Skip to main content
sharethis

เชื่อม "ดอยสุเทพ-ปุย-ห้วยตึงเฒ่า"
ลุ้นเป็นเส้นทางท่องเที่ยวใหม่

จากสถิติการจัดลำดับสถานที่ท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ในปี 2545 โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ระบุถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวต้องการไปเยือนมากที่สุด ผลปรากฏว่า "ดอยสุเทพ" ยังสามารถครองอันดับ 1 จึงทำให้ในแต่ละปีมีจำนวนนักท่องเที่ยวขึ้นดอยสุเทพประมาณ 2,000,000 คน หรือวันละ 5,500 คน คิดเป็นเกือบ 60% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดที่มาเยือนจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 3,300,000 คนต่อปี และหากสมมติให้นักท่องเที่ยว 5 คน เดินทางโดยใช้รถยนต์คันเดียวกัน จะพบว่าในแต่ละวันจะมีรถยนต์ขึ้นดอยสุเทพประมาณ 1,000 คัน

ด้วยเพราะสาเหตุดังกล่าว จึงส่งผลให้ถนนสายห้วยแก้ว ที่เป็นถนนสายหลักขึ้นดอยสุเทพมักจะติดขั้นถึงขั้นเป็นอัมพาต โดยเฉพาะช่วงวันหยุดหรือช่วงไฮซีซัน นอกจากรถติดแล้วปัญหาอุบัติเหตุก็เกิดขึ้นซ้ำซาก และที่สำคัญจะกระทบต่อความรู้สึกของนักท่องเที่ยวที่จะเบี่ยงไปหาสถานที่ท่องเที่ยวอื่นแทน

ภาคเอกชน โดยคณะกรรมการ กกร. จังหวัดเชียงใหม่ โดย หอการค้า สภาอุตสาหกรรม และชมรมธนาคารจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้มอบหมายให้โครงการศูนย์ข้อมูลเพื่อส่งเสริมธุรกิจ คณะวิศวกรรม
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้ทำการศึกษาเบื้องต้น โครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสาย "ดอยสุเทพ- ปุย -ห้วยตึงเฒ่า" ขึ้นมา เพื่อเป็นโครงการเสริมสร้างศักยภาพการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่

ผลการศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวใหม่
คุ้มค่า- ผลตอบแทนสูง - คืนทุนเร็ว

จากผลการศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกี่ยวกับ "โครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสาย ดอยสุเทพ - ปุย - ห้วยตึงเฒ่า" พบว่า เป็นโครงการที่คุ้มค่าในการลงทุน และให้ผลตอบแทนสูง มีระยะเวลาคืนทุนเร็ว ควรได้รับการสนับสนุนทั้งในเรื่องการดำเนินงาน และงบประมาณการก่อสร้างจากภาครัฐ ทั้งนี้ จะต้องให้ความสำคัญกับผลกระทบที่อาจส่งผลต่อป่าไม้ สัตว์ป่า หรือชุมชน โดยทำการวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมก่อนการดำเนินงานโครงการ นอกจากนี้ หากมีการดำเนินงานศึกษาและจัดทำแผนโดยละเอียดของโครงการ ควรมีการศึกษาเส้นทางท่องเที่ยวอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับถนนสายท่องเที่ยวนี้ เช่น เส้นทางบ้านแม้วขาว - แม่สา หรือเส้นทางสายศูนย์วิจัยเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันจะเป็นการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงใหม่ให้ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพยิ่ง ๆ ขึ้นไป

แต่ปัญหา 2 ด้านที่น่ากังวลมากในเวลานี้คือ 1.การจราจรถนนสายห้วยแก้วขึ้นดอยสุเทพค่อนข้างมีรถหนาแน่น โดยเฉพาะช่วงวันหยุดติดต่อกันหลายวัน หรือฤดูกาลท่องเที่ยว 2.เสียเวลา เกิดความล่าช้ากับนักท่องเที่ยวที่ต้องเดินทางไปเที่ยวชมที่อื่น ๆ เป็นการเสียโอกาสที่จะได้ไปเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่งในเชียงใหม่ ดังนั้นหากมีทางเลือกอื่นที่นักท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องเดินทางกลับทางเดิม สามารถลงจากดอยสุเทพในเส้นทางอื่น และได้มีโอกาสเยี่ยมชมสถานที่ใหม่ ๆ ได้อีก ก็จะเป็นการช่วยลดปัญหาการจราจรและสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่ง

ดังนั้น โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างถนนลาดยางเส้นทางดอยสุเทพ- ปุย - ห้วยตึงเฒ่า จึงเกิดขึ้น เพื่อเพิ่มเส้นทางการเดินรถที่จะออกจากวัดพระธาตุดอยสุเทพและพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ โดยไม่จำเป็นต้องย้อนกลับทางเดิม ซึ่งจะเป็นการลดปัญหาจราจรติดขัดลงได้ และเป็นการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเส้นทางใหม่ สำหรับผู้ที่ต้องการสัมผัสป่าเขาที่ไม่ไกลจากตัวเมือง และส่งเสริมการท่องเที่ยวห้วยตึงเฒ่า ซึ่งเป็นทะเลสาบขนาดใหญ่ที่เป็นแหล่งพักผ่อนที่สวยงามของจังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย

เปิด SWOT อะไรคือจุดแข็ง-จุดอ่อน?
อย่างไรก็ตาม การศึกษาดังกล่าวยังได้วิเคราะห์ความเป็นไปได้โครงการแบบ SWOT โดยระบุว่าจุดแข็ง โครงการนี้สอดคล้องกับจุดขายของจังหวัดเชียงใหม่ คือการท่องเที่ยวที่เน้นวัฒนธรรมและธรรม
ชาติอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่ เดินทางสะดวก มีสถานที่ท่องเที่ยว มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีเส้นทางดูนก และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และมีหมู่บ้านชาวเขา ที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์และสภาพความเป็นอยู่ดั้งเดิมไว้ นอกจากนี้ยังมีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และที่พักหลายจุด ไม่จำเป็นต้องก่อสร้างเพิ่มเติม และมีรถบริการรับส่งที่เพียงพอต่อปริมาณนักท่องเที่ยว

จุดอ่อน เส้นทางระหว่างยอดดอยปุย จนถึงห้วยตึงเฒ่า ยังไม่มีแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดใจ สภาพถนนค่อนข้างแคบ เป็นถนนดินลูกรัง ผิวถนนไม่เรียบ และลาดชัน ไม่มีแหล่งน้ำ หรือลำธารที่ให้ความชุ่มชื้น สภาพป่าเป็นป่าเบญจพรรณค่อนข้างแห้งแล้ง เสี่ยงต่อการเกิดไฟป่า ความหนาแน่นของประชากรมีน้อย ระบบสาธารณูปโภคยังไม่ครอบคลุมไปถึง ชุมชนในพื้นที่ยังขาดจิตสำนึก และความรู้ในการอนุรักษ์ป่า ผู้นำชุมชนไม่เข้มแข็ง เจ้าหน้าที่ของกรมอุทยานยังไม่มีศักยภาพที่จะดูแลป่าได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่พียงพอ นอกจากนี้อาจจะมีการปิดถนนในช่วงเวลาที่มีการรับเสด็จ ที่สำคัญแนวถนนในปัจจุบันไปทับซ้อนกับโครงการของกองทัพบก

โอกาส เหมาะสำหรับการพัฒนาให้เป็นถนนท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และส่งเสริมธุรกิจท่องเที่ยวเชิงวิชา
การ เป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่นักท่องเที่ยวและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวพร้อมทั้งเป็นการกระจายรายได้ไปสู่ชุมชน เส้นทางสายนี้สามารถพัฒนาให้เชื่อมต่อกับเส้นทางสายแม่ริม - สะเมิง และเป็นการสนับสนุนการท่องเที่ยวของห้วยตึงเฒ่า นอกจากนี้ยังอำนวยความสะดวกแก่ชาวบ้านในการลำเลียงสินค้าเกษตรกรรม และเจ้าหน้าที่ของหน่วยพิทักษ์ป่าในการปฏิบัติงาน ในส่วนของอุทยานฯ สามารถพัฒนาลานกางเต็นท์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและจุดบริการนักท่องเที่ยวได้

และอุปสรรค อาจจะก่อให้เกิดการทำลายระบบนิเวศน์ เกิดมลภาวะและพาหะของโรคที่แพร่ไปสู่พืช แมลง และสัตว์ป่าได้ มีการบุกรุกป่า และการโยกย้ายถิ่นฐานของทั้งคนในพื้นที่และคนเมือง มีการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อาจเป็นการทำลายวัฒนธรรมชุมชน ก่อให้เกิดความไม่ประทับใจแก่นักท่องเที่ยว ทั้งนี้พื้นที่ที่จะก่อสร้างอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติ อาจก่อให้เกิดความลำบากในช่วงเริ่มต้นก่อตั้งโครงการ และอาจเป็นการเพิ่มภาระให้เจ้าหน้าที่ เนื่องจากต้องมีการตั้งด่านเก็บค่าผ่านทางเพิ่มขึ้น เป็นต้น

เชื่อมสนามกอล์ฟ - โรงแรมหรู

สำหรับความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการพัฒนาห้วยตึงเฒ่า อนาคตกำลังจะมีโครงการสนามกอล์ฟเกิดขึ้นบนพื้นที่ 620 ไร่ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ของกองพันสัตว์ต่าง เป็นที่ว่างเปล่าอยู่ทางด้านขวาของบริเวณทางเข้าห้วยตึงเฒ่า นอกจากนั้นยังจะมีโครงการก่อสร้างโรงแรมระดับ 5 ดาวเกิดขึ้น รวมถึงโครงการพุทธมณฑล ที่จะเป็นสถานที่ทำพิธีของชาวเชียงใหม่ เมื่อมีพิธีทางพุทธศาสนาที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดเป็นโครงการขนาดใหญ่ที่จะเกิดขึ้นที่ห้วยตึงเฒ่าอีกไม่นาน
โครงการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวสายดอยสุเทพ - ปุย - ห้วยตึงเฒ่า เป็นอีกหนึ่งโครงการที่น่าสนใจ แต่อาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก หากCEO ระดับจังหวัดไม่มีการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ร่วมมือกันแบบบูรณาการ พร้อมกับศึกษาผลกระทบที่

ประชาไทรายงาน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net