Skip to main content
sharethis

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปิดรับฟังความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ปรับบทบัญญัติเกี่ยวกับการพิจารณาลดวันต้องโทษจำคุกและการพักการลงโทษของผู้ต้องขัง ให้สอดคล้องกับหลักการทางอาญาตามมาตรฐานสากล

17 มี.ค. 2567 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เปิดรับฟังความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เสนอโดย นายพิทักษ์เดช เดชเดโช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กับคณะ เนื่องจากพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 ที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่สอดคล้องกับหลักการทางอาญาตามมาตรฐานสากล ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น รูปแบบและโครงสร้างของคณะกรรมการราชทัณฑ์ หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาลดวันต้องโทษจำคุก การพักการลงโทษของผู้ต้องขัง ดังนั้น จึงควรแก้ไขกฎหมายฉบับดังกล่าวเพื่อให้กระบวนการดังกล่าวมีความรัดกุม โปร่งใส และสอดคล้องกับหลักการในทางสากล ซึ่งร่างพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญในการกำหนดบทนิยามและองค์ประกอบของ “คณะกรรมการอิสระ” และ “กรรมการอิสระ” ขึ้นใหม่ เพื่อพิจารณาประโยชน์ของผู้ต้องขัง กำหนดองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการราชทัณฑ์และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการราชทัณฑ์ขึ้นใหม่ 

ตลอดจนกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาลดวันต้องโทษจำคุก การพักการลงโทษของผู้ต้องขัง โดยจะพึงกระทำได้ต่อเมื่อนักโทษเด็ดขาดได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดมาแล้วหนึ่งในสามของกำหนดโทษตามหมายศาลในขณะนั้น หรือไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งในกรณีต้องโทษจำคุกในคดีในกรณีต้องโทษจำคุกในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายในความผิดต่อชีวิตตามประมวลกฎหมายอาญา คดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้าตามกฎหมายกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด คดีทุจริตและประพฤติมิชอบตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ความผิดเกี่ยวกับทุจริตการเลือกตั้งตามกฎหมายเลือกตั้งและพรรคการเมือง และให้รวมถึงกรณีต้องโทษจำคุกในกรณีที่ต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตที่มีการเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุกมีกำหนดเวลา รวมทั้งกำหนดให้กรมราชทัณฑ์เป็นผู้รวบรวบข้อเท็จจริงแล้วส่งให้คณะกรรมการอิสระเพื่อพิจารณาประโยชน์ของผู้ต้องขังเป็นผู้พิจารณาตรวจสอบและไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วยื่นคำร้องต่อศาลที่คดีถึงที่สุดเพื่อพิจารณาวินิจฉัยและมีคำสั่ง

สำหรับประชาชนสามารถร่วมแสดงความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ได้จนถึง 11 เม.ย. 2567 ทางลิงค์นี้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net