Skip to main content
sharethis

บันทึกถ่ายทอดการสนทนากับ กฤษฎา ธีระโกศลพงศ์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอดีตหัวหน้าคณะทำงานฯ กมธ.การแรงงาน ว่าด้วยมุมมองหลังคณะกรรมการค่าจ้าง เคาะขึ้นค่าแรง 400 บาทต่อวัน แต่เป็นเฉพาะสถานประกอบการธุรกิจโรงแรม 4 ดาว มีลูกจ้าง 50 คนขึ้นไป และเพียงในพื้นที่ 10 ตำบล-เขตท่องเที่ยว ทั้งที่ เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ เคยตอบกับสภาเมื่อวันที่ 12 ก.ย.66 ยืนยันว่าตั้งเป้าขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400 บาทโดยเร็วที่สุด และช่วงหาเสียงยืนยันว่าจะขึ้นทันที 400 บาทในปีหน้า

พร้อมทั้งชวนคุยถึงข้อเสนอ ค่าแรงขั้นต่ำบนหลักการ 'living wage' ที่ไม่ควรต่ำกว่า 21,688.75 บาทต่อเดือน หรือ 723 บาทต่อวัน กรณีผู้ที่ไม่มีสมาชิกพึ่งพิงในครัวเรือน รวมทั้งมติของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ล่าสุดที่ระบุว่ากรณีบริษัทแพลตฟอร์มไม่นับ “ไรเดอร์” เป็นลูกจ้างทั้งที่บริษัทมีอำนาจควบคุมและลงโทษเหมือนเป็นลูกจ้างไม่ใช่หุ้นส่วนอย่างที่บริษัทอ้าง ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิแรงงาน ผิดกฎหมายแรงงานและประกันสังคม เสนอให้แก้ไขปรับค่าแรงและสวัสดิการต่างๆ เหมือนเป็นลูกจ้างตามกฎหมาย

กฤษฎา อธิบายถึงหลักการว่าด้วยค่าจ้างขั้นต่ำ ที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน อีกทั้งเรื่องค่าแรงขั้นต่ำนั้นมันอยู่ในหลักการคุ้มครอง ไม่ใช่อยู่ในหลัการเศรษฐกิจและพัฒนา ที่เป็นอยู่มักมีนักวิชาการหรือเทคโนแครตเอาไปผสมกับระบบมาตรฐานฝีมือ หรือค่าจ้างฝีมือ ทั้งที่เป็นคนละเรื่องกันเพราะมาตรฐานฝีมือมันเป็นเรื่องของการพัฒนา แต่ค่าแรงขั้นต่ำเป็นเรื่องของการคุ้มครองไม่ให้ต่ำกว่ามาตรฐานการดำรงชีวิต อีกทั้ง ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ก็ใช้อิงกับสมาชิกในครอบครัวด้วยไม่ใช่เพียงการดูแลตัวแรงงานคนเดียว เพราะมนุษย์จะมีครอบครัวมีคนที่ต้องพึ่งพิง ดังนั้นค่าแรงไม่ได้ออกแบบมาเพื่อดูแลคนๆ เดียว

อดีตหัวหน้าคณะทำงานฯ กมธ.การแรงงาน อธิบายถึงที่มาของข้อเสนอ ค่าแรงขั้นต่ำบนหลักการ 'living wage' ตั้งแต่เมื่อปี 2565 ที่ไม่ควรต่ำกว่า 21,688.75 บาทต่อเดือน หรือ 723 บาทต่อวัน กรณีผู้ที่ไม่มีสมาชิกพึ่งพิงในครัวเรือน โดยดูบนหลักการสำคัญคือค่าครองชีพ ซึ่งอาจต้องไปดูในรายพื้นที่ด้วย ซึ่งสิ่งนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าแรงขั้นต่ำ

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net