Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

จากกรณีที่รายการ "บิ๊กบราเธอร์" รายการเรียลลิตี้โชว์ที่นำเสนอเรื่องราวของคน 12 คนซึ่งไม่เคย
รู้จักกันมาก่อน แล้วต้องมาใช้ชีวิตอยู่ในบ้านหลังเดียวกันเป็นเวลา 100 วัน โดยมีกล้องถ่ายทำติดตามชีวิตความเป็นอยู่ของผู้เข้าแข่งขันตลอดเวลา โดยออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์

ทั้งนี้มีผู้เข้าแข่งขัน 2 คน ที่ชอบพอและประกาศเป็นแฟนกันกลางรายการ ซึ่งผู้ชมบางส่วนมองว่าทั้งคู่มีพฤติกรรมแสดงออกไม่เหมาะสม "สวนดุสิตโพล" มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จึงได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่ติดตามชมรายการนี้ ที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวนทั้งสิ้น 1,195 คน (ชาย 555 คน 46.44% หญิง 640 คน 53.56%) โดยสำรวจระหว่างวันที่ 15 - 16 พ.ค. 2548 สรุปผลได้ดังนี้

1. เหตุผลที่ "ประชาชน" ติดตามชมรายการ "บิ๊กบราเธอร์"
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เห็นในโฆษณาเป็นรายการที่น่าสนใจ
น่าติดตาม ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินผู้เข้าแข่งขัน 26.13% 38.28% 32.21%

อันดับที่ 2 ต้องการดูความแปลกใหม่ของวงการโทรทัศน์เมืองไทย 30.63% 26.56% 28.59%

อันดับที่ 3 อยากทราบความเป็นอยู่ของสมาชิกในบ้านบิ๊กบราเธอร์
ที่มาจากแต่ละที่ว่าเป็นอย่างไร 19.82% 21.10% 20.46%

อันดับที่ 4 ต้องการทราบความแตกต่างระหว่างรายการเรียลลิตี้โชว์กับรายการอื่นๆ
23.42% 14.06% 18.74%

2. "ประชาชน" คิดอย่างไร? กับวัตถุประสงค์ของรายการนี้ที่มีการอยู่ร่วมกันเป็นเวลา 100 วัน เพื่อให้ได้ศึกษาชีวิตของกันและกัน
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เป็นสิ่งที่ดีที่ทำให้ได้เรียนรู้ชีวิตของแต่ละคน/ทำให้เราได้เห็นธรรมชาติที่ซ่อนอยู่ในตัว ซึ่งอาจจะเป็นนิสัยลึกๆของแต่ละคน 39.64% 45.31% 42.48%

อันดับที่ 2 เป็นเรื่องของการทดสอบสภาพจิตใจคนโดยมีตัวเงินเป็นผลตอบแทนจึงเหมือนเป็นการแสดงโชว์หรือสร้างภาพมากกว่าชีวิตจริงๆในสังคม 18.91% 24.22% 21.56%

อันดับที่ 3 ทำให้ได้เพื่อนใหม่และรู้จักการปรับตัวเข้าหาสังคมมากขึ้นทำให้ผู้แข่งขันเกิดความเข้มแข็งที่จะอยู่ในสังคมต่อไป 26.13% 13.28% 19.71%

อันดับที่ 4 เป็นรายการที่น่าเบื่อก็เหมือนเรียลลิตี้โชว์ทั่วไปไม่มีอะไรสร้างสรรค์ 15.32% 17.19% 16.25%

3. "จุดเด่น" ของรายการ บิ๊กบราเธอร์ ในทัศนะของ "ประชาชน"
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ความแปลกใหม่ที่ทางรายการนำเสนอไม่เหมือนกับรายการอื่นๆ
ซึ่งทำให้น่าสนใจและน่าติดตาม 42.32% 22.65% 32.49%

อันดับที่ 2 การทำกิจกรรมร่วมกัน/รู้จักการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน 25.22% 32.81% 29.01%

อันดับที่ 3 การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการโหวตคะแนนว่าใครจะอยู่ต่อหรือให้ออกจากบ้านบิ๊กบราเธอร์ 12.64% 28.13% 20.38%

อันดับที่ 4 ทุกคนที่มาอยู่ร่วมกันแสดงความเป็นตัวตนที่แท้จริงและพยายามที่จะทำให้ตัวเองเป็นจุดเด่นในกลุ่ม 19.82% 16.41% 18.12%

4. "จุดอ่อน" ของรายการ บิ๊กบราเธอร์ ในทัศนะของ "ประชาชน"
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 เหมือนว่าแต่ละคนเสแสร้ง เป็นการแสดง ไม่เป็นตัวเอง 33.33% 22.78% 28.06%

อันดับที่ 2 ผู้เข้าร่วมแข่งขันในรายการบางคนทำตัวไม่เหมาะสมเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีกับเยาวชน 16.22% 36.71% 26.46%

อันดับที่ 3 การที่สมาชิกแต่ละคนมีความขัดแย้งกันไม่เข้าใจกันเกิดการทะเลาะกัน
22.52% 27.85% 25.18%

อันดับที่ 4 ประชาชนบางคนไม่ได้ติดตามชมตลอดทางช่อง UBC
ก็จะเห็นเพียงเฉพาะบางตอนเท่านั้น 27.93% 12.66% 20.30%

5. ความคิดเห็นของ "ประชาชน" ที่มีต่อรายการ บิ๊กบราเธอร์
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่เหมาะสมเลยเพราะไม่ควรเผยแพร่ภาพต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมออกสู่สายตาประชาชน 26.13% 40.51% 33.32%

อันดับที่ 2 ถือเป็นสิทธิส่วนบุคคลและนั่นก็ถือเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตของเขา
32.43% 11.39% 21.91%

อันดับที่ 3 ทางทีมงานควรส่งตัวแทนออกมาชี้แจงเหตุที่เกิดขึ้นให้ชัดเจน
17.12% 26.58% 21.85%

อันดับที่ 4 อาจเป็นการสร้างกระแสเพื่อให้รายการดูน่าสนใจและมีผู้ที่อยากติดตามชมมากขึ้น
19.82% 13.92% 16.87%

อันดับที่ 5 เห็นใจและสงสารบุคคลที่ถูกอ้างถึงรวมถึงครอบครัวของคนทั้ง 2 ที่ตกเป็นข่าว 4.50% 7.60% 6.05%

6. "ประชาชน" คิดว่ารายการประเภทนี้เหมาะสมกับสังคมไทยหรือไม่?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 ไม่แน่ใจ 50.92% 50.78% 50.84%
เพราะขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละคน, สังคมไทยยังไม่เปิดกว้างพอ,ถ้าผู้เล่นไม่เล่นแบบเลยเถิดคงไม่เป็นอะไร ฯลฯ

อันดับที่ 2 ไม่เหมาะสม 23.63% 25.78% 24.71%
เพราะภาพที่ออกมาบางครั้งมันขัดกับวัฒนธรรมและสังคมไทยบ้านเรา,พฤติกรรมผู้ร่วมแข่งขันบางคนไม่เหมาะสม ฯลฯ

อันดับที่ 3 เหมาะสม 25.45% 23.44% 24.45%
เพราะสังคมไทยควรเปิดรับสิ่งใหม่ๆบ้าง,ประชาชนสามารถแยกแยะออกว่าอะไรควรอะไรไม่ควร ฯลฯ

7. มาตรการที่ "ประชาชน" คิดว่าควรจัดการกับรายการประเภทนี้อย่างไร?
ชาย หญิง ภาพรวม
อันดับที่ 1 มีการควบคุมภาพต่างๆที่ถ่ายทอดออกมาอย่างเหมาะสม
36.94% 38.89% 37.92%

อันดับที่ 2 ควรมีการตักเตือนผู้ที่มีการกระทำที่ไม่เหมาะสมให้อยู่ในกรอบหรือขอบเขต 20.72% 29.36% 25.04%

อันดับที่ 3 ควรมีการปรับรูปแบบรายการให้เหมาะสมกับสังคมไทย 26.12% 19.04% 22.58%

อันดับที่ 4 ควรมีกฏระเบียบให้ผู้ร่วมแข่งขันปฏิบัติอย่างเคร่งครัด 16.22% 12.71% 14.46%

สวนดุสิตโพลล์

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net