Skip to main content
sharethis

นักวิชาการไทย กัมพูชา และตะวันตก ซึ่งทำการศึกษาวิจัยด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมลงนามในจดหมายเปิดผนึกยื่น 4 ข้อเสนอต่อรัฐบาล 2 ประเทศร่วมมือปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และภราดรภาพ รวมทั้งสนับสนุนการศึกษาเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่างกัน ข้อเสนอเฉพาะหน้าคือรัฐบาลทั้ง 2 ประเทศต้องเคารพคำตัดสินของศาลโลก และเปิดโอกาสให้องค์กรระดับอาเซียนเข้าร่วมในการแก้ไขปัญหา


 


ทั้งนี้จดหมายเปิดผนึกดังกล่าวเขียนโดยใช้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ดังนี้


 







 


คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


กรุงเทพฯ สยาม/ประเทศไทย


 


กรกฎาคม 2551


 


เรื่อง        จุดยืนทางวิชาการต่อกรณี "ปราสาทพระวิหาร"


เรียน       คณาจารย์ ผู้ปกครอง สื่อมวลชน นักศึกษา และพี่น้องประชาชนทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชา


 


อนุสนธิจากการปะทุขึ้นของความขัดแย้งในกรณีการขอจดทะเบียน "ปราสาทพระวิหาร" เป็นมรดกโลกโดยทางการประเทศกัมพูชา ซึ่งนำไปสู่การประท้วงคัดค้านจากกลุ่มการเมืองและประชาชนไทย กระทั่งนำไปสู่การสร้างอารมณ์ความรู้สึกอันรุนแรงขึ้นทั่วไปในหมู่ประชาชนไทยวงการต่างๆ


 


นักวิชาการด้านอุษาคเนย์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นกลุ่มของอาจารย์และนักวิชาการ ที่ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนและทำงานศึกษาวิจัย เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์ เห็นว่าประเด็นที่กลุ่มการเมืองและประชาชน ที่ต่อต้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชานั้น เกี่ยวพันกับความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของภูมิภาคสุวรรณภูมินี้ ความรับรู้ในข้อเท็จจริงและการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทั้งหลายนั้นควรมีการกระทำอย่างเคารพต่อความจริง และเพื่อให้ประชาชนส่วนใหญ่และสังคมได้มีโอกาสศึกษา และใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจของตนเอง ว่าจะสนับสนุนนโยบายและปฏิบัติการอะไร โดยไม่ตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองของกลุ่มการเมืองใดๆ   ด้วยเหตุผลดังกล่าว นักวิชาการด้านอุษาคเนย์ จึงตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องแสดงจุดยืนทางวิชาการ 4 ข้อ ดังนี้


 


1. ต่อกรณีของ "ปราสาทพระวิหาร" นั้น นักวิชาการด้านอุษาคเนย์ เคารพต่อคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ.2505 กล่าวคืออำนาจอธิปไตยเหนือ "ปราสาทพระวิหาร" เป็นของประเทศกัมพูชา


 


2. นักวิชาการด้านอุษาคเนย์ สนับสนุนการศึกษาประวัติศาสตร์ของภูมิภาคสุวรรณภูมิอย่างวิพากษ์และรอบด้านเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง แต่ไม่ใช้องค์ความรู้ทางวิชาการเพื่อเป็นไปในการปลุกปั่นสร้างกระแส และสร้างความชิงชังรังเกียจต่อประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งก่อให้เกิดความดูถูกทางเชื้อชาติระหว่างกันขึ้นอันเป็นมรดกของลัทธิอาณานิคมตะวันตก ทั้งอาจเป็นชนวนของความรุนแรงกระทั่งสงครามระหว่างรัฐชาติได้


 


3. นักวิชาการด้านอุษาคเนย์ เห็นด้วยและสนับสนุน ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของสุวรรณภูมิ ว่ามีมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกัน มาอย่างยาวนาน จึงควรร่วมมือกันสร้างและปกป้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และภราดรภาพของประเทศและประชาชนที่เป็นเพื่อนบ้านกันในสังคมโลกาภิวัตน์ที่ไร้พรมแดนยิ่งขึ้นทุกวัน


 


4.  นักวิชาการด้านอุษาคเนย์ ขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมเจรจากัน เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาความวุ่นวายที่เกิดขึ้น โดยขอเสนอให้ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ องค์กรอาเซียน เข้ามาเป็นองค์กรกลางในการไกล่เกลี่ยและสร้างหนทางในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาท ดังกล่าว


จึงเรียนมาเพื่อแจ้งให้คณาจารย์ ผู้ปกครอง สื่อมวลชน นักศึกษา และพี่น้องประชาชนทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชา ได้ทราบจุดยืนทางวิชาการของ นักวิชาการด้านอุษาคเนย์ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ปัญหาดังกล่าวจะยุติลงได้ เพื่อการอยู่ร่วมกันของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอย่าง สงบสันติและเคารพซึ่งกันและกัน


 


 


 


ขอแสดงความนับถือ


 


ลงชื่อ (รายนามแนบท้าย)


 


An Open Letter from Scholars of Southeast Asian Studies


 


Concerning the Preah Vihear Case


 


 Faculty of Liberal Arts,


 


Thammasat University


 


Siam/Thailand


 


July 2008


 


 


 


To Teachers, Parents, Mass Media, Students, and the People of Thailand and Cambodia,


 


The recent border dispute over the "Preah Vihear" World Heritage site has led to a series of highly emotional protests from some organizations and individuals in Thailand, leading to a situation of unwarranted hostility among them and between people of the two countries.


 


Scholars of Southeast Asian Studies, whose purpose is to contribute to knowledge about the Southeast Asian region, wish to emphasize that the root of this border dispute is in the historical and cultural legacies of Thailand and Cambodia. Facts and interpretations of historical evidences should be conducted with respect to the truth, and not to serve partsan political interests. Accordingly, we would like to propose the following:


 


1. In the case of "Preah Vihear", we fully support the ruling of the International Court of Justice on 15 June 1962 at The Hague, Netherlands; that the sovereignty over the "Preah Vihear" belongs to Cambodia.


 


2. We support and promote the vigorous debates over contentious issues, providing that the knowledge should not be used to cause prejudice and antagonism between neighboring countries that may even lead to warfare.


 


3. We recognize that various countries in the region share a common history and culture. These commonalities should serve as the foundation of international cooperation to protect human dignity and for fraternity among nations, particularly in the face of increasing challenges to all countries in the region posed by globalization.


 


4. We recommend that the necessary steps should be taken to resolve this dispute through organizational mediation. The Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) should initiate this process to achieve this goal.


 


We urge teachers, parents, mass media, students, and the people of Thailand and Cambodia to call for a peaceful solution to this dispute, based on respect for the integrity of all Southeast Asian nations.


 


 Yours sincerely,


 


Signed (enclosed)


 


 


 


รายชื่อผู้ร่วมลงนาม/The Signed


 


ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ


อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


Dr.Charnvit Kasetsiri


Former Rector, Thammasat University


 


รองศาสตราจารย์ ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ


คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


Associate Professor Dr.Thanet Aphornsuvan


Faculty of Liberal Arts, Thammasat University


 


ศาสตราจารย์ ดร. ธงชัย วินิจกุล


มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน


Professor Dr.Thongchai Winichakul


Southeast Asian Studies Program, University of Wisconsin Madison


 


 ดร.ศรีประภา เพชรมีศรี


โครงการสิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล


Dr.Sriprapha Petcharamesree


Office of Human Rights Studies Program, Mahidol University


 


อาจารย์กฤษณา พรพิบูลย์


นักวิชาการ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา


Miss Kridsanah Pornpibul


Scholar, Southeast Asian Studies


 


 ดร. เคย์ โมห์แมน


นักวิชาการ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา


Dr.Kay Mohlman


Scholar, Southeast Asian Studies


 


 อาจารย์อัครพงษ์ ค่ำคูณ


โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา


Mr.Akkharaphong Khamkhun


Southeast Asian Studies Program


 


 อาจารย์เม็ง วง


นักวิชาการ สถาบันภาษาแห่งชาติ ราชบัณฑิตสถานแห่งกัมพูชา


Mr.Meng Vong


Institute of National Language, Royal Academy of Cambodia


 


อาจารย์ สมฤทธิ์ ลือชัย


นักวิชาการ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา


Mr.Somrit Luechai


Scholar, Southeast Asian Studies


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net