Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis


  
ปรองดอง (recociliation) คือการจัดการความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่แตกแยกต่อสู้ปะทะกัน เพื่อเจรจาสู่แนวทางสันติภาพ นิยามของคำว่าปรองดอง จะเห็นได้ว่า มีความหมายที่ดี แต่ในความเป็นจริงแล้วแนวทางสู่สันติภาพผู้เขียนได้พบเห็นและรับรู้เรื่องราวในพื้นที่ บ้านตันหยงเปาว์ จ.ปัตตานี ผู้ที่นำคำว่าปรองดองมาให้ต้องการผลประโยชน์ให้ตนเอง (self-interest) มากกว่าคำนึงถึงผลประโยชน์ต่อสังคม (social-Interets) ต่อประชาชนในพื้นที่โดยผ่านงบประมาณเอาใจประชาชน ซึ่งผู้ที่นำคำว่าปรองดองมาให้นั่นก็คงหนีไม่พ้น ''รัฐบาล''

พื้นที่ตันหยงเปาว์ จ.ปัตตานี เป็นหนึ่งพื้นที่ที่ได้รับงบประมาณจากภาครัฐสนับสนุน โดยชาวบ้านในพื้นที่ได้ให้ข้อมูลว่างบประมาณที่ได้รับ ได้จากกองทุน ไทยเข้มแข็งและ SMEs วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises ) 1 ปี จะได้รับการจัดสรรงบประมาณจากฝ่ายปกครอง 2 ครั้ง

จากงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากภาครัฐชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวต้องสร้างกลุ่มรวมตัวในการนำงบประมาณนั้นมาใช้โดยมาเลือกว่าจะผลิตอะไร จะประกอบกิจการอะไร ซึ่งผลสรุปคือการทำน้ำจิ้ม 3 ประเภทคือ 1.น้ำจิ้มไก่ 2.น้ำจิ้มซีฟู้ด 3.น้ำปลาหวานโรยกุ้ง แต่ที่น่าสนใจคืองบประมาณที่ถูกจัดสรรนั้น ไม่ถูกต่อยอดหรือเกิดการรวมกลุ่มที่เข้มแข็ง เปรียบเสมือนการจัดกิจกรรมช่วงหนึ่ง เมื่อได้เงินมาก็ทำ หากไม่มีงบประมาณเข้ามาก็จบ ไม่มีกองทุนที่สำรองเงินเพื่อต่อยอดในการผลิตในครั้งต่อๆ ไปทำให้การรวมกลุ่มไม่เกิดประโยชน์ตามที่ควรจะเป็น

นอกจากนี้ยังเกิดปัญหาตามมาอีกมาก เช่น การเล่นพรรคเล่นพวก เล่นการเมืองในกลุ่ม โดยหาผลประโยชน์เข้าสู่ตนเอง บริหารงานแบบผักชีโรยหน้า เงินมาก็ทำให้จบๆ ไปเป็นแบบนี้มาตลอดและในอนาคตคงเป็นเช่นนี้และ มีการทุจริตหรือไม่ก็ตรวจสอบไม่ได้

ทั้งนี้ภาครัฐเองกระทำการละเมิดต่อประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวโดยมีความพยายามผลักดันให้ประชาชนในพื้นที่ ออกจากการประกอบอาชีพชาวประมง เบี่ยงงานจากทะเล ให้งบสนับสนุนประชาชน รวมตัวกันทำธุรกิจในชุมชน อาทิ น้ำจิ้มดังกล่าว ซึ่งชาวบ้านในพื้นที่ส่วนหนึ่งก็เห็นว่า เชื่อมโยงกับกรณีการสร้างโรงไฟฟ้าเทพาหรือไม่? แท้จริงแล้วการจำกัดขอบเขตการประกอบอาชีพประมง เป็นสิ่งที่ควรกระทำให้เหมาะสมและไม่ละเมิดสิทธิในการประกอบอาชีพที่สุจริต

สุดท้ายนี้หลายๆ พื้นที่ในประเทศไทยก็เกิดปัญหา เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาในชุมชน ความขัดแย้ง และความเข้มแข็งของคนในพื้นที่ที่ยังมีไม่มากพอแต่สิ่งที่ทุกคนควรสังเกตประเมินให้ดีๆ จะเห็นได้ว่ารัฐไทยเอง ที่ไม่สามารถจัดการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาไม่ตรงจุด เช่น ซื้อของมามอบให้อย่างในพื้นที่ตันหยงเปาว์ มีการได้รับอวนที่รัฐบาลซื้อมาแจก โดยไม่ได้สอบถามจากประชาชนว่าต้องการสิ่งใด รัฐไม่ได้เข้ามาดูบริบทในพื้นที่แต่มองว่าเน้นการเอาใจประชาชนโดยการสร้างสิ่งต่างๆ แจกเงิน แจกของ ไม่ได้สร้างจิตสำนึกหรือ ศักยภาพของบุคคลและสร้างภาพให้ตัวรัฐดูดีว่าช่วยเหลือประชาชนจริงหากลองวิเคราะห์แล้วจะเรียกว่าการแก้ปัญหาจากบนลงล่าง (up to down) หรือสร้างภาพจากบน (รัฐ) สู่ประชาชนทั่วทั้งประเทศ หากไม่ลองสอบถามจริงจากพื้นที่ก็จะเชื่อแค่ตามข่าว

หากรัฐบาลไทยมีความสามารถในการบริหารประเทศได้อย่างมีศักยภาพและมีคนยอมรับเป็นส่วนใหญ่ของประเทศ รวมไปถึงประชาชนในรัฐไทยถ้าสามารถมีช่องทางหรือเปลี่ยนแปลงสังคมโดยคนในสังคมที่รู้สึกว่าทุกวันนี้ถูกล่วงละเมิด ถูกเอาเปรียบ หรือหลุดพ้นออกจากแนวคิด ''อยู่เป็น'' ได้ การแก้ปัญหาจากล่างสู่บน (Bottom up) น่าจะเพิ่มขึ้นและมีศักยภาพมากขึ้นทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย

 

เกี่ยวกับผู้เขียน: อนินท์ญา ขันขาว เป็น นศ.ชั้นปีที่ 1
คณะรัฐศาสตร์ สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net