Skip to main content
sharethis

เนื่องในวันนี้ 26 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันสากลแห่งสหประชาชาติเพื่อช่วยเหลือเหยื่อที่ถูกกระทำทรมาน แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนล เรียกร้องให้ทุกประเทศได้ยุติและขจัดการกระทำทรมาน และการปฏิบัติหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ 


วันนี้เป็นวันครบรอบ 21 ปีของอนุสัญญาว่าด้วยการต่อต้านการทรมาน และการปฏิบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ได้มีผลบังคับใช้ โดยที่ก่อนหน้านี้มีการลงนาม และให้สัตยาบันเมื่อปี พ.ศ. 2527 หลังจากที่องค์การแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ร่วมกับองค์กรอื่นๆได้ทำการรณรงค์และผลักดันมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ทั้งนี้ประเทศส่วนใหญ่ในโลกทั้งหมด 145 ประเทศได้ให้สัตยาบัน และอีก 8 ประเทศจะได้ลงนามในเร็ววันนี้ การรับรองอนุสัญญาฉบับนี้มีส่วนในการสนับสนุนสนธิสัญญาของภูมิภาคที่ห้ามการกระทำทรมาน การทรมานยังได้ถูกนับว่าเป็นอาชญากรรมสงคราม รวมทั้งเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติตามที่ระบุไว้ในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศอีกด้วย


คณะกรรมการต่อต้านการทรมานได้ตรวจสอบรายงานของประเทศภาคีสมาชิกในการปฏิบัติตามอนุสัญญา ประมวลข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้ และให้ข้อเสนอแนะต่อประเทศต่างๆในการป้องกันและลงโทษการทรมาน รวมทั้งให้การชดเชยแก่เหยื่อ นอกจากนี้ คณะกรรมการยังมีการตรวจสอบตามข้อร้องเรียนของเหยื่อที่ถูกทรมานด้วย เมื่อปีที่แล้วคณะกรรมการได้ออกความเห็นทั่วไปเกี่ยวกับมาตรา 2 ของอนุสัญญาซึ่งประเทศภาคี ควรจะ "กระทำสิ่งที่จะเป็นการห้ามมิให้มีการทรมานทั้งในทางนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ หรือการกระทำอื่นๆที่จะต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันไม่ให้มีการทรมานเกิดขึ้น" มาตรา 2 ยังได้ห้ามไม่ให้มีการอ้างความชอบธรรมในการทรมานไม่ว่าในสถานการณ์ใดๆก็ตาม คณะกรรมการกล่าวว่ามีความ "กังวลอย่างยิ่ง และปฏิเสธอย่างเต็มที่ในการที่ประเทศต่างๆพยายามจะอ้างความชอบธรรมในการทรมานและปฏิบัติอย่างเลวร้ายเพื่อปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยของสาธารณะ หรือในสถานการณ์ภาวะฉุกเฉิน หรือสถานการณ์อื่นๆ ในทางเดียวกันคณะกรรมการก็คัดค้านข้ออ้างทางศาสนาหรือขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นการละเมิดข้อห้ามอย่างเด็ดขาดนี้เช่นกัน" คณะกรรมการยังเสริมอีกว่า "การนิรโทษกรรมหรือการดำเนินการใดๆที่เป็นการแสดงถึงความไม่ยินยอมที่จะให้มีการนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และเลี่ยงการลงโทษผู้กระทำการทรมานหรือปฏิบัติอย่างเลวร้าย เท่ากับเป็นการละเมิดหลักการสากลแห่งสิทธิมนุษยชนที่ไม่อาจเพิกถอนได้"


วันที่ 22 มิถุนายน 2549 ได้มีผลบังคับใช้พิธีสารรับเลือกของอนุสัญญาฉบับนี้ซึ่งผ่านการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติไปเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2545 จนบัดนี้ 33 ประเทศได้ร่วมลงนาม และ 35 ประเทศได้ให้สัตยาบันหรือยอมรับในพิธีสารรับเลือกนี้ พิธีสารนี้ให้อำนาจแก่ผู้เชี่ยวชาญอิสระจากนานาชาติในการเยี่ยมเยียนสถานที่คุมขัง ค่ายกักกันในประเทศภาคีสมาชิกได้ และเรียกร้องประเทศภาคีสมาชิกให้จัดตั้งกลไกระดับชาติเพื่อให้มีการเยี่ยมเยียนสถานที่คุมขัง ค่ายกักกัน และร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญนานาชาติ ในปีที่ผ่านมาอนุกรรมการแห่งสหประชาชาติเรื่องการป้องกันการทรมาน และการปฏิบัติ หรือลงโทษอย่างโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีได้มีการเยี่ยมเยียนประเทศภาคีสมาชิกเป็นครั้งแรก และได้ยื่นรายงานฉบับแรกให้แก่คณะกรรมการต่อต้านการทรมานแห่งสหประชาชาติด้วย


องค์การสหประชาชาติได้แต่งตั้งผู้ตรวจการพิเศษเรื่องการทรมานให้จัดทำรายงานเรื่องการทรมานและข้อเสนอแนะต่อทุกประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคีสมาชิกหรือไม่ก็ตาม คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแสดงความยินดีต่อรายงานและข้อเสนอแนะฉบับล่าสุดของผู้ตรวจการพิเศษ และได้มอบหมายภารกิจให้ผู้ตรวจการพิเศษนี้ทำงานต่อไปอีกสามปี


ความพยายามที่จะยุติโลกที่มีการทรมานและการปฏิบัติอย่างเลวร้ายยังคงเผชิญกับความท้าทายอันหนักหน่วง ความท้าทายเหล่านี้รวมถึงการทรมานหรือการปฏิบัติอย่างเลวร้ายแก่ผู้ถูกคุมขัง นักโทษ และบุคคลอื่นๆอย่างต่อเนื่อง ในสถานีตำรวจ เรือนจำ สถานกักกันของทหาร หน่วยงานสอบสวน และสถานที่อื่นทั่วโลกนั้น เจ้าหน้าที่ได้มีการใช้อำนาจในทางมิชอบแก่ผู้ที่ไร้หนทางสู้ ฉกฉวยเสรีภาพ และสร้างความเจ็บปวดแก่พวกเขา หรือไม่ก็ปล่อยให้ผู้อื่นสร้างความเจ็บปวดแก่พวกเขาโดยไม่มีการเอาผิดใดๆทางมิชอบแก่ผู้ที่มี่มิชอบแก่ผู้ที่มี่นักโทษ และบุคคลอื่นๆอย่างต่อเนื่อง


รายงานประจำปีของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ปีแล้วปีเล่าได้แสดงให้เห็นถึงประเทศต่าง ๆ หลายสิบประเทศที่ยังมีการทรมานหรือปฏิบัติอย่างเลวร้ายต่อผู้ที่อยู่ใต้อำนาจตน โดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้ประมวลรายงานข้อมูลกรณีการทรมาน และการปฏิบัติที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีในกว่า 81 ประเทศในปี พ.ศ. 2550


ความพยายามในการเน้นย้ำเรื่องการห้ามการทรมานและปฏิบัติอย่างย่ำแย่โดยเด็ดขาดนั้นยังคงถูกท้าทายอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะโดยภาครัฐ กลุ่มต่างๆ และแม้แต่นักวิชาการที่พยายามจะอ้างว่าไม่ควรห้ามการทรมานทั้งหมด หรือไม่ควรรวมไปถึงการปฏิบัติอย่างเลวร้าย หรือว่าให้มีการประนีประนอมเรื่องการห้ามโดยเด็ดขาด และให้มีการงดเว้นโทษแก่ผู้กระทำการทรมาน อย่างไรก็ดี คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนก็ได้ปฏิเสธข้อเสนอนี้เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2551 แล้ว โดยประณามว่า



"การทรมานและการปฏิบัติหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีใดๆก็ตาม ที่ยังและจะยังคงเป็นที่ห้ามปรามไม่ว่าเมื่อใด และสถานที่ใด จะไม่มีทางเป็นความชอบธรรมได้ และขอเรียกร้องให้รัฐบาลทุกประเทศกระทำตามข้อห้ามไม่ให้มีการทรมาน และการกระทำหรือการลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม และย่ำยีศักดิ์ศรีโดยเด็ดขาด"


ประเทศต่าง ๆ ต้องดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศอย่างจริงจัง ประเทศที่ยังไม่มีการให้สัตยาบันในอนุสัญญาต้องให้สัตยาบัน ประเทศที่ได้ตั้งข้อสงวนซึ่งทำให้การปกป้องคุ้มครองภายใต้อนุสัญญาด้อยลงต้องถอนข้อสงวนเหล่านั้น ประเทศที่ไม่อนุญาตให้มีการอุทธรณ์โดยปัจเจกบุคคลต่อคณะกรรมการต่อต้านการทรมานต้องอนุญาตให้มีการยื่นอุทธรณ์ได้ ประเทศที่ยังไม่มีการให้สัตยาบันพิธีสารรับเลือกต้องให้สัตยาบัน ประเทศต่างๆต้องให้การสนับสนุนแก่กองทุนอาสาสมัครแห่งองค์การสหประชาชาติเพื่อเหยื่อของการทรมานด้วย


ในระดับชาตินั้น ประเทศต่างๆต้องแก้ไขกฎหมายที่ยังมีข้อบกพร่อง และออกกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ ให้ยกเลิกกฎหมายหรือข้อปฏิบัติที่ก่อให้เกิดการงดเว้นโทษแก่ผู้กระทำผิดโดยการทรมานหรือปฏิบัติอย่างเลวร้าย ประเทศต่าง ๆ ต้องจัดให้มีการอบรม ก่อตั้งหน่วยงานพิเศษของตำรวจ และพนักงานอัยการเพื่อตรวจสอบรายงานเรื่องการทรมาน และดำเนินคดีกับผู้ต้องหา โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศและระบบยุติธรรมสากล หรือส่งตัวผู้ต้องหาข้ามแดนโดยที่ต้องมีการพิจารณาคดีอย่างยุติธรรม ปราศจากการลงโทษประหารชีวิต หรือเสี่ยงต่อการถูกทรมานหรือปฏิบัติอย่างเลวร้าย ประเทศต่างๆต้องไม่ส่งตัวผู้ใดก็ตามไปยังที่ใดก็ตามที่อาจเสี่ยงต่อการถูกทรมานหรือปฏิบัติอย่างเลวร้าย ประเทศต่าง ๆ ต้องจัดตั้งกลไกระดับชาติที่มีความเป็นอิสระ เชี่ยวชาญ และมีทรัพยากรอย่างพอเพียงซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของพิธีสารรับเลือกด้วย


ผู้กระทำการทรมานต้องไม่ถูกปล่อยตัวให้รอดพ้นจากอาชญากรรมที่ตนก่อขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้กระทำผิดเอง เป็นผู้บังคับบัญชา หรือผู้บัญชาการทหาร หรือผู้นำประเทศก็ตาม และต้องไม่ปล่อยให้เหยื่อต้องทนทุกข์ทรมาน จะต้องยุติการทรมาน จะต้องลงโทษผู้กระทำการทรมาน และรับรองสิทธิของเหยื่อในการได้รับการชดเชยจากความเสียหายด้วย


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net