Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

รายงานพิเศษ

เพื่อนที่ดีหมายถึงคนที่พร้อมจะอยู่กับคุณเมื่อคุณต้องการ และเขาไม่เพียงช่วยให้คุณสบายใจเท่านั้น แต่เชื่อหรือไม่ว่าการที่มีเพื่อนดีๆอยู่ใกล้นั้นยังช่วยทำให้คุณมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้นด้วย

นี่ไม่ได้เป็นพูดที่เลื่อนลอยใดๆ นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลียกล่าวว่า คนในวัยหลังเกษียณอายุแล้วหากได้อยู่กับเพื่อนๆจะสามารถมีชีวิตได้ยืนยาวกว่าการที่มีสมาชิกในครอบครัวมาอยู่ด้วยเสียอีก

ทีมวิจัยจากออสเตรเลียได้เข้ามาศึกษาว่า ปัจจัยทางด้านสังคม สุขภาพและรูปแบบการใช้ชีวิต หรือไลฟ์สไตล์นั้นมีผลกระทบต่อการมีชีวิตอยู่อย่างไรบ้างในคนอายุ 70 ปีขึ้นไปกว่า 1,500คน โดยรายงานการวิจัยนี้ปรากฏอยู่ในวารสารสุขภาพชุมชนและระบาดวิทยา ทั้งนี้โดยได้ข้อมูลมาจากศึกษาแบบต่อเนื่องเป็นเวลานานเรื่องพัฒนาการของกลุ่มคนสูงอายุออสเตรเลีย ( Australian Longitudinal Study of Aging - ALSA) ที่เริ่มทำการศึกษามาตั้งแต่ปี 1992 ที่ อเดอเลด เซาท์ ออสเตรเลีย

ในบางส่วนของการศึกษานั้นคนอยู่ในกลุ่มเป้าหมายการวิจัยจะถูกตั้งคำถามว่า พวกเขาได้ติดต่อทั้งด้วยตัวเองและโดยทางโทรศัพท์กับเครือข่ายความสัมพันธ์ในสังคมของเขามาแค่ไหน ทั้งนี้โดยรวมไปถึงการติดต่อกับลูกๆ ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ และเพื่อนสนิท

ทีมได้เฝ้าดูอัตราการมีชีวิตอยู่ของคนเหล่านี้มานานเป็นทศวรรษ ตรวจสอบในรอบสี่ปี และต่อ
จากนั้นก็ทุกๆ 3 ปี แล้วก็พบว่าการได้ติดต่อกับลูกและญาติๆมีผลต่อการมีชีวิตอยู่น้อยมากในรอบ 10 ปี

อย่างไรก็ตาม ในช่วงท้ายๆของการศึกษา พบว่า การมีเครือข่ายเพื่อนและคนคุ้นเคยที่ยังคงเหนียวแน่นกลับมีผลในทางสถิติว่าทำให้คนเหล่านั้นมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้นกว่าคนที่มีเพื่อนน้อย

เรื่องนี้ค่อนข้างชัดเจนถึงแม้ว่า คนบางคนอาจต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อย่างเช่น การตายของคู่ครองหรือ สมาชิกในครอบครัวที่สนิทกัน และการย้ายที่อยู่ใหม่ของเพื่อนไปยังอีกฟากหนึ่งของประเทศ

ทีมนักวิจัยที่นำโดย ลินน์ ไจลส์ แห่ง มหาวิทยาลัย ฟลินเดอร์ ในอเดอเลด กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นเพราะความจริงที่ว่า คนสามารถเลือกเพื่อนได้ และต่อต้านสมาชิกในครอบครัว

ในรายงานที่ เขียนลงในวารสารสุขภาพชุมชนและระบาดวิทยา บอกว่า การมีความระมัดระวังในความปฏิสัมพันธ์ที่มีกับเพื่อนๆและเพื่อนสนิทมากที่มีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับคนในครอบครัว กับลูกๆและญาติๆ ต่างมีผลกระทบเชิงบวกต่อการมีชีวิตอยู่

นักวิจัยยังบอกด้วยว่า เพื่อนอาจช่วยกระตุ้นให้คนเหล่านั้นได้ดูแลสุขภาพ และช่วยลดความซึมเศร้าและความรู้สึกกังวลใจได้ในยามที่อยู่ในภาวะยากลำบาก

ในหน้าบรรณาธิการในวารสารเล่มเดียวกัน แอนโทนี จอร์ม จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียกล่าวว่า " ขณะนี้เรากำลังให้ความเห็นกันถึงจุดที่ว่าทดลองเรื่องนี้สามารถจะรับรองได้ในขอบเขตขนาดใหญ่"

ระบบความเป็นเพื่อนที่ได้พัฒนาขึ้นและการทดลองกับคนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าและสามารถเป็นต้นแบบให้กับกิจกรรมที่มีศักยภาพ

"ถ้าการทดลองนี้แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จว่า เครือข่ายทางสังคมสามารถปรับเข้ากับประโยชน์ของสุขภาพ นี่ก็จะเป็นการสร้างเป็นฐานเพื่อการส่งเสริมสุขภาพให้ขยายออกไปอีกได้ ด้วยเป้า หมายที่จะเพิ่มเครือข่ายมิตรภาพให้มากขึ้นในประชากรทั้งหมด

ดร.ลอร์นา เลย์เวิร์ด ผู้จัดการวิจัยเพื่อช่วยผู้สูงอายุ กล่าวว่า " เมื่อเราแก่ตัวลงไปเราอาจจะสูญเสียเพื่อนบางคนไป ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนใหม่อยู่เสมอ

"ที่น่าสนใจก็คือ เรารู้ว่าคุณภาพชีวิตทางสังคมของผู้หญิงโดยปกติแล้วจะพัฒนาขึ้นด้วยวัย ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า เราได้ประโยชน์จากการพูดคุยและรู้สึกมีคุณค่าในหมู่เพื่อน"

ดร.เลย์เวิร์ด ยังกล่าวด้วยว่า ที่สำคัญคือ การสำหรับการสมาคม เราจำเป็นต้องรวมเอาผู้สูงอายุให้มากขึ้นและกระตุ้นให้ชุมชนสร้างสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรที่สามารถทำให้เครือข่ายสังคมเบ่งบาน

"เรารู้ว่าสำหรับผู้สูงอายุหลายท่านๆ การเดินทางอาจเป็นอุปสรรคในการออกไปข้างนอกเพื่อจะไปเยี่ยมเพื่อน ดังนั้น การอาสาที่จะขับรถไปส่งเพื่อนบ้านสูงอายุอาจมีความหมายมากกว่าที่คิดเสียอีก"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net