื่อมอบแก่ผู้ได้รับเกียรติสูงสุดของสหรัฐอเมริกาในวงการสิ่งพิมพ์ การบรรลุความสำเร็จทางวรรณกรรม และการประพันธ์เพลง โดยปี 2019 มอบรางวัล 22 ประเภท โดยการมอบรางวัลบริหารจัดการโดยมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในนครนิวยอร์ก 

รางวัลพูลิตเซอร์ก่อตั้งโดยโจเซฟ พูลิตเซอร์ นักหนังสือพิมพ์และผู้พิมพ์โฆษณาชาวฮังการี-อเมริกัน ซึ่งได้มอบเงินจำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐไว้ในพินัยกรรมแก่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียหลังการเสียชีวิตเมื่อปี 1911 เงินส่วนหนึ่งของกองมรดกนี้ได้ถูกนำไปใช้ในการก่อตั้งสถาบันวิชาการหนังสือพิมพ์ของมหาวิทยาลัยในปี 1913 ได้มีการมอบรางวัลพูลิตเซอร์รางวัลแรกเมื่อ 4 มิถุนายนปี 1917 ปัจจุบันมีการประกาศรางวัลทุกๆ เดือนเมษายน

ข่าว [8]
สิทธิมนุษยชน [9]
ต่างประเทศ [10]
พม่า [11]
โรฮิงญา [12]
พูลิตเซอร์ [13]
สื่อมวลชน [14]
สื่อมวลชนพม่า [15]
วะลง [16]
จ่อซออู [17]
รัฐยะไข่ [18]
สังหารหมู่ [19]
หมู่บ้านอินดิน [20]
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ [21]
ผู้อพยพชาวโรฮิงญา [22]
รอยเตอร์ [23]
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

Source URL: https://prachatai.com/journal/2019/04/82074

Links
[1] https://www.pulitzer.org/winners/staff-reuters-notable-contributions-wa-lone-and-kyaw-soe-oo
[2] https://www.reuters.com/investigates/section/myanmar-rohingya/
[3] https://www.pulitzer.org/winners/maggie-michael-maad-al-zikry-and-nariman-el-mofty-associated-press
[4] https://prachatai.com/journal/2018/02/75344
[5] https://prachatai.com/journal/2018/09/78559
[6] https://prachatai.com/journal/2019/01/80496
[7] https://www.reuters.com/investigates/special-report/myanmar-rakhine-events/
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[9] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99
[10] https://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8
[11] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2
[12] https://prachatai.com/category/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%8D%E0%B8%B2
[13] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
[14] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%99
[15] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A5%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%B2
[16] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%A5%E0%B8%87
[17] https://prachatai.com/category/%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B9
[18] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%A2%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%82%E0%B9%88
[19] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88
[20] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99
[21] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C
[22] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%8D%E0%B8%B2
[23] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C