Skip to main content
sharethis

23 องค์กร ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ออกแถลงการณ์ร่วมสมานฉันท์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในไทย ปล่อยตัวนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยและนักโทษการเมืองทั้งหมดทันที

16 ต.ค. 2563 องค์กรฝ่ายซ้าย สังคมนิยม แรงงานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 20 องค์กร ออกแถลงการณ์ร่วมสมานฉันท์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในไทย โดยระบุว่ากระแสการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยโดยนักศึกษากำลังปะทุไปทั่วประเทศไทยนับตั้งแต่เดือน ก.พ. พวกเขาสร้างเอกภาพกับนักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่กับอดีตคนเสื้อแดงและแม้กระทั่งผู้ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนไหวของคนเสื้อเหลือง ร่วมกันเรียกร้องให้ 1) รัฐบาลประยุทธ์ลาออกและเลือกตั้งใหม่ที่เสรีและยุติธรรม 2) เปลี่ยนกฎหมายรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย 3) ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้หลักนิติธรรม ลดสิทธิพิเศษและยุติการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ปิดปากผู้ไม่เห็นด้วย

พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในอดีตและปัจจุบันได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน “ร้ายแรง” ในวันที่ 15 ต.ค. ซึ่งห้ามการชุมนุมของประชาชน 5 คนขึ้นไปหรือมากกว่า  และห้าม “เผยแพร่ข่าวสื่ออื่น ๆ และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อความที่อาจสร้างความหวาดกลัวหรือจงใจบิดเบือนข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด อันจะกระทบต่อความมั่นคงของชาติหรือความสงบเรียบร้อย”

ซึ่งหลังจากประกาศ เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารถูกส่งไปสลายการชุมนุมผู้ประท้วง แต่การสลายการชุมนุมของตำรวจเริ่มขึ้นเมื่อเย็นวันที่ 13 ต.ค. เมื่อนักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยกลุ่มหนึ่งเดินทางจากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมายังกรุงเทพฯ ตั้งเต็นท์ชั่วคราวตามมุมถนน ตำรวจได้รื้อที่พักเหล่านี้และจับกุมผู้ชุมนุมไปประมาณ 20 คน จากนั้นตำรวจเตรียมกำลังก่อนรุ่งสางในวันที่ 15 ต.ค. เพื่อสลายการชุมนุมที่ทำเนียบรัฐบาล แกนนำนักเคลื่อนไหวและผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งถูกจับกุม และมีความกังวลอย่างมากเกี่ยวกับการปราบปรามที่อาจมีขึ้นในครั้งต่อไป 

เราขอยืนหยัดสมานฉันท์กับขบวนการประท้วงในประเทศไทย และเรียกร้องรัฐบาลไทยให้

# ยกเลิก "สถานการณ์ฉุกเฉิน" ในทันที และเคารพสิทธิในการประท้วงของประชาชน
# ปล่อยตัวนักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยและนักโทษการเมืองทั้งหมดทันที
# ยุติการปกครองด้วยระบอบทหารและให้มีการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรมเพื่อให้มีรัฐบาลประชาธิปไตย
# เปลี่ยนกฎหมายรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย
# ยกเลิกอำนาจศักดินาและหยุดใช้กฎหมายปราบปราม รวมถึงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ปิดปากคนเห็นต่าง

รายนามองค์กรที่สนับสนุนแถลงการณ์

1. Partido Lakas ng Masa (PLM) พรรคมวลชนแรงงาน ประเทศฟิลิปปินส์
2. Socialist Party of Malaysia (PSM) พรรคสังคมนิยมมาเลเซีย ประเทศมาเลเซีย
3. North South Initiative ประเทศมาเลเซีย
4. Sedane Labour Resource Center (LIPS) ศูนย์ทรัพยากรแรงงาน ประเทศอินโดนีเซีย
5. Working People's Party (PRP) พรรคคนทำงาน ประเทศอินโดนีเซีย
6. Socialist Alliance แนวร่วมสังคมนิยม ประเทศออสเตรเลีย
7. Karya Utama Union (FSBKU) สหพันธ์แรงงาน ประเทศอินโดนีเซีย
8. Communist Party of India (Marxist-Leninist) Liberation, India พรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินเดีย
9. BMP (Solidarity of Filipino Workers) ประเทศฟิลิปปินส์
10. Sanlakas ฟิลิปปินส์
11. Partai Rakyat Demokratik (PRD) ประเทศอินโดนีเซีย
12. SPERBUPAS GSBI PT. Panarub Industri  อินโดนีเซีย
13. Indonesia for Global Justice (IGJ) ประเทศอินโดนีเซีย
14. Laban ng Masa ฟิลิปปินส์
15. Socialist Alternative องค์รสังคมนิยมทางเลือก ออสเตรเลีย
16. Haqqoq Khalq Movement (ขบวนการสิทธิประชาชน) ปากีสถาน
17. Yubaraj Chaulagain - สมาชิกคณะกรรมการกลาง พรรคคอมมิวนิสต์ ประทศเนปาล
18. Borderless Movement, Hong Kong ขบวนการไร้พรมแดนฮ่องกง
19. Pakistan Kissan Rabita Committee (Pakistan Peasants Coordination Committee) คณะกรรมการประสานงานชาวนา ปากีสถาน
20. Campaign for Peace, Disarmament and Common Security, United States องค์กรรณรงค์เพื่อสันติภาพ การปลดอาวุธและความมั่นคงของคนธรรมดา สหรัฐอเมริกา
21. Heinz Bierbaum, President of the Party of the European
Left (EL)
22. Finnish Asiatic Society, Finland
23. Hong Kong Confederation of Trade Unions (HKCTU) สมาพันธ์แรงงานฮ่องกง

*หมายเหตุมีการเพิ่มรายชื่ออีก 3 องค์กร ณ เวลา 21.00 น. วันที่ 16 ต.ค. 2563
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net