Published on ประชาไท Prachatai.com (https://prachatai.com)

Home > รายงานฉบับใหม่ของ ILO ชี้ COVID-19 ส่งผลให้ค่าจ้างลดลง > รายงานฉบับใหม่ของ ILO ชี้ COVID-19 ส่งผลให้ค่าจ้างลดลง

รายงานฉบับใหม่ของ ILO ชี้ COVID-19 ส่งผลให้ค่าจ้างลดลง

Submitted by auser15 on Sat, 2020-12-05 11:43

รายงานฉบับใหม่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) พบว่าค่าจ้างรายเดือนลดลงในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 


ที่มาภาพประกอบ: sommerfelder (Pixabay License) [1]

5 ธ.ค. 2563 จาก Global Wage Report 2020/21 [2] ซึ่งเป็นรายงานฉบับใหม่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) พบว่าค่าจ้างรายเดือนลดลง (รวมทั้งเพิ่มขึ้นในอัตราที่ต่ำ) ช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 อันเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 

รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นว่าคนทำงานบางคนไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเท่า ๆ กัน ผลกระทบต่อคำทำงานหญิงมีมากกว่าผู้ชาย โดยการประมาณการจากกลุ่มตัวอย่าง 28 ประเทศในยุโรป พบว่าหากไม่มีการอุดหนุนค่าจ้าง ผู้หญิงก็จะสูญเสียค่าแรงร้อยละ 8.1 ในไตรมาส 2/2563 เทียบกับร้อยละ 5.4 สำหรับผู้ชาย

นอกจากนี้ในขณะที่ค่าจ้างโดยเฉลี่ยใน 1 ใน 3 ของประเทศที่ทำการสำรวจ ดูเหมือนจะเพิ่มขึ้น แต่ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากจำนวนคนงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำกว่าจำนวนมากตกงาน และทำให้ค่าเฉลี่ยลดลงเนื่องจากไม่รวมอยู่ใน ข้อมูลสำหรับผู้มีรายได้ ส่วนในประเทศที่ใช้มาตรการที่รัดกุมเพื่อรักษาการจ้างงานไว้ พบว่าส่วนใหญ่มาจากการลดค่าจ้างเพื่อทดแทนการเลิกจ้างจำนวนมาก

วิกฤตนี้ยังส่งผลกระทบต่อแรงงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำอย่างรุนแรง โดยผู้ที่อยู่ในอาชีพที่มีทักษะต่ำสูญเสียชั่วโมงการทำงานมากกว่างานบริหารและงานมืออาชีพที่มีค่าตอบแทนสูง ข้อมูลจากกลุ่ม 28 ประเทศในยุโรป แสดงให้เห็นว่าหากไม่มีเงินอุดหนุนชั่วคราว คนงานทำงานร้อยละ 50 จะต้องสูญเสียค่าจ้างประมาณร้อยละ 17.3

หากไม่มีเงินอุดหนุน ค่าจ้างโดยเฉลี่ยที่สูญเสียไปในทุกกลุ่มจะอยู่ที่ร้อยละ 6.5 อย่างไรก็ตามเงินอุดหนุนก็ชดเชยค่าจ้างเพียงร้อยละ 40 เท่านั้น

รายงานฉบับนี้ยังมีการวิเคราะห์ระบบค่าจ้างขั้นต่ำ ซึ่งอาจมีส่วนสำคัญในการสร้างการฟื้นตัวที่ยั่งยืนและเป็นธรรม ปัจจุบันประเทศสมาชิกของ ILO ใช้ระบบค่าจ้างขั้นต่ำร้อยละ 90 (แต่อาจมีรูปแบบแตกต่างกัน) ซึงก่อนที่จะเริ่มมี รายงานการแพร่ระบาดของ COVID-19 พบคนทำงาน 266 ล้านคนทั่วโลก หรือร้อยละ 15 ของผู้มีรายได้จากค่าจ้างทั้งหมดทั่วโลกมีรายได้น้อยกว่าค่าจ้างขั้นต่ำรายชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นเพราะการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ว่าจ้าง หรือเนื่องจากพวกเขาถูกกีดกันจากการบังคับใช้กฎหมาย และพบว่าส่วนใหญ่แล้วกลุ่มคนทำงานที่ได้รับค่าจ้างน้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำคือผู้หญิง

รายงานฉบับนี้ยังพิจารณาถึงแนวโน้มค่าจ้างใน 136 ประเทศในช่วง 4 ปีก่อนการระบาดของ COVID-19 พบว่าการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างที่แท้จริงทั่วโลกมีความผันผวนระหว่างร้อยละ 1.6 ถึง 2.2 โดยอัตราค่าจ้างที่แท้จริงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในเอเชียแปซิฟิกและยุโรปตะวันออก แต่อัตราเพิ่มขึ้นช้ากว่ามากในอเมริกาเหนือ และยุโรปเหนือ ใต้และตะวันตก

ที่มาเรียบเรียงจาก
COVID-19 drives wages down, new ILO report finds (ILO, 2/12/2020) [3]

ข่าว [4]
แรงงาน [5]
ต่างประเทศ [6]
องค์การแรงงานระหว่างประเทศ [7]
ILO [8]
ค่าแรง [9]
ค่าจ้าง [10]
ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่เฟซบุ๊ก https://fb.me/prachatai : ทวิตเตอร์ https://twitter.com/prachatai : LINE ไอดี = @prachatai

Source URL: https://prachatai.com/journal/2020/12/90696?ref=internal_update_picture

Links
[1] https://pixabay.com/th/photos/ค่าจ้าง-เงิน-เหรียญ-ความมั่งคั่ง-4047569/
[2] https://www.ilo.org/wcmsp5/groups/public/---dgreports/---dcomm/---publ/documents/publication/wcms_762534.pdf
[3] https://www.ilo.org/global/about-the-ilo/newsroom/news/WCMS_762547/lang--en/index.htm
[4] https://prachatai.com/category/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7
[5] https://prachatai.com/category/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99
[6] https://prachatai.com/category/%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8
[7] https://prachatai.com/category/%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8
[8] https://prachatai.com/category/ilo
[9] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87
[10] https://prachatai.com/category/%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87