Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

 

ชื่อบทความเดิม: ชาวนาทั่วโลกจำเป็นต้องมีอนุสัญญานานาชาติว่าด้วยสิทธิชาวนา

 

 

เครือข่ายองค์กรชาวนาโลก 'เวีย คัมปาซินา' (La Via Campesina) เตรียม เข้าพบศ.เสน่ห์ จามริก รักษาการประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในวันที่ 29 พ.ค. 52 นี้ เวลา 11.00 น. เพื่อหารือแนวทางการผลักดันปฏิญญาว่าด้วยสิทธิชาวนา

 

ปฏิญญา ว่าด้วยสิทธิชาวนา เกิดขึ้นหลังสถานการณ์ที่มีการละเมิดสิทธิชาวนาสูงขึ้น อันมีสาเหตุจากการดำเนินนโยบายแนวเสรีนิยมใหม่ การเปิดการค้าเสรี เป็นต้น ดังนั้นปฏิญญาว่าด้วยสิทธิชาวนาจึงเป็นการสร้างหลักประกันให้เกิดการเคารพ ปกป้อง บรรลุถึง และยืนยันสิทธิของชาวนา

 

ทั้งนี้ เครือข่ายองค์กรชาวนาโลก 'เวีย คัมปาซินา' (La Via Campesina) ประกอบด้วย Assembly of the Poor Thailand (AOP) Northern Peasant Federation Thailand (NPF) Indonesian Peasant Union (SPI) Japan Family Farmers movement (NOUMINREN) Korea Women Peasant Association (KWPA) Korea Peasant League (KPL) Hametin Agrikultura Sustentavel Timor Larosa’e (HASATIL)

 

 

เครือข่ายองค์กรชาวนาโลก 'เวีย คัมปาซินา'
(La Via Campesina)

 

1

บทนำ

 

ประชาชน เกือบครึ่งหนึ่งในโลกนี้เป็นชาวนา แม้โลกที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง ประชาชนก็ยังรับประทานอาหารที่ผลิตโดยชาวนา การเกษตรขนาดเล็กไม่ใช่เป็นเพียงกิจกรรมทางการเกษตรเท่านั้น หากแต่หมายถึงชีวิตสำหรับคนจำนวนมาก ความมั่นคงของประชากรขึ้นอยู่กับสวัสดิการของชาวนาและการเกษตรแบบยั่งยืน เพื่อที่จะปกป้องชีวิตของมนุษย์ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะเคารพ พิทักษ์และบรรลุถึงซึ่งสิทธิของชาวนา ที่จริงแล้วการละเมิดสิทธิชาวนาอย่างต่อเนื่องเป็นอันตรายต่อชีวิตของมนุษย์

 

2

การละเมิดสิทธิชาวนา

 

ชาวนานับล้านๆ คนถูกบังคับให้ออกจากไร่นา เนื่องจากนโยบายของรัฐ และ/หรือ การทหาร ที่ทำให้การแย่งชิงที่ดินเป็นไปโดยสะดวก ที่ดินหลุดมือชาวนาไปเพื่อการพัฒนาโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรือโครงการ สาธารณูปโภค อุตสาหกรรมที่มีการขุดเจาะ เช่น เหมืองแร่ รีสอร์ทเพื่อการท่องเที่ยว เขตเศรษฐกิจพิเศษ ซุปเปอร์มาร์เก็ต และการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ ผลก็คือที่ดินกระจุกตัวอยู่ในมือของคนจำนวนน้อยยิ่งขึ้น รัฐละเลยภาคเกษตร และชาวนาได้รับรายได้ไม่เพียงพอจากการผลิตทางการเกษตร

 

การ ปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อผลิตพืชพลังงานและเพื่อการอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้รับการสนับสนุนเพื่อประโยชน์ของธุรกิจการเกษตรและทุนข้ามชาติ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหายนะต่อป่า น้ำ สิ่งแวดล้อม และชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมของชาวนา

 

มี การใช้กำลังทหารและความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธมากขึ้นในเขตชนบท ซึ่งมีผลกระทบด้านการใช้สิทธิพลเมืองของชาวนาอย่างเต็มที่ ชาวนาสูญเสียที่ดิน ชุมชนของพวกเขาก็สูญเสียการปกครองตนเอง อธิปไตย และอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม ในรูปแบบของพวกเขาไป

 

อาหาร ถูกใช้เพื่อการเก็งกำไรมากยิ่งขึ้น การต่อสู้ของชาวนาถูกทำให้เป็นอาชญากรรม ยังคงมีการใช้แรงงานทาส การบังคับใช้แรงงาน และแรงงานเด็กในเขตชนบท

 

สิทธิ ของสตรีและสิทธิของเด็กก็ได้รับผลกระทบมากที่สุด สตรีเป็นเหยื่อของความรุนแรงทางจิตใจ ทางกาย และทางเศรษฐกิจ พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติในการเข้าถึงที่ดินและปัจจัยการผลิต และไม่มีส่วนในการตัดสินใจ

 

ชาวนา สูญเสียเมล็ดพันธุ์ท้องถิ่นไปจำนวนมาก ความหลากหลายทางชีวภาพก็ถูกทำลายลงไป เพราะการใช้ปุ๋ยเคมี เมล็ดพันธุ์ลูกผสม และพันธุกรรมดัดแปลงที่พัฒนาโดยบรรษัทข้ามชาติ

 

วิกฤติการณ์ ในภาคการเกษตรทำให้เกิดการอพยพและการจากโยกย้ายที่อยู่จำนวนมาก และชาวนาและคนพื้นเมืองหายสาบสูญ การเข้าถึงบริการทางสุขภาพและการศึกษากำลังลดลงในเขตชนบทและบทบาททางการ เมืองของชาวนาในสังคมก็ถูกทำลาย

 

จาก การละเมิดสิทธิชาวนาดังกล่าว ทุกวันนี้ ชาวนานับล้านๆ คน มีชีวิตอยู่อย่างหิวโหยและมีภาวะทุภโภชนาการ ทั้งนี้มิใช่เป็นเพราะไม่มีอาหารเพียงพอในโลก แต่เป็นเพราะแหล่งอาหารถูกครอบงำโดยบรรษัทข้ามชาติ ชาวนาถูกบังคับให้ผลิตเพื่อการส่งออกแทนที่จะเป็นการผลิตอาหารสำหรับชุมชน ของตน

 

 

 

 

3

นโยบายเสรีนิยมสมัยใหม่ทำให้การละเมิดสิทธิชาวนาเลวร้ายลง

 

การละเมิดสิทธิชาวนากำลังเพิ่มสูงขึ้นเพราะการดำเนินนโยบายแนวเสรีนิยมใหม่ที่สนับสนุนโดยองค์การการค้าโลก(WTO) ข้อตกลงการค้าเสรี(FTA) และ สถาบันอื่นๆ กับรัฐบาลหลายประเทศในซีกโลกเหนือและใต้ องค์การการค้าโลก และข้อตกลงการค้าเสรี บังคับให้มีการเปิดตลาดและขัดขวางไม่ให้ประเทศต่างๆ ปกป้องและสนับสนุนการเกษตรในประเทศ และยังผลักดันให้เกิดการลดการควบคุมของรัฐในภาคการเกษตร

 

รัฐบาล ในประเทศพัฒนาแล้วและบรรษัทข้ามชาติ เป็นสาเหตุของวิธีปฏิบัติด้านการทุ่มตลาด อาหารที่มีราคาถูกการอุดหนุนของรัฐหลั่งไหลท่วมท้นตลาดท้องถิ่น ซึ่งเท่ากับบังคับให้ชาวนาหลุดออกไปจากธุรกิจ

 

องค์การ การค้าโลกและสถาบันอื่นๆ บังคับให้มีการนำมาซึ่งอาหารอย่างเช่น อาหารที่มีการปรับแต่งพันธุกรรม และการใช้ฮอร์โมนเร่งการเติบโตอย่างไม่ปลอดภัยในการผลิตเนื้อสัตว์ ในขณะเดียวกันก็ห้ามการทำตลาดของสินค้าเพื่อสุขภาพที่ผลิตโดยชาวนาโดยสร้าง อุปสรรคด้านสุขอนามัย

 

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงโครงสร้าง (Structural Adjustment Programs – SAPs) ซึ่ง นำไปสู่การตัดเงินอุดหนุนสำหรับการเกษตรและบริการสังคม ประเทศต่างๆ ถูกบังคับให้ทำให้วิสาหกิจของรัฐเป็นของเอกชนและยกเลิกกลไกการสนับสนุนภาค เกษตร

 

นโยบาย สำหรับประเทศและนโยบายด้านต่างประเทศให้ความสำคัญต่อบรรษัทข้ามชาติ หรือการผลิตและการค้าอาหารทั้งทางตรงและทางอ้อม บรรษัทข้ามชาติเองก็มีการขโมยพันธุกรรม และการทำลายแหล่งพันธุกรรมกับความหลากหลายทางชีวภาพที่ชาวนาเพาะปลูกขึ้นมา ตรรกะของทุนนิยมว่าด้วยการสะสมได้ทำลายการเกษตรของชาวนา

 

 

 

4

การต่อสู้ของชาวนาเพื่อยืนยันและปกป้องสิทธิของตน

 

การ ที่ต้องเผชิญหน้ากับความเป็นจริงดังกล่าว ชาวนาทั่วโลกต่างก็กำลังดิ้นรนที่จะมีชีวิตอยู่ ชาวนานับพันๆ คน ทั่วโลกกำลังถูกจับกุมเพราะพวกเขาต่อสู้เพื่อปกป้องสิทธิและการทำมาหากินของ ตน พวกเขาถูกนำตัวขึ้นสู่ศาลด้วยระบบยุติธรรมที่ไม่ยุติธรรม อีกทั้งการสังหารหมู่ การฆ่าโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม การจับกุมและการกักขังตามอำเภอใจ การกลั่นแกล้งและการรังควานทางการเมือง เป็นเรื่องปกติธรรมดา

 

วิกฤติการณ์ด้านอาหารของโลกในปี 2551 ซึ่งถูกทำให้เร็วขึ้นและเลวร้ายลงโดยนโยบายและบรรษัทข้ามชาติ (ซึ่งกระทำการอย่างเป็นหนึ่งเดียวกันไปตามผลประโยชน์ส่วนตน) แสดง ให้เห็นอย่างชัดเจนถึงความล้มเหลวในการสนับสนุน การเคารพ การปกป้อง และการบรรลุถึงสิทธิของชาวนา ซึ่งส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งมวลในโลก ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ในขณะที่ชาวนาได้ลงแรงอย่างหนักที่จะทำให้เรามั่นใจได้ในเมล็ดพันธุ์และ อาหารนั้น การละเมิดสิทธิชาวนาก็ทำลายความสามารถของโลกในการเลี้ยงตนเอง

 

การ ต่อสู้ของชาวนา เข้ากันได้อย่างเต็มที่กับแนวทางของสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งรวมเครื่องมือและกลไกในประเด็นต่างๆ ของสภาสิทธิมนุษยชนที่กล่าวถึงสิทธิที่จะมีอาหาร สิทธิด้านที่อยู่อาศัย การเข้าถึงน้ำ สิทธิด้านสุขภาพ ผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน ชนพื้นเมือง ชาติพันธุ์นิยม และการดูหมิ่นเหยียดหยามทางเชื้อชาติ สิทธิสตรี

 

เครื่อง มือระหว่างประเทศขององค์การสหประชาชาติเหล่านี้ไม่ได้ครอบคลุมอย่างสมบูรณ์ และยังไม่ได้ป้องกันการละเมิดสิทธิอีกด้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิชาวนา พวกเราเล็งเห็นถึงข้อจำกัดบางประการในกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (International Covenant on Economic, Social and Cultural Rights-ICESCR) ในฐานะที่จะเป็นเครื่องมือปกป้องสิทธิชาวนา เช่นเดียวกัน กฏบัตรว่าด้วยชาวนา ซึ่งองค์การสหประชาชาติได้ออกในปี 2521 ไม่ สามารถที่จะปกป้องชาวนาจากนโยบายเปิดเสรีนานาชาติได้ อนุสัญญานานาชาติอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิชาวนาด้วย ก็ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้เช่นกัน อนุสัญญาดังกล่าวรวมถึง อนุสัญญา ILO 169 วรรค 8-J อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ, ข้อ 14.60 วาระ 21 (Agenda 21) และพิธีสารคาร์ทาจีนา (Cartagena Protocol)

 

5

ชาวนาต้องการอนุสัญญานานาชาติว่าด้วยสิทธิชาวนา

 

เนื่องจาก ข้อจำกัดของอนุสัญญาและมติต่างๆ ดังนั้นจึงมีความสำคัญที่จะสร้างเครื่องมือระดับนานาชาติอย่างหนึ่งขึ้นมา เพื่อให้เกิดการเคารพ ปกป้อง บรรลุถึง และยืนยันสิทธิของชาวนา กล่าวคือ อนุสัญญานานาชาติว่าด้วยสิทธิชาวนา (International Convention on the Rights of Peasants – ICRP) ขณะนี้มีอนุสัญญาที่ปกป้องกลุ่มคนที่ยังอ่อนแอ เช่น คนพื้นเมือง สตรี เด็ก และคนงานอพยพ อนุสัญญา ICRP นี้จะกล่าวถึงคุณค่าของสิทธิชาวนา ซึ่งรัฐบาลกับสถาบันนานาชาติจะต้องเคารพ ปกป้อง และทำให้เป็นจริง อนุสัญญา ICRP จะผนวกไว้ด้วยพิธีสารที่เป็นข้อเลือก ซึ่งจะทำให้แน่ใจได้ว่าได้มีการนำไปใช้จริง

 

ในการประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยสิทธิชาวนาในเดือนเมษายน 2545 เวีย คัมเปซินาได้สร้าง “ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิชาวนา” โดยใช้กระบวนการกิจกรรมต่างๆ เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยสิทธิชาวนา ในเมืองเมดาน สุมาตราเหนือในปี 2543 การประชุมว่าด้วยการปฏิรูปการเกษตรที่จาการ์ตา เดือนเมษายน 2544 การประชุมระดับภูมิภาคว่าด้วยสิทธิชาวนาที่จาการ์ตา เดือนเมษายน 2545 และการประชุมนานาชาติของเวีย คัมเปซินา ซึ่งจัดที่จาการ์ตาเช่นกันเมื่อมิถุนายน 2551 เนื้อความของปฏิญญาได้ผนวกไว้กับเอกสารชิ้นนี้ด้วย เอกสารนี้ควรได้สร้างพื้นฐานให้กับ อนุสัญญา ICRP ซึ่งจะมีการปรับรายละเอียดต่อไปโดยองค์การสหประชาชาติ และเวีย คัมเปซินากับตัวแทนประชาสังคมต่างๆ จะมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่

 

พวกเรารอคอยการสนับสนุนจากประชาชนที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับการต่อสู้ของชาวนา การสนับสนุนและปกป้องสิทธิของชาวนา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net