Skip to main content
sharethis


วานนี้ (3 ..52) ที่ห้องประชุมจี๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สมาคมนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการหัวข้อ "ผ่าทางตันวิกฤติประเทศไทย" ผู้ร่วมเสวนา


ประกอบด้วย ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ อาจารย์นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ รศ.ดร.บรรเจิด สิงคเนติ ภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และ อดีต คตส. นายธีระ สุธีวรางกูร


อาจารย์นิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และ ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา ม.ธรรมศาสตร์


ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า วิกฤติประเทศเกิดจากปัญหาสะสมทางโครงสร้างสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่มีต่อเนื่องมานานแล้ว นานกว่าการช่วงชิงอำนาจการเมืองที่เพิ่งเกิด ดังนั้น การแก้ปัญหา


ต้องปรับปรุงโครงสร้างสังคม เหมือนในประเทศเยอรมนี ที่เคยประสบปัญหาความแตกต่างในช่วงสงครามโลก จนเมื่อมีการทำลายกำแพงเบอร์ลิน มีนโยบายที่ปฏิเสธสังคมนิยมมาเป็นเสรีนิยม


โดยการสร้างสวัสดิการทางสังคม และได้มีการเจรจาถกเถียงต่อรองกันในระดับชาติอย่างกว้างขวางทุกระดับชนชั้น กระทั่งสร้างความเป็นเอกภาพในที่สุด


ขณะที่ประชาธิปไตยไทยอยู่ภายใต้เวทีสื่อมวลชน ที่มีเพียงนักการเมืองบางคน หรือนักวิชาการไม่กี่คน ที่ออกมาแสดงความเห็นในเวลาอันรวดเร็ว กลายเป็นเรื่องที่จะนำมาตัดสินใจทั้งที่ใช้เวลา


อันสั้นในการพิจารณาไตร่ตรอง ถือเป็นการตัดสินใจแบบฉาบฉวย


"การจะมีประชาธิปไตยได้ จะต้องสร้างหลักให้กฎหมายเป็นใหญ่ เพื่อให้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย และการสร้างประชาสังคม ชุมชนที่เข้มแข็ง ขณะเดียวกัน ต้องสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตย


ภายใต้อุดมคติอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทุกฝ่ายยอมรับ ไม่ใช่เป็นเรื่องที่จะนำเสียงบางส่วนมาบีบ"


ทำลายระบบ 2 มาตรฐาน


รศ.ดร.บรรเจิด กล่าวว่า การวิเคราะห์ปัญหา ต้องใช้สติปัญญา แยกความเป็นสภาพการณ์การชุมนุมของคนเสื้อสีต่างๆ ออกจากปัญหาโครงสร้างประเทศ และชนชั้น ซึ่ง 77 ปีของรัฐธรรมนูญไทย


ทำได้เพียงแก้ปัญหาระบบส่วนบนของประเทศ แต่ไม่ใช่ระบบส่วนล่างเลย ทั้งๆ ที่ประชาธิปไตยจะเกิดได้ก็เมื่อชุมชนมีความเข้มแข็ง


ที่ผ่านมา มีการใช้ช่องโหว่นี้มาสร้างนโยบายประชานิยม เพื่อทำให้ชนะใจระบบส่วนล่าง แต่ขณะที่นโยบายประชานิยม คือ เรื่องที่พรรคการเมืองห่วงต่อการสร้างคะแนนเสียงในอนาคตเท่านั้น


ฉะนั้นทางออกวิกฤติ ต้องดูถึงมิติการแก้ปัญหาโครงสร้างส่วนล่าง ที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งในชุมชน ให้เป็นประชาธิปไตยกินได้


ตนไม่เชื่อว่า การตั้งคณะกรรมการสมานฉันท์ปฏิรูปการเมืองและแก้ รธน. จะแก้วิกฤติได้ นอกจากต้องส่งเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อสร้างประชาธิปไตยที่กินได้แล้ว ก็ต้องปฏิรูปโครงสร้างสำนัก


งานตรวจแห่งชาติ (สตช.) ที่เป็นต้นเหตุหนึ่งในการทำให้เกิด 2 มาตรฐาน โดยต้องมีการกระจายแบ่งอำนาจไปยังตำรวจภาคต่างๆ ขณะที่คณะกรรมการตำรวจ ควรต้องให้มีประชาชนเข้าไปมีส่วน


ร่วมตรวจสอบด้วย ส่วนเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน ก็ต้องไม่เน้นแต่การปราบปราม ต้องเน้นการป้องกันด้วย


รศ.ดร.บรรเจิด กล่าวถึง การแก้ รธน. ด้วยว่า เรื่องการนิรโทษกรรมควรจะเกิดขึ้นหรือไม่ ต้องพิจารณาถึงคุณค่าว่า ถ้าแก้แล้วจะไปทำลายความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและความเชื่อถือในหลักนิติ


รัฐหรือไม่ ถ้าแก้แล้วจะไปทำลายคุณค่านั้นก็ไม่ควรทำ


เชื่อสามารถแก้ด้วยสันติวิธี


ทางด้านนายธีระ กล่าวว่า วิกฤติของประเทศ เกิดจากโครงสร้าง ชนชั้น เศรษฐกิจ แต่ที่ผ่านมาต่างฝ่ายต่างชี้หน้าพูดว่า เกิดจากระบบทักษิณ ขณะที่อีกฝ่ายบอกว่าเกิดจากอำมาตยาธิปไตย ดังนั้น


การแก้ปัญหามี 2 วิธี คือ วิธีแบบสันติ ที่จะต้องรู้ 2 เรื่อง คือ 1.ใครคือต้นเหตุ ใครมีส่วนร่วมปัญหาทั้งหน้าม่านและหลังม่าน 2.ปัญหาเกิดจากอะไร เกิดจากทางเทคนิค ระบอบโครงสร้าง


"การแก้ปัญหาต้องคุยกันอย่างเปิดเผย แต่ขึ้นอยู่กับว่าต้นปัญหาจะมานั่งเจรจาหรือไม่ ส่วนวิธีแก้ปัญหาแบบไม่สันติ คือ การทำสงครามกันไม่ใช่แบบเปิดเผย ที่ใช้วิธีการเจรจาไม่ได้ อย่างไรก็ดี


ส่วนตัวยังเชื่อมั่นว่า ในภาวะที่มีคนหลายพวกทำให้เกิดวิกฤติขณะนี้ ยังอยู่ในช่วงที่ใช้วิธีแบบสันติคุยกันได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าต้นเหตุปัญหาจะรู้ตัวแล้วมาคุยหรือไม่"


ดร.ปริญญา กล่าวว่า ความขัดแย้งทางการเมืองรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ขณะนี้ เพียงแค่สามารถประคับประคองความขัดแย้งได้ระดับหนึ่ง แต่ปัญหาคือเราจะประคับประคองได้อีกนานแค่ไหน หากเวลานี้


คือการพักยก เชื่อว่าวิกฤติต่อไปอาจรุนแรงถึงขั้นจลาจล เกิดสงครามการเมืองจริงๆ


"เราจะต้องเรียนรู้ว่า ประชาธิปไตย คือปกครองโดยกติกา ภายใต้นิติรัฐ ที่มีการบังคับใช้กฎหมายแบบเสมอกันและเป็นธรรม ไม่ใช้โดยอำเภอใจ หรือใช้กำลัง ดังนั้น การรักษากติกา การตีความ


กฎหมายและการบังคับใช้ ต้องเสมอกัน เพราะที่ผ่านมา ปัญหาคือ 2 มาตรฐาน จนทำให้เกิดการชุมนุมของคนเสื้อแดง ซึ่งต้องไม่มองว่าเสื้อแดงเป็นเพียงสาวกทักษิณ เพราะถ้ามองแค่นั้นก็แก้ปัญหาไม่ได้"


จุดเริ่มต้นในการเรียกร้องทางการเมือง เริ่มจากปีที่แล้ว โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แล้วปีนี้ เริ่มโดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แต่ประเด็นที่


เหมือนกัน ก็คือ สองฝ่ายต่างอ้างสิทธิชุมนุม ตาม รธน.ปี 2550 มาตรา 63 ดังนั้น คำถามคือขอบเขตการใช้สิทธิชุมนุมอยู่ตรงไหน


"การชุมนุมทางการเมืองจะละเมิดสิทธิบุคคลไม่ได้ โดย รธน.มาตรา 28 ก็บัญญัติไว้ว่า การใช้สิทธิชุมนุมทำได้ ตราบที่ไม่ละเมิดสิทธิบุคคล ดังนั้น จึงต้องมีกติกา แต่ไม่ใช่จากฝ่ายนิติบัญญัติ


เพราะปัญหาไม่ใช่ว่าไม่มีกฎหมาย แต่ปัญหาคือการบังคับใช้กฎหมาย"


ชี้นิรโทษกรรมต้องไม่ขัดแย้ง


ส่วนการคืนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคที่ถูกยุบสำหรับผู้ที่ไม่ได้ทำผิด ไม่ได้เกี่ยวข้อง นั้น ตนเห็นว่าไม่ควรเรียกว่านิรโทษกรรม เพราะถ้าอ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคไทยรักไทยเมื่อ ปี 2550


คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ระบุชัดว่า ที่ประกาศ คปค. ฉบับที่ 27 มาใช้บังคับย้อนหลังในการกระทำที่เกิดขึ้นเมื่อ 2 เม.. 2549 ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องโทษอาญา ดังนั้น ถ้าการวินิจฉัยนี้คือบรรทัด


ฐานว่าไม่ใช่เรื่องความผิดอาญาแล้ว ก็ไม่ควรเรียกว่านิรโทษกรรม แต่เรื่องนี้ควรให้ฝ่ายตุลาการพิจารณา ซึ่งการนิรโทษกรรมหากแก้แล้วทำให้ทะเลาะกันน้อยลงหรือมากขึ้น ถ้าทะเลาะกันมากขึ้นก็ควรหลีกเลี่ยง


ดร.ปริญญา ยังกล่าวย้ำถึง การแก้รัฐธรรมนูญว่า ต้องทำ รธน.ให้เป็นกติกาสูงสุดของทุกฝ่าย โดยที่ยังไม่ถึงพูดเนื้อหา รธน. ปี 2550 ที่ไม่สามารถเป็นสัญญาประชาคมอย่างสมบูรณ์ในการเป็น


กติกาสูงสุดจนเกิดการไม่ยอมรับ โดยการทำให้ รธน. เป็นกติกาสูงสุด ก็มี 3 แนวทาง คือ 1.การนำ รธน. ปี 2540 มาแก้ 2.การแก้ รธน.ปี 2550 3.การร่าง รธน.ใหม่ทั้งฉบับ ซึ่งทั้งสามแนวทางมี


ความเป็นไปได้ทั้งสิ้น เพียงแต่ต้องทำให้ รธน.ที่จะเกิดขึ้นเป็นฉบับสุดท้ายเสียที


สังคมส่วนใหญ่ต้องร่วมสร้างกติกา


ขณะที่ความขัดแย้งต่อการแบ่งสี กลุ่ม นปช. และพันธมิตร แม้เป็นวิกฤติแบ่งไทยเป็นเสี่ยงๆ แต่ก็ถือว่าเป็นโอกาสที่จะเปิดให้มีการใช้พลังอย่างสร้างสรรค์เพื่อประชาธิปไตยไทยที่ก้าวหน้าได้ โดย


เรียนรู้รูปแบบการเคลื่อนไหวของพันธมิตร กรณีการเรียกร้องให้ พ...ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากนายกรัฐมนตรี ก็เพราะความเคลือบแคลงในการใช้อำนาจโดยมิชอบ ทั้งๆ ที่มีเสียง ส.. ใน


สภาเกิน 3 ใน 4 แต่อยู่ในอำนาจได้แค่ 4 ปี ส่วนการเคลื่อนไหวของ นปช. ทำให้เห็นว่า เป็นการต่อต้านอำนาจนอกระบบ พลังภาคประชาชนออกมาทัดทานอำนาจทหาร


"การต่อต้านอำนาจนอกระบบนี้ เป็นเรื่องที่ไทยต้องการ เพราะที่ผ่านมา ประชาธิปไตยของไทยอยู่กับ 2 กลุ่ม คือ นักการเมือง และทหาร ที่ยึดอำนาจ ดังนั้น ถ้าเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนความขัดแย้ง


เป็นพลังเคลื่อนไหวที่สร้างสรรค์ ก็จะทำให้ประชาธิปไตยไทยก้าวหน้าได้"


นอกจากนี้ การเมืองภาคประชาสังคมนั้น เรื่องของคนมีความสำคัญเท่ากับเรื่องระบบ โดยประชาธิปไตยที่มีอยู่ในโลกมีเพียง 30% ที่ประสบความสำเร็จ คือ ในยุโรป และอเมริกา ซึ่งประเทศเหล่า


นั้นได้ให้ความสำคัญต่อการศึกษาสร้างพลเมือง เพื่อสร้างประชาธิปไตยขึ้นมา โดยให้การศึกษา


"การศึกษาจะฝึกคนให้เคารพกติกา เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน เพราะเข้าใจว่าคนย่อมมีความแตกต่างกัน จึงต้องเรียนรู้จะอยู่ร่วมกัน เรื่องนี้กว่าที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะคิดได้ ก็ต้องสูญเสียชีวิต


ไปถึง 6.5 แสนในสงครามกลางเมือง แต่ประเทศไทยไม่เคยให้การศึกษาสร้างพลเมืองรับผิดชอบสังคม และประชาธิปไตยเลย ระบบการศึกษากลับมุ่งแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัย"


อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าประเทศไทยไม่ถึงทางตัน มีแต่อนาคตมีทางไป 2 ทาง คือ 1.อนาคตที่จะเกิดความขัดแย้ง และมีความรุนแรงกว่า ภายในไม่เกิน 2 ปีจะเกิดสงครามการเมือง 2. อนาคตที่


มีประชาธิปไตย มีภาคประชาสังคมเข้มแข็ง ไม่เกิดการปฏิวัติโดยกำลังทหาร


"อนาคตของไทยจะเป็นอย่างไร ขึ้นอยู่กับเราทุกคนว่าจะเลือกกันอย่างไร ถ้าพลังส่วนใหญ่ในสังคมยังนิ่งเฉย ประเทศจะไปสู่สงครามกลางเมือง แต่ถ้าภาคประชาสังคมออกมา แล้วขีดเส้นให้


สังคมเป็นผู้คุมกติกา ก็จะทำให้การเมืองภาคพลเมืองเข้มแข็งได้ อย่าไปเรียกร้องคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาล หรือรัฐสภา แต่ทุกคนต้องร่วมกันออกมาสร้างกติกา ประชาธิปไตยก็จะเกิดอย่างแน่นอน"












ที่มา : เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net