Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > ชุมชนพื้นที่วัฒธรรมพิเศษกะเหรี่ยงดอยช้างป่าแป๋ ลำพูน ร่วม จนท.เขตห้ามล่าฯ รังวัดแนวเขตทำกินและจิตวิญญาณ > ชุมชนพื้นที่วัฒธรรมพิเศษกะเหรี่ยงดอยช้างป่าแป๋ ลำพูน ร่วม จนท.เขตห้ามล่าฯ รังวัดแนวเขตทำกินและจิตวิญญาณ

ชุมชนพื้นที่วัฒธรรมพิเศษกะเหรี่ยงดอยช้างป่าแป๋ ลำพูน ร่วม จนท.เขตห้ามล่าฯ รังวัดแนวเขตทำกินและจิตวิญญาณ

Submitted by user007 on Fri, 2020-07-10 18:15

พชร คำชำนาญ รายงาน

ชาวกะเหรี่ยงชุมชนบ้านดอยช้างป่าแป๋ จ.ลำพูน เดินรังวัดแนวเขตพื้นที่ทำกินร่วมกับ จนท.เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ป่าบ้านโฮ่ง ทั้งพื้นที่ทำกินรายแปลงและพื้นที่จิตวิญญาณขนาด 21,034 ไร่

ชุมชนขอให้เจ้าหน้าที่ฯ รังวัดพื้นที่ทั้งหมด 21,034 ไร่ อันเป็นพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษของชาวกะเหรี่ยง

ช่วงระหว่างวันที่ 8-10 ก.ค.ที่ผ่านมา ชุมชนดอยช้างป่าแป๋ ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน ลงพื้นที่สำรวจแนวเขตพื้นที่ทำกิน อันได้แก่ พื้นที่ไร่หมุนเวียน พื้นที่นา และพื้นที่สวน ตลอดจนพื้นที่ป่าจิตวิญญาณผืนใหญ่ขนาด 21,034 ไร่ ร่วมกับเจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ป่าบ้านโฮ่ง ตามมาตรา 121 พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 หลังผ่านการเจรจาในนามสมาชิกขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

บัญชา มุแฮ วัย 34 ปี แกนนำเยาวชนบ้านดอยช้างป่าแป๋ กล่าวในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า “8-9 ก.ค. 63 ชุมชนดอยช้างป่าแป๋ (ต่าหลู่เก่อชอ) ร่วมกับเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ป่าบ้านโฮ่ง เดินรังวัดขอบเขตหมู่บ้านพื้นที่จิตวิญญาณ 2 หมื่นกว่าไร่ (พื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษพื้นที่ต้นแบบการทำงานร่วมกัน ระหว่างชุมชนกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) และพื้นที่ทำกินต่างๆ พื้นที่ทำกินส่วนมากเป็นพื้นที่ไร่เหล่าพักฟื้น รกทึบมาก ทั้งเดินทั้งวิ่งเพราะเขตห้ามล่าฯกำหนดเดินแค่ 3 วัน จะเสร็จหรือไม่นั้น วันนี้จะลุยๆ กันอีก 1 วัน ชาวบ้านมั่นใจว่าเดินเสร็จแน่นอนครับ”

การดำเนินการรังวัดพื้นที่ทำกินดังกล่าว เป็นไปตามมาตรา 121 แห่ง พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ซึ่งต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จในวันที่ 21 ก.ค. 2563 ส่วนพื้นที่ป่าผืนใหญ่ 21,034 ไร่ อันเป็นพื้นที่จิตวิญญาณทั้งหมดของชุมชน รังวัดตามหนังสือสั่งการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงวันที่ 26 พ.ค. 2563 ข้อที่ 3 ที่ว่า

“...แต่หากยังไม่สามารถดำเนินการสำรวจฯ ได้ ภายหลังที่ได้ทำการชี้แจงข้อเท็จจริงแล้ว เช่น ปัญหาการไม่ยอมรับแนวทางตามที่กำหนดของกลุ่มผู้เรียกร้องต่างๆ (กลุ่มขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม สมัชชาคนจน อื่นๆ) หรือมีการแพร่ระบาดตามมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นต้น ให้ทำการสำรวจฯ เฉพาะเส้นรอบนอกพื้นที่ครอบครองของราษฎรในหมู่บ้านเป้าหมายนั้น พร้อมจัดทำบันทึกเหตุผลร่วมกับผู้นำหมู่บ้านหรือชุมชนนั้นไว้เป็นหลักฐาน...”

บัญชา มุแฮ (เสื้อสีแดง) แกนนำเยาวชนบ้านดอยช้างป่าแป๋ ต.ป่าพลู อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน

สำหรับ ชุมชนดอยช้างป่าแป๋ เป็นชุมชนกะเหรี่ยงชุมชนที่ 12 ที่ร่วมแรงร่วมใจกันสถาปนาพื้นที่บ้านของตนเองเป็นพื้นที่เขตวัฒนธรรมพิเศษของชาวกะเหรี่ยง ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 ส.ค. 2553 ว่าด้วยแนวนโยบายและหลักปฏิบัติในการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง หลังจากเมื่อกลางปี 2562 ได้รับผลกระทบจากการถูกยึดพื้นที่ไร่หมุนเวียนขนาด 18 ไร่ ชุมชนได้เข้าร่วมขับเคลื่อนแก้ไขปัญหากับสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) เจรจากับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ กระทรวงวัฒนธรรม จนสามารถสถาปนาพื้นที่เป็นเขตวัฒนธรรมพิเศษได้เมื่อวันที่ 26-28 ก.พ. ที่ผ่านมา

กระบวนการหลังจากนี้ เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่า ป่าบ้านโฮ่ง จะลงพื้นที่คืนข้อมูลและจัดทำประชาคมร่วมกับชุมชนในวันที่ 15 ก.ค. ว่าข้อมูลที่ได้ถูกต้องหรือไม่ ส่วนพื้นที่ใช้ประโยชน์ทรัพยากร เช่น การเก็บหาของป่า หรือผืนป่าจิตวิญญาณ จะตั้งคณะกรรมการร่วมกันมาจัดทำแผนจัดการทรัพยากรร่วมกันภายหลัง ซึ่งชุมชนยังยืนยันว่าต้องใช้มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 ส.ค. 2553 ประกอบด้วย

หนังสือกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เรื่อง “การเร่งรัดการดำเนินการสำรวจการถือครองที่ดินของราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์” ลงวันที่ 26 พ.ค. 2563

ข่าว [1]
สิทธิมนุษยชน [2]
สิ่งแวดล้อม [3]
กะเหรี่ยง [4]
ที่ดิน [5]
ป่าไม้ [6]
ภาคเหนือ [7]
กลุ่มชาติพันธุ์ [8]
สิทธิที่ดินทำกิน [9]
บ้านดอยช้างป่าแป๋ [10]
เขตห้ามล่าสัตว์ป่า [11]
บัญชา มุแฮ [12]
พชร คำชำนาญ [13]
การถือครองที่ดิน [14]
เขตป่าอนุรักษ์ [15]
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

Source URL: https://prachatai.com/journal/2020/07/88529

Links
[1] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[2] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99
[3] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1
[4] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87
[5] https://prachatai.com/category/%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99
[6] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89
[7] https://prachatai.com/category/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD
[8] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C
[9] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99
[10] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B9%8B
[11] https://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2
[12] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%8A%E0%B8%B2-%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B9%81%E0%B8%AE
[13] https://prachatai.com/category/%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%A3-%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%8A%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%8D
[14] https://prachatai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99
[15] https://prachatai.com/category/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C