Skip to main content
sharethis

เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ที่ผ่านมา โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทยได้จัดกิจกรรม "คาราวานสิทธิแรงงาน หนังกลางแปลง: เทศกาลหนังแรงงานนานาชาติ" ที่ลานหน้าวัดศรีบุญยืน ต.สันกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน ย่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน


 


 


 



 



 




 


สำหรับนิคมอุตสาหกรรมลำพูน เป็นนิคมอุตสาหกรรมแห่งแรกในระดับภูมิภาค ก่อสร้างในปี 2526 ช่วงแรกของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมมีเป้าหมายในการรองรับอุตสาหกรรมแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตร แต่ต่อมาหลังปี 2530 เป็นต้นมามีการเปิดให้นักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุนอุตสาหกรรม ปรากฏว่า อุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนมากที่สุดเป็นอุตสาหกรรม ประกอบชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีสัดส่วนมากกว่าครึ่ง และส่วนใหญ่เป็นการลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น


 


ภายหลังจากที่อุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์ เข้ามาดำเนินการได้ไม่นาน ผลกระทบก็เริ่มเกิดขึ้น ระหว่างปี 2536-2537 เกิดเหตุการณ์ที่เป็นข่าวดังบนหน้าหนังสือพิมพ์ คือ เริ่มมีคนงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กรอนิกส์ทยอยเสียชีวิตเป็นจำนวน 12 ราย และเริ่มเจ็บป่วยด้วยอาการคล้ายคลึงกันคือหายใจไม่ออก แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยที่มีอยู่น้อยมากยืนยันว่าเป็นโรคจากสาร โลหะหนัก เมื่อตรวจเลือดคนงานก็พบว่ามีสารตะกั่วในเลือดสูงมาก เป็นต้น


 


น.ส.จรรยา ยิ้มประเสริฐ ได้กล่าวถึงความสำคัญของกิจกรรม "หนังกลางแปลง: เทศกาลหนังแรงงานนานาชาติ" นั้นได้จัดขึ้นมาเพื่อให้คนงานในนิคมอุตสาหกรรมทั่วประเทศไทยได้รู้จักกับสิทธิของตนเอง โดยการจัดนิทรรศการและฉายสารคดีด้านแรงงานจากทั่วทุกมุมโลก อันจะทำให้คนงานในเมืองอุตสาหกรรมต่างๆ เข้าใจถึงผลกระทบที่เกิดจากเศรษฐกิจเสรีนิยมใหม่ ที่ประชาชนทั่วโลก โดยในย่านนิคมอุตสาหกรรมลำพูนนั้น ก็มักมีข่าวคราวการเจ็บป่วยจากการทำงาน รวมถึงการทำลายสหภาพแรงงานของนายจ้างอยู่ตลอดเวลา


 


ทั้งนี้ก่อนการเริ่มฉายภาพยนตร์ ได้มีการพูดคุยของประเด็นแรงงานจากตัวแทนสหภาพแรงงานต่างๆ ดังนี้


 


นายอนุชา มีทรัพย์ ประธานสหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ กล่าวถึงประเด็นโรคภัยไข้เจ็บ และความปลอดภัยในโรงงาน โดยกล่าวว่าในการทำงานในโรงงานนั้นแรงงานมักประสบปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพตลอด มา ในส่วนของตนเองนั้นก็มีปัญหาเรื่องเรื่องการมองเห็น เนื่องจากงานที่ตนเองทำในโรงงานนั้นจะต้องใช้สายตาในการเพ่งเกือบตลอดเวลา รวมถึงปัญหาที่พี่น้องนิคมอุตสาหกรรมลำพูนจะต้องเจอก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับ สุขภาพ ซึ่งในอดีตจนถึงปัจจุบันมีข่าวคราวเรื่องการเจ็บป่วยและเสียชีวิตอย่างต่อ เนื่อง ทั้งนี้นายทุนมักจะปิดข่าว รวมถึงบิดเบือนประเด็นการเจ็บป่วยของแรงงาน


 


ทั้งนี้อนุชาเห็นว่า ชีวิตของคนหนึ่งคนที่ต้องมาทำงานในโรงงานนั้นมีความเสี่ยงสูง บางครั้งอาจจะไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่เสียไป


 


นายธาดา ธิมาเกตุ จากสหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าสัมพันธ์ กล่าว ถึงการต่อสู้ของสหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าสัมพันธ์ ที่ต่อสู้จนสามารถเปลี่ยนแปลงการจ้างได้ รวมถึงกรณีถูกเลิกจ้างและต่อสู้จนสามารถเข้ากลับมาทำงานได้


 


ทั้ง นี้ถึงแม้จะกลับเข้ามาทำงานได้ แต่ตนเองซึ่งเป็นคณะผู้ก่อการก็ถูกโยกย้ายไปทำงานที่ไม่ได้คลุกคลีกับมวลชน โดยก่อนหน้านั้นเขาเป็นผู้ตรวจคุณภาพสินค้า (QC) แต่ตอนนี้เมื่อกลับเข้าไปทำงานก็ถูกโยกไปในตำแหน่งที่เกี่ยวกับไลน์การผลิต "ทุกวันนี้ผมทำงานจับแมวโรงงาน เป็นเรื่องจริงและผมไม่อายใคร วันนี้ใช้อาหารไปหลายถุงแล้วเพื่อล่อแมว" ธาดากล่าว


 


นอกจากนี้ธาดายังกล่าวถึงการต่อสู้ของสหภาพแรงงานว่าไม่ใช่เป็นเรื่องเสียหาย แต่เป็นการรวมตัวที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อปรับปรุงต่อรองให้คุณภาพชีวิตของแรงงานดีขึ้น


 


บุญยืน สุขใหม่ เลขาธิการสหภาพแรงงานภาคตะวันออก กล่าว ถึงวิกฤตเศรษฐกิจและการเลิกจ้าง บุญยืนกล่าวว่าในช่วงที่มีการโหมกระแสวิกฤตเศรษฐกิจนี้นายจ้างเองได้ฉกฉวยเอาเป็นโอกาสในการลดต้นทุน ด้วยการเลิกจ้างเพื่อไม่ต้องได้จ่ายโบนัสสิ้นปีให้กับแรงงาน


 


ทั้ง นี้บุญยืนเชื่อมั่นว่าในรอบปีที่มาบริษัทส่วนใหญ่ล้วนแต่ได้กำไร แต่สำหรับวิกฤตเศรษฐกิจในอเมริกา ยอดการสั่งซื้อจากยุโรปจะเป็นสภาวะที่ประเทศไทยจะเริ่มได้รับผลกระทบในปีหน้า แต่ทั้งนี้นายจ้างได้เกาะกระแสชิงเลิกจ้างแรงงานก่อนช่วงปลายปีเพื่อประหยัดต้นทุนที่จะจ่ายค่าแรงของแรงงาน รวมถึงประเด็นการประโคมข่าวของสื่อ ซึ่งบางครั้งยังไม่มีการเลิกจ้าง แต่สื่อก็ได้นำไปเล่นเป็นกระแสและมีการทำตามกันของนายจ้าง


 


สำหรับผู้นำขบวนการแรงงาน บุญยืนเห็นว่าจะต้องมีการทำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องกฎหมายแรงงาน การใช้มาตรา 75 ของนายจ้าง การลาออกและการเลิกจ้าง เพื่อนำไปอธิบายต่อสมาชิกสหภาพแรงงานและพี่น้องแรงงานในโรงงาน "เราจะต้องดูดีๆ ก่อนที่จะเซ็นเอกสารใดๆ จากนายจ้าง ทั้งนี้การลาออกกับการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดนั้น ค่าชดเชยและสิทธิที่แรงงานจะได้รับจะต่างกัน ซึ่งผู้นำแรงงานจะต้องอธิบายและสร้างความเข้า" บุญยืนกล่าว


 


จากนั้นได้มีการฉายภาพยนตร์สารคดี เรื่อง "ลุกขึ้นสู้ ไทรอัมพ์ - Stand up to Triumph!" ซึ่งมีเนื้อหาเรื่องการลุกขึ้นสู้ของคนงานไทรอัมพ์ ประเทศไทยกว่า 3,000 คน ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม - 13 กันยายน 2551 หลังจากจิตรา คชเดช ประธานสหภาพแรงงานถูกเลิกจ้างด้วยข้อหาทำลายชื่อเสียงบริษัท ด้วยการใส่เสื้อ "ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากรรม และ คิดต่างไม่ใช่อาชญากร" ไปออกรายการทีวี


 


โดยสารคดีนำเสนอภาพการต่อสู้ในช่วง 46 วัน ของสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ ประเทศไทย ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่าทำไมสหภาพแรงงานของคนงานตัดเย็บเสื้อผ้าที่เก่าแก่ที่ สุดแห่งนี้ ที่ก่อตั้งมานับตั้งแต่ปี 2523 ยังคงยืนหยัดและเข้มแข็งจนถึงปัจจุบัน


 


ต่อด้วยภาพยนตร์สารคดีเรื่อง "ด้านมืดของการดูแลสุขภาพ (The Dark Side of Healthcare)" - ซึ่งนำเสนอด้านมืดของอุตสาหกรรมการแพทย์ เป็นสารคดีที่ถ่ายทำขึ้นจากรายงานถึงด้านมืดของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ และการรักษาพยาบาลที่ทำส่งป้อนไปยังสวีเดน เป็นการศึกษาขององค์กร SwedWatch และการรณรงค์ต่อมาที่ทำโดย ศูนย์การค้าที่ยุติธรรม และเครือข่ายรณรงค์เพื่อคนงานในอุสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (CCC)  โดยสาร คดีเรื่องนี้ได้นำเสนอภาพการทำงานและชีวิตของคนงานที่ผลิตสินค้าทางด้าน เครื่องมือแพทย์และโรงพยาบาลที่ประเทศปากีสถานและประเทศอินเดีย ภาพความขัดแย้งระหว่างกันที่ชัดเจนกับการดูแลสุขภาพที่สวีเดน กับคนงานที่ทำงานที่ไร้การป้องกันและยากไร้


 


สำหรับกิจกรรมคาราวานสิทธิแรงงาน หนังกลางแปลง: เทศกาลหนังแรงงานนานาชาติ ซึ่งสัญจรมาจัดที่ จ.ลำพูน ที่ลานหน้าวัดศรีบุญยืน ต.สันกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน ย่านนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน นั้นจัดโดยโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย สนับสนุนโดยสำนักข่าวประชาไท, โครงการสื่อสารแนวราบ, กลุ่มประชาธิปไตยเพื่อรัฐสวัสดิการ, ชมรมเพื่อนเพื่อเพื่อน, สหภาพแรงงานอัญมณีและเครื่องประดับสัมพันธ์ และสหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าสัมพันธ์

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net