Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > [สาระ+ภาพ] เข้า Google Maps ตามหาอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ

[สาระ+ภาพ] เข้า Google Maps ตามหาอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ

Submitted by user007 on Sat, 2019-10-26 15:47

ทีมข่าวเฉพาะกิจ : ข้อมูล

กิตติยา อรอินทร์ : ภาพ

คำแนะนำ: อนุสาวรีย์รูปพานรัฐธรรมนูญ ไม่ได้มีแต่ที่ราชดำเนิน โปรดเตรียมมือถือให้พร้อมและเปิดสัญญาณ GPS ประชาไทจะพาคุณเดินทางตามไปดูอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ...

หากพูดถึงอนุสาวรีย์ที่มีพานรัฐธรรมนูญอยู่ข้างบน ภาพแรกในหัวของหลายคนคงไม่พ้นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ถนนราชดำเนิน หรืออนุสาวรีย์ปราบกบฎที่หายสาบสูญไปแล้ว แต่ที่จริงแล้ว อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญยังมีอีกหลายแห่งทั่วประเทศ วันนี้ประชาไทชวนทุกท่านออกเดินทางผ่าน Google Maps ตามหาอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญทั่วประเทศ

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจังหวัดขอนแก่น สร้างปีใดไม่ทราบ แต่คาดว่าสร้างขึ้นหลังเหตุการณ์กบฎบวรเดชใน พ.ศ. 2476 ปัจจุบันยังตั้งอยู่ริมถนนกลางเมืองขอนแก่นและเคยถูกใช้เป็นที่ทำกิจกรรมทางการเมืองของกลุ่มต่างๆ เช่นกิจกรรมต้านรัฐประหารของกลุ่มดาวดิน — ที่ ศาลหลักเมือง ขอนแก่น [1]

อนุสาวรีย์เทอดรัฐธรรมนูญ จังหวัดมหาสารคาม สร้างขึ้นในพ.ศ. 2477 ถือเป็นอนุสาวรีย์ที่มีสัญลักษณ์พานรัฐธรรมนูญปรากฎเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เคยตั้งอยู่หน้าศาลากลางจังหวัดมหาสารคามหลังเก่า ส่วนปัจจุบันย้ายมาตั้งอยู่หน้าเทศบาลเมืองมหาสารคาม — ที่ สำนักงานเทศบาลเมืองมหาสารคาม (Maha Sarakham Municipality) [2]

อนุสรณ์รัฐธรรมนูญสุรินทร์ สร้างแล้วเสร็จในพ.ศ. 2479 ตัวอนุสาวรีย์ถูกล้อมด้วยเสาหกต้นแทนหลักหกประการของคณะราษฎร แต่ปัจจุบันเสาที่เคยมีคำว่า "เศรษฐกิจ" ถูกแทนที่ด้วยคำว่า "ความสามัคคี" ที่ฐานของอนุสาวรีย์มีรายชื่อของประชาชนในพื้นที่ที่รวมกันบริจาคเงินเพื่อสร้างอนุสาวรีย์ ปัจจุบันตั้งอยู่ริมรั้วศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ แต่สภาพเริ่มไม่ค่อยดีนัก ถึงกับมีต้นโพธิ์ต้นเล็กๆ ไปงอกอยู่บนพานรัฐธรรมนูญด้วย — ที่ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ [3]

อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญจังหวัดร้อยเอ็ด สร้างเมื่อพ.ศ. 2479 ตั้งอยู่บนเกาะกลางบึงพลาญชัย ใกล้ๆ กับศาลหลักเมือง ภาพอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญเคยอยู่บนตราสัญลักษณ์เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด แต่เปลี่ยนเป็นภาพศาลหลักเมืองในเวลาต่อมา — ที่ บึงพลาญชัย ( Roi Et ) [4]

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ เริ่มก่อสร้างในพ.ศ. 2484 โดยเริ่มมาจากความต้องการของข้าราชการในอำเภอที่ต้องการสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยแบบถาวรสำหรับเป็นส่วนหนึ่งของการจัดงานวันชาติ สร้างสำเร็จได้ด้วยเงินทุนที่มาจากการบริจาคของข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนในพื้นที่ ถึงแม้ว่าจะมีการคัดค้านจากทางกรุงเทพฯ เนื่องจากจอมพล ป.พิบูลสงครามกล่าวว่าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยควรมีแห่งเดียวและเงินที่จะสร้างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตามจังหวัดต่างๆ ควรจะเอาไปสร้างสาธารณูปโภคต่างๆ ดีกว่า

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ภูเขียวมีลักษณะเป็นแบบย่อส่วนของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่กรุงเทพฯ ได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์อนุสาวรีย์ครั้งสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2545 โดยเทศบาลตำบลผักปัง ปัจจุบันถือว่ามีสภาพค่อนข้างดี — ที่ อำเภอภูเขียว ชัยภูมิ [5]

ถึงแม้จะมีข้อมูลว่าที่จังหวัดอุบลราชธานีเคยมีอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ แต่ไม่สามารถตามรอยได้ว่าเคยตั้งอยู่ที่ไหน และหากเคยมี หายไปเมื่อใด อย่างไรก็ตาม อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญในหลายจังหวัดสร้างเพื่อเป็นฉากในงานวันชาติ และอาจไม่ได้สร้างเป็นโครงสร้างถาวร แต่ถึงจะไม่มีอนุสาวรีย์ ที่นี่ก็ยังมีสะพานเสรีประชาธิปไตย 2497 — ที่ สะพานเสรีประชาธิปไตย [6]

อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ จังหวัดสมุทรสาคร ปัจจุบันมีลักษณะเป็นวงเวียนน้ำพุ แต่เดิมเป็นเพียงตัวเล่มรัฐธรรมนูญบนพานแว่นฟ้า ตั้งบนฐานสี่เหลี่ยม ล้อมด้วยเสา 6 ต้นแทนหลักหกประการ และปืนใหญ่ 4 กระบอก คาดว่าน่าจะสร้างในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่กรุงเทพฯ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นน้ำพุในพ.ศ. 2504 — ที่ ตลาดนัดเช้าวงเวียนน้ำพุมหาชัย [7]

 

อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ จังหวัดปัตตานี ตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาลตำบลโคกโพธิ์ ข้อมูลนอกเหนือจากนี้หาไม่พบ หากท่านใดทราบที่มาที่ไปของอนุสาวรีย์แห่งนี้ แจ้งได้ที่ประชาไท — ที่ เขตเทศบาลตำบลโคกโพธิ์ [8]

อนุสาวรีย์แห่งนี้ตั้งอยู่ตรงหัวมุมถนนราษฎร์บำรุง หน้าสถาบันการเงินชุมชนบ้านคลองหวะ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา หากผู้อ่านมีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเป็นมาของอนุสาวรีย์แห่งนี้ สามารถแจ้งได้ที่เพจหรือเว็บไซต์ประชาไท — ที่ อำเภอหาดใหญ่ สงขลา [9]

ประชาไทได้รับข้อมูลจากอลงกรณ์ อรรคแสง อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าพบอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ จังหวัดมหาสารคาม จุดที่ 2 ตั้งอยู่ที่หลังเสาธง ที่ว่าการอำเภอโกสุมพิสัย ที่ฐานมีข้อความว่า "สยามรัฐธรรมนูญที่รักและสักการะยิ่ง" มีลักษณะคล้ายกับอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญที่เทศบาลเมืองมหาสารคาม แต่ขนาดย่อมกว่า เป็นไปได้ว่าเป็นการจำลองแบบมา

พบอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญอีกแห่งที่จังหวัดสุรินทร์ โดยข้อมูลจากสุทธิพงษ์ พูนกล้า ระบุว่าตั้งอยู่ด้านหน้าบริเวณร้านค้าชุมชนบ้านพลับ ตำบลสนม อำเภอสนม โดยสร้างจากแท็งค์น้ำขนาดใหญ่และมีพานรัฐธรรมนูญปูนปั้นอยู่ด้านบน จากคำบอกเล่าของ ถัง พรมบุตร อดีตผู้ใหญ่บ้านพลับ และอดีตกำนันตำบลสนม อนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นราว ๆ พ.ศ. 2531 - 2532 เนื่องจากตนได้ไปเห็นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่กรุงเทพฯ จึงอยากสร้างอนุสาวรีย์ไว้เพื่อให้คนในชุมชนได้เห็นสัญลักษณ์ของระบอบประชาธิปไตย หลังการปรึกษากับคณะกรรมการหมู่บ้านก็ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์แห่งนี้ขึ้นพร้อมกับหอนาฬิกา แต่ปัจจุบันหอนาฬิกาดังกล่าวไม่มีอยู่แล้ว เหลือเพียงอนุสาวรีย์

ประชาไทได้รับข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญอีกแห่งที่จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่บนหอนาฬิกาที่หน้าที่ว่าการอำเภอนาทวี ตัวหอนาฬิกามีชื่อ "พระยาสุวรรณคีรีอนุสรณ์" คาดว่าน่าจะสร้างเพื่อรำลึกถึงพระยาสุวรรณคีรีสมบัติ (เหยี่ยง แซ่เฮา) อดีตเจ้าเมืองสงขลา

  • [สาระ+ภาพ] การรื้อสร้างประวัติกบฏบวรเดช (อย่างย่อ) และการเมืองช่วงนั้น [10]
  • มองความสัมพันธ์เชิงอำนาจและการทำลายความทรงจำผ่านการย้ายอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ [11]

หาย! อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจังหวัดอุดรธานี เคยตั้งอยู่หน้าสถานีรถไฟอุดรธานี มีความเก๋เพราะเป็นต้นไม้ดัดให้เป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ มีปีกล้อมเหมือนอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่กรุงเทพฯ ปัจจุบันไม่มีเหลืออยู่แล้ว กลับมีเสาธงชาติมาตั้งอยู่แทน — ที่ สถานีรถไฟอุดรธานี [12]

หาย! อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญจังหวัดบุรีรัมย์ เดิมตั้งอยู่ตรงวงเวียนสามแยกหน้าศาลากลางจังหวัดเดิม เมื่อแรกสร้างเป็นพานรัฐธรรมนูญตั้งอยู่บนเสาทรงกลม ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงเป็นพานรัฐธรรมนูญตั้งอยู่บนฐานลายธงชาติ ในเดือนพฤศจิกายน 2557 ตัววงเวียนอนุสาวรีย์ถูกรื้อออก โดยทางเทศบาลเมืองบุรีรัมย์อ้างว่าเพื่อแก้ปัญหาการจราจร และได้ย้ายอนุสาวรีย์ไปตั้งที่หน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่า แต่ถูกรื้อออกเมื่อมีการสร้างพระเมรุมาศจำลองในช่วงงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 9 ในช่วงเดือนตุลาคม 2560 และจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการสร้างอนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญใหม่แต่อย่างใด — ที่ ศาลากลางจังหวัดบุรีรัมย์หลังเดิม [13]

หาย! พานรัฐธรรมนูญจำลอง จังหวัดนครราชสีมา เคยตั้งอยู่ใกล้น้ำพุในสวนข้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี มีลักษณะเป็นพานรัฐธรรมนูญตั้งอยู่บนเสาสีขาวขนาดเล็ก เห็นได้จากภาพถ่ายเก่าเมื่อพ.ศ. 2515 ปัจจุบันไม่ทราบว่าอยู่ที่ใด — ที่ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) Thao Suranari Monument [14]

หากพบเจอแจ้งได้ที่ประชาไท

อนุสาวรีย์เหล่านี้ถือเป็นหมุดหมายของความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในท้องถิ่นที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของการก่อตั้งระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ขอฝากทุกท่านช่วยกันสอดส่องดูแลอย่าให้ใครแอบมาลักเอาไป หากในจังหวัดของท่านมีอนุสาวรีย์พานรัฐธรรมนูญ หรือท่านมีข้อมูลว่าเคยมีอนุสาวรีย์ดังกล่าวในจังหวัดของท่าน ขอความกรุณาแจ้งมาที่ประชาไท  https://www.facebook.com/Prachatai/inbox/ [15]

รายงานพิเศษ [16]
การเมือง [17]
วัฒนธรรม [18]
การศึกษา [19]
รัฐธรรมนูญ [20]
depth [21]
อนุสาวรีย์รัฐธรรมนูญ [22]
อนุสาวรีย์ [23]
คณะราษฎร [24]
ความทรงจำ [25]
สาระ+ภาพ [26]
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

Source URL: https://prachatai.com/journal/2019/10/84912?ref=internal_relate

Links
[1] https://www.facebook.com/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%99-1963506920637056/
[2] https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A1-Maha-Sarakham-Municipality/581449355607237
[3] https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C/105621917484046
[4] https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9A%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2-Roi-Et-/304071789627177
[5] https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7-%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4/260419007401042
[6] https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A2/444058149700554
[7] https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%A2/1821250191439099
[8] https://www.facebook.com/pages/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%81%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C/399227520240798
[9] https://www.facebook.com/AmphoeHatYai/
[10] https://prachatai.com/journal/2019/10/84772
[11] https://prachatai.com/journal/2019/01/80774
[12] https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%B5/619880618522614
[13] https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A1/184800805415162
[14] https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A1-Thao-Suranari-Monument/836721816693815
[15] https://www.facebook.com/Prachatai/inbox/
[16] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9
[17] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87
[18] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1
[19] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A8%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2
[20] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D
[21] https://prachatai.com/category/depth
[22] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%90%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B8%8D
[23] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C
[24] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%93%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%A3
[25] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B3
[26] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E