Skip to main content
sharethis


วันที่ 29 ก.ค.51  เมื่อเวลา 8.00.เครือข่ายพันธมิตรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เดินทางมารวมตัวกันกว่า 1000 คน เพื่อมายื่นหนังสือคัดค้านให้หยุดแผนการพัฒนาโรงไฟฟ้าถ่านหินและแผนการพัฒนาอื่นๆ ที่จะมีขึ้นในหลายอำเภอของจังหวัดประจวบฯ ต่อนางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เนื่องจากทางการนิคมอุตสาหกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาในจังหวัดประจวบฯ


นางกรณ์อุมา พงษ์น้อย หนึ่งในแกนนำบ้านบ่อนอก กล่าวว่า นอกจากเครือข่ายพันธมิตรพิทักษ์สิ่งแวดล้อม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จะขอเข้าพบและเจรจากับผู้ว่าการนิคมฯ แล้ว ยังจะไปเข้าพบ พล...ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมอีกด้วย เนื่องจาก พล... ประชา ได้ให้สัมภาษณ์กรณีนักลงทุนจากญี่ปุ่นมีความสนใจลงทุนอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในไทย และท่านเห็นว่าควรเร่งผลักดันการลงทุน และพื้นที่ที่เหมาะสมคือจังหวัดประจวบฯ จึงต้องการคำชี้แจง


หลังจากนั้นเวลาประมาณ 9.00.ทางการนิคมฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาพูดคุย และยื่นข้อเสนอให้ชาวบ้านส่งตัวแทนเข้าไปพูดคุยจำนวน 3 คน แต่ชาวบ้านไม่ยอมเพราะต้องการให้ผู้ว่าการนิคมฯ เดินออกมาคุยกับชาวบ้าน "ผู้เดือดร้อนไม่ได้มีแค่ 3คน แต่มีมากเป็นพันๆ คน" นางกรณ์อุมา พงษ์น้อย กล่าว


เวลาประมาณ 9.30. นางมณฑา ประณุทนรพาล ผู้ว่าการนิคมฯ ก็ยอมออกมาเจรจา รับทราบปัญหาของชาวบ้านหน้าการนิคมอุตสาหกรรมและกล่าวขอโทษชาวบ้านที่ออกมาช้าเนื่องจากตนกำลังโทรศัพท์คุยกับ พล..อ ประชา พรหมนอก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพราะในแถลงการณ์ของชาวบ้านมีชื่อ พล..อ ประชา ร่วมอยู่ด้วย พล..อ ประชา ก็ยินดีที่จะคุยกับชาวบ้านซึ่งชาวบ้านไม่จำเป็นต้องไปกระทรวงอุตสาหกรรมเนื่องจากชาวบ้านมีจำนวนมาก ท่านยินดีและพร้อมที่จะมาคุยด้วยที่นี่ นอกจากนี้ตนก็เพิ่งมารับตำแหน่ง  ผู้ว่าการนิคมฯกล่าว


หลังจากนั้นตัวแทนของกลุ่มเครือข่ายพันธมิตรพิทักษ์ฯ โดยมีนายปิยะ เทศแย้ม กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นกุยบุรี-สามร้อยยอด นายสุพจน์ ส่งเสียง กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง นางกรณ์อุมา พงษ์น้อย กลุ่มอนุรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก-กุยบุรี และนางนางจินตนา แก้วขาว ประธานกลุ่มอนุรักษ์บ้านกรูด ร่วมกันชี้แจงปัญหาของชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนและคัดค้านแผนการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดประจวบฯ แก่ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรม นางจินตนา แก้วขาว ชี้แจงว่า ทางกลุ่มชาวบ้านรู้ดีว่าตอนนี้แผนการพัฒนากำลังจะมีขึ้นแต่ยังไม่ลงไปอย่างเต็มรูปแบบในจังหวัดประจวบฯ เราจึงต้องการมาบอกกับทางผู้ว่าการนิคมฯ ว่าเราไม่ต้องการแผนดังกล่าว และข้อให้ผู้ว่าเซ็นหนังสือว่าผู้ว่าไม่เห็นด้วยกับแผนดังกล่าวเช่นกัน เพราะมันกระทบต่อวิถีชาวบ้าน สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ของจังหวัดประจวบฯ รวมถึงเรื่อง พ... เวนคืนที่ดิน ซึ่งชาวบ้านกลัวว่า ทางการนิคมฯ จะใช้กฎหมายนี้ในพื้นที่จังหวัดประจวบฯ


นางมณฑา จึงกล่าวชี้แจงว่าตนเพิ่งมารับตำแหน่งและเรื่องแผนการพัฒนาก็ยังมาไม่ถึง ส่วนในเรื่อง พ... เวนคืนที่ดินนั้น ถ้าประชาชนได้รับเดือนร้อนก็ไม่สามารถกระทำได้อยู่แล้ว และหลังจากนั้นนางจิตนา นอกจากนี้นางมณฑายังตกลงที่จะลงนามหนังสือรับรองว่าในขณะที่ผู้ว่าดำรงตำแหน่งอยู่จะไม่ผลักดันแผนพัฒนาดังกล่าว


หลังจากนั้น พล...ประชา พรหมนอก ได้มาตั้งโต๊ะพูดคุยกันหน้านิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ประมาณ 15 นาที่เพื่อกรณีการให้สัมภาษณ์ลงในหนังสือพิมพ์เรื่องการพัฒนาเหล็กต้นน้ำ จังหวัดประจวบพร้อมทั้งรับรองว่าจะไม่มีการผลักดันโครงการดังกล่าว โดยพล...ประชา ชี้แจงว่าตนให้สัมภาษณ์ว่าจังหวัดประจวบฯ เหมาะสมต่อการลงทุนจริงแต่ไม่ได้บอกว่าเป็นพื้นที่ใดในจังหวัดประจวบ ส่วนในเรื่องการผลัดดันไม่ให้เกิดโครงการพัฒนานั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับตนเพียงคนเดียว และตนก็พร้อมที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับเดือนร้อนอยู่แล้ว และถ้าครั้งต่อไปพี่น้องประชาชนเดือนร้อนเรื่องอะไรก็ให้ติดต่อมาตนโดยตรง และตนจะไปพบพี่น้องด้วยตัวเอง


อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านจะไปที่ สผ. เพื่อยื่นหนังสือขอเข้าร่วมประชุมรับทราบแผนและนโยบายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดประจวบฯ สำหรับการประชุมครั้งต่อไป


 


 






จดหมายยื่นถึงผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย


 


เครือข่ายพันธมิตรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์


29 ตุลาคม 2551


เรื่อง คัดค้านแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันตก (อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ)


เรียน ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย


            ตามที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้เร่งผลักดันแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันตก (อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ โรงถลุงเหล็กบางสะพานและโรงถลุงเหล็กกุยบุรี) ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยจะมีการอพยพประชาชนแต่ละพื้นที่ ประมาณ 1,000 ครอบครัว เพื่อทำการเวนคืนที่ดิน ตาม พ... นิคมอุตสาหกรรม


            เครือข่ายเครือข่ายพันธมิตรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งติดตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ (โรงถลุงเหล็กบางสะพานและโรงถลุงเหล็กกุยบุรี) มาอย่างต่อเนื่อง และทำการรณรงค์คัดค้านโครงการดังกล่าวตลอดมา ขอเรียนให้ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทราบว่า ชุมชนในพื้นที่โครงการและชุมชนใกล้เคียงพื้นที่โครงการ ตลอดจนเครือข่ายพันธมิตรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมประจวบคีรีขันธ์ ทั้งหมด จะทำการ


คัดค้านโครงการดังกล่าวอย่างถึงที่สุด และจะไม่ยินยอมให้โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นได้ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นอันขาด


            จึงขอให้ท่านได้เลิกล้มความตั้งใจในการเวนคืนที่ดิน เพื่อตอบสนองต่อโรงถลุงเหล็กและนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลักดันพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันตก (โรงถลุงเหล็กบางสะพานและโรงถลุงเหล็กกุยบุรี) ทราบถึงเจตนารมณ์ของเครือข่ายพันธมิตรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วย


ขอแสดงความนับถือ


กลุ่มท้องถิ่นกุยบุรี-สามร้อยยอด       กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด


กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก-กุยบุรี กลุ่มอนุรักษ์แม่พึง กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก กลุ่มอนุรักษ์บ้านเกิดอ่าวน้อย


 


 


 


กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง


o หมู่ที่ ๑ ต.แม่รำพึง


.บางสะพาน จ.ประจวบฯ


 


 


 






                                                     


วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๑


เรื่อง      ของคัดค้านการที่ บริษัทสหวิริยา เข้าร่วมเป็นอุตสาหกรรมและขอให้ยกเลิกการกำหนด


            ขยายพื้นที่ใน จ.ประจวบคีรีขันธ์เป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม


เรียน     ประธานกรรมการ คณะกรรมการ กนอ. ผู้ว่าการนิคมนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย


            จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๗ (๒๕๓๔-๒๕๓๙) ที่ได้มีการระบุไว้ว่าให้มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ และจำเป็นต้องเร่งรัดให้มีอุตสาหกรรมนี้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยต้องมีการส่งเสริมให้เอกชนดำเนินการลงทุนผลิตเหล็กขั้นต้น โดยรัฐจะให้การสนับสนุนในด้านกำหนดพื้นที่ตั้ง และประสานงานจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกและปัจจัยสนับสนุนต่างๆ


            ส่งผลให้กลุ่มทุนที่เข้ามาลงทุนอุตสาหกรรมเหล็กกลางน้ำ และปลายน้ำ ในพื้นที่ ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๓ ได้มีการวางแผนการก่อสร้างโครงการเหล็กต้นน้ำซึ่งจะขยายออกไปจากโครงการเดิม และมีความพยายามผลักดันให้มีการประกาศแนวเขตพื้นที่อุตสาหกรรมเข้าไปเป็นนิคมอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร  โดยบริษัทได้มีการเตรียมการในการจัดหาพื้นที่ด้วยตัวเองอย่างไม่เหมาะสม และผลักดันให้เป็นพื้นที่สีม่วงอย่างไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่จริง


            เราฐานะที่เป็นประชาชนในพื้นที่และเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงหากมีการประกาศให้ อ.บางสะพาน เป็นพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม จึงขอนำเสนอข้อมูลต่อหน่วยงานของท่านซึ่งเป็นหน่วยงานโดยตรงที่ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาและจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม โดยเริ่มจากการจัดหาที่ดินที่เหมาะสมเพื่อจัดตั้งหรือขยายนิคมอุตสาหกรรมหรือเพื่อดำเนินธุรกิจอื่นที่เป็นประโยชน์ดำเนินการปรับปรุงที่ดินเพื่อให้บริการ ตลอดจนจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานรวมทั้งสาธารณูปโภคต่างๆให้แก่ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมพื้นที่เตนิคมอุตสาหกรรม


            เพื่อขอให้มีการทบทวน ตามเหตุผลดังนี้


๑.      การพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็ก เป็นการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่ จังหวัดประจวบฯแต่อย่างใด เพราะจังหวัดประจวบฯมีรายได้รวมจากภาคภาคเกษตร และประมงเป็นอันดับหนึ่งของรายได้รวม โดเฉพาะจากประเทศเทศไม่มีแร่เหล็กที่ต้องใช้ในโครงการโรงเหล็ก จึงต้องน้ำเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด อีกทั้งประชาชนจำนวนมากในพื้นที่มีอาชีพที่สอดคล้องกับทรัพยากรของท้องถิ่นซึ่งสามารถสร้างรายได้หล่อเลี้ยงครอบครัวอย่างเป็นกอบเป็นกำ ทั้งภาคการเกษตรกรรม การประมง และการท่องเทียว มาอย่างยาวนาน และไม่ต้องการให้มีการเปลี่ยนแผลงให้ จ. ประจวบฯ กลายเป็นพื้นที่เพื่อรองรับโครงการนิคมอุตสาหกรรมซึ่งไม่สอดคล้องต่อวิถีชีวิตของชุมชน


๒.      พื้นที่ที่จะขยายเป็นเขตนิคมฯ ใน ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีแหล่งทรัพยากรที่ ความสำคัญระดับชาติ มีอุทยานขนาดใหญ่,ป่าสงวนแห่งชาติ,ป่าคุ้มครอง และยังมีป่าพรุซึ่งกำลังจะมีการขึ้นทะเบียนให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ กว่า 4,550 ไร่ อาจถูกบุกรุกทำในอนาคต


๓.      อ่าวแม่รำพึงถูกกำหนดจากกรมประมง (ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฉบับลงวันที่ 28 พฤศจิกายน พ..2527 ) ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์ไม่ให้มีการจับสัตว์น้ำปีละสองครั้ง เนื่องจากเป็นพื้นที่วางไข่ของสัตว์น้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาทู ซึ่งเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่หล่อเลี้ยงให้ชาวประมงทั้งจาก จ.ประจวบฯ และจังหวัดใกล้เคียง


๔.     สำนักงานการโยธาธิการ จ.ประจวบคีรีขันธ์ กำลังจะได้มีการจัดทำฝังเมืองใหม่เพื่อขยายขอบเขตพื้นที่อุตสาหกรรมที่จากเดิมได้กำหนดให้พื้นที่ ต.แม่รำพึงเกือบทั้งหมดเป็นสีม่วง (พื้นที่อุตสาหกรรม) ในปี ๒๕๔๖ โดยจะขยายขอบเขตออกไปในพื้นที่ ต.กำเนิดนพคุณอีกกว่า ๓,oo ไร่ ในปี ๒๕๕๑ นี้ ซึ่งชาวบ้านในท้องถิ่นได้ยื่นหนังสือคัดค้านการเปลี่ยนแปลผังเมือง ต.แม่รำพึงกลับไปเป็นสีเขียวตามเดิมก่อนปี ๒๕๔๖ เรื่องประชาชนได้รับความเดือนร้อนจาการขยายอุตสาหกรรมมามากพอแล้ว


๕.     ทางสาธารณะ ทางสาธารณะประโยชน์หลายเส้นทาง ที่ทางกลุ่มอุตสาหกรรมนำเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการนิคมถูกชาวบ้านคัดค้าน เพราะมีความจำเป็นต้องใช้ทางอยู่ต่อไป


๖.      รายผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการโรงถลุงเหล็กของบริษัทสหวิริยายังไม่ผ่านการอนุมัติจากผู้ชำนาญการแต่อย่างใด และในส่วนของที่ดินที่บริษัทได้เตรียมการไว้ยังคงมีปัญหาเรื่องการบุกรุกป่าสงวนและป่าคุ้มครอง เนื่องจากที่ดินได้มีคำสั่งแต่งตั่งคณะกรรมการสอบสวนตามมาตรา ๖๑ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อดำเนินการแก้ไขและเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่โดยมิชอบรุกเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าคลองแม่รำพึงและป่าคุ้มครองป่าคลองแม่รำพึง รวมทั้งหมด ๕๘ แปลง ของบริษัทสหวิริยาที่เข้าดำเนินโครงการโรงถลุงเหล็กรีดร้อน ตั่งแต่ปี ๒๕๓๓ โดยเฉพาะที่ดินของบริษัทท่าเรือประจวบ จำกัด ซึ่งได้มีการจำนองไว้กับธนาคารนครหลวงไทยรวมเป็นเงินจำนองทั้งสิ้น ๙๗๑,ooo,ooo บาท


๗.     การเอื้อประโยชน์กันอย่างไม่มีธรรมมาภิบาล ไม่มีความโปร่งใส ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ส่งผลให้ชาวบ้านที่จะได้รับผลกระทบไม่ไว้วางใจเป็นอย่างยิ่ง เช่นการจัดตั้งสถาบันเหล็กและเหล็กกล้า แต่มีเจ้าของโครงการเข้าไปเป็นกรรมการ มีเลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการลงทุน หรือ BOI เป็นกรรมการ มีสภาอุตสาหกรรมเป็นกรรมการ อีกทั้งการนิคมอุตสาหกรรมเอง ก็ได้มีคณะกรรมการ กนอ. โดยมีประธานกรรมการ เป็นถึงผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารนครหลวงไทยคือนายระเฑียร ศรีมงคล ที่ทางกลุ่มบริษัทเหล็กในพื้นที่บางสะพาน มีปัญหาเรื่องบุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคุ้มครองอยู่เป็นจำนวนมากซึ่งอยู่ระหว่างถูกตั้งกรรมการเพิกถอนจากกรมที่ดินและที่ดินดังกล่าวยังถูกนำไปเป็นหลักค้ำประกันเงินกู้ไปแล้วกว่า 971 ล้านบาท ที่สำคัญผู้ปล่อยเงินกู้ก็คือธนาคารนครหลวงไทย ที่มีนายระเฑียร ศรีมงคลเป็นผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโสอยู่ด้วยเป็นต้น


๘.     มติคณะรัฐมนตรีใหม่ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2551 ตามมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติให้ดำเนินการพื้นที่เลียบชายฝั่งทะเลภาคใต้ตอนบน 4 จังหวัด เพชรบุรี ประจาบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง ระยะราว 540 กิโลเมตร ล่าสุดเมื่อเดือนสิงหาคม 2551 ที่ประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดพัฒนาการท่องเที่ยวมีมติเช่นกันให้สานต่อโดยเร็ว ในวันที่ 27 ตุลาคม นี้จึงนำหน่วยงานเกี่ยวข้องสำรวจพื้นที่อย่างละเอียด บริเวณอ่าวมะนาว ท่าเทียบเรืองคลองวาฬ อำเภอเอง บริเวณปากน้ำ ปราณบุรี อำเภอปรานบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หนึ่งในพื้นที่หลักเมกะโปรเจ็กต์รอยัลโคสต์พื้นที่โดยรวมบริเวณประจวบคีรีขันธ์นั้น กระทรวงการท่องเทียวและกีฬา เล็งเห็นว่า มีศักยภาพสูงที่จะเปิดจุดที่เหมาะสม ให้เอกชนเข้ามาลงทุนท่าเรือมาตรฐานนานาชาติเพื่อการท่องเที่ยว ตามที่รัฐมนตรีวีระศักดิ์ให้นโยบายมาตลอด รวมทั้งยังได้เชิญชวนนักลงทุนต่างประเทศแถบฮ่องกง สิงคโปร์ ที่มีความรู้ความชำนาญเข้าร่วมทุนกับท้องถิ่นเพื่อก่อสร้างและพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพการใช้งาน


 


จากข้อมูลเบื้องต้นได้แสดงให้เห็นวาจากศักยภาพของพื้นที่ใน อ.บางสะพาน จ.ประจวบฯ นั้นไม่เหมาะสมที่จะมีนิคมอุตสาหกรรมแต่อย่างใด รวมทั้งจากการตรวจสอบข้อมูลของชาวบ้านพบว่าโครงการเหล็กที่อยู่ในชุมชนมากกว่า 17 ปีได้ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และมีปัญหาด้านการดำเนินงานของโครงการมาโดยตลอด ฉะนั้นหากท่านผู้เป็นหน่วยงานที่ต้องรับผิดชอบในการจัดหาที่ตั้งและสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆต่อภาคอุตสาหกรรม ต้องพิจารณาให้รอบด้านด้วยว่าการพัฒนาที่ไม่มีธรรมาภิบาลและต้องเบียดขับชุมชนออกไป นั้นสมควรที่จะสนับสนุนให้เกิดขึ้นหรือไม่ เราในฐานะที่เป็นชาวบ้านในชุมชนจึงขอยืนยันว่าเราไม่ต้องการการพัฒนาที่กำหนดมาจากคนส่วนน้อยและขากกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน


จึงเรียนมาเพื่อคัดค้านการที่บริษัทสหวิริยาขอร่วมโครงการนิคมอุตสาหกรรมและขอให้ทบทวนยกเลิกการกำหนดให้พื้นที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์เป็นนิคมอุตสาหกรรม


 


(นางจินตนา แก้วขาว)                                                                    (นายวิฑูรย์ บัวโรย)


ประธานกลุ่มอนุรักษ์ฯบ้านกรูด                                             ประธานกลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง


 


 


 


  


 






 


แถลงการณ์ เครือข่ายพันธมิตรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์


เรื่อง ไม่เอาโรงถลุงเหล็ก ปีศาจร้ายนำร่องแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันตก(WSB/SSB)


ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม(พล...ประชา พรหมนอก)ได้ให้สัมภาษณ์กรณีนักลงทุนจากญี่ปุ่นมีความสนใจลงทุนอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำในไทย และท่านเห็นว่าควรเร่งผลักดันการลงทุนดังกล่าว


เราเห็นว่ารัฐบาลไทย ไม่ว่ายุคเผด็จการ คมช. หรือยุคของรัฐบาลเผด็จการรัฐสภา ต่างผลักดันโครงการดังกล่าวตลอดมา โดยไม่คำนึงถึงสิทธิของชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างแท้จริงและพยายามอ้างว่า เพื่อให้เหล็กราคาถูกลง ทั้งๆที่ได้มีการลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น(เจเทป้า)ที่ไทยจะได้ซื้อเหล็กในราคาที่ถูกกว่าเดิมอยู่แล้ว


เครือข่ายพันธมิตรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบฯ ได้ติดตามแผนพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ(โรงถลุงเหล็กบางสะพานและโรงถลุงเหล็กกุยบุรี) มาโดยตลอด และเห็นว่าเป็นแผนการลงทุนที่จะเข้ามาทำลายชุมชนของเรา ในด้านสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศ น้ำฝน ทะเล ชายฝั่ง พื้นดิน ป่าไม้ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของเรา ตลอดจนทำลายสุขภาพของประชาชนและเบียดขับประชาชนในพื้นที่โครงการ โดยจะมีการอพยพประชาชนในแต่ละพื้นที่ ประมาณ 1000 ครอบครัวเพื่อทำการเวนคืนที่ดิน ตามพ... นิคมอุตสาหกรรม


แผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันตก(ประจวบฯ)มีตัวอย่างที่ประจักษ์ชัดแล้ว จากแผนการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก(ระยอง)ที่ได้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สวนผลไม้ สุขภาพ ทะเลและชายหาด จนพินาศมาแล้วรวมทั้งการแย่งชิงทรัพยากรน้ำ โดยไม่สนใจความเดือดร้อนของเกษตรกร การลักลอบทิ้งขยะเคมี ขยะพิษ ในที่ดินสาธารณะ และที่สำคัญปัญหาเด็กและเยาวชน ที่ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก เป็นการมุ่งเน้นอุตสาหกรรมการส่งออก โดยทิ้งซากแห่งความหายนะให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ที่เห็นเป็นประจักษ์พยานมาจนถึงทุกวันนี้


นอกจากนี้ สำนักงานส่งเสริมการลงทุน ได้เตรียมแผนอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุน เช่น การยกเว้นภาษี การเวนคืนที่ดิน จัดหาสาธารณูปโภคพื้นฐาน(เช่น สร้างถนนหนทาง โรงไฟฟ้า เขื่อนฯลฯ) ซึ่งทั้งหมดนี้ คือการเอาภาษีของประชาชนไปลงทุนเพื่อเพื่อนักธุรกิจต่างชาติได้กอบโกยผลประโยชน์


เครือข่ายพันธมิตรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงขอให้ท่านได้รับทราบเจตนารมณ์ของเราว่าเราไม่ยอมรับแผนงาน/โครงการดังกล่าวและจะต่อสู้กับแผนงาน/โครงการดังกล่าวนี้อย่างถึงที่สุด


กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นกุยบุรี-สามร้อยยอด กลุ่มอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านกรูด กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก-กุยบุรี กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก กลุ่มรักษ์บ้านเกิดอ่าวน้อย


 


29 ตุลาคม 2551


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net