Skip to main content
sharethis

 

โครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการ เลี้ยงแพะในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ได้แก่ปัตตานี นราธิวาส ย ะลา สตูล และ4 อำเภอในจังหวัดสงขลา เป็นโครงการที่รัฐบาลสนับสนุนงบประมาณจัดซื้อจัดหาแพะนม รายละ 5 ตัว หรือแพะเนื้อ รายละ 8 ตัว และสนับสนุนปัจจัยการผลิตอื่นๆ ตามเงื่อนไขโครงการ  โดยใช้งบประมาณกว่า 250 ล้านบาท โดยกลุ่มเป้าหมาย คือประชาชนที่มีความต้องการเลี้ยงแพะนมหรือแพะเนื้อรายย่อยที่ได้จากการค้นหาความต้องการของครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านเป้าหมายผ่านการจัดทำประชาคมของจังหวัดตามแผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้

การคัดเลือกผ่านการทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 5 จังหวัดชายแดนใต้ โดยประชาชนในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาด้วยการปรึกษาหารือร่วมกันคิด ร่วมกันคิดเสนอความต้องการและตัดสินใจ คัดเลือกครัวเรือนยากจนในหมู่บ้าน เพื่อช่วยเหลือตามศักยภาพเป็นรายครัวเรือนหรือเป็นกลุ่มเพื่อยกระดับรายได้ต่อครัวเรือน ตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด ผู้นำสี่เสาหลักประกอบด้วย ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำศาสนา ผู้นำธรรมชาติ  ผู้นำสี่เสาหลักมีหน้าที่คือ

หนึ่ง เป็นแกนนำขับเคลื่อนการจัดทำประชาคมในหมู่บ้าน เพื่อค้นหาครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านเป้าหมาย ร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  สอง รับรองรายชื่อบัญชีครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านเป้าหมาย               สาม รับรองบัญชีความต้องการของครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านเป้าหมาย โดยจัดเรียงลำดับความช่วยเหลือตามศักยภาพ แต่ละรายหรือเป็นกลุ่ม เริ่มต้นจากครัวเรือนยากจนตามลำดับ  เกณฑ์การทำประชาคม ต้องมีตัวแทนครัวเรือนในหมู่บ้านเป้าหมายที่มีอายุไม่น้อยกว่า 15 ปี เข้าร่วมประชาคม จำนวนไม่น้อยกว่า 70% ของครัวเรือนที่มีจริง

จากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลพบว่า การแจกจ่ายแพะในโครงการไม่ถึงมือประชาชนจริงๆ ทีมข่าวลงพื้นที่ตรวจสอบข้อมูลการรับแพะจากรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการในระหว่างปี 2553-2555 และในปี 2556-2558 ที่ตำบลหนองแรด อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี  พบสิ่งที่น่าสังเกต คือ สมาชิกในกลุ่มมีบ้านเลขที่เดียวกัน บางส่วนมีนามสกุลเหมือนกันหลายคน เมื่อตรวจสอบเพิ่มเติมกลับพบว่า มีบัณฑิตอาสาและญาติพี่น้องของบัณฑิตอาสาเข้าร่วมโครงการด้วย ทำให้เกิดข้อครหาต่อการดำเนินโครงการดังกล่าว

ชาวบ้านในตำบลหนองแรดกล่าวว่า  รู้เรื่องโครงการแจกแพะหลังจากมีการแจกจ่ายแพะกันเสร็จแล้ว ข่าวเกี่ยวกับโครงการจะรู้กันเฉพาะญาติของผู้นำ อาจมีบางครั้ง เรียกไปร่วมประชุมแต่เป็นเรื่องที่แจ้งให้ทราบ เป็นเรื่องที่ไม่มีผลประโยชน์เท่านั่น และบางครั้งก็มาขอบัตรประชาชนไปเฉยๆ ไม่รู้ว่ามีโครงการอะไรให้เซ็น แต่เมื่อเซ็นแล้วก็ไม่เคยได้อะไร

ชุมพล  คงทน นักวิชาการสัตวบาลชำนาญการสำนักงานปศุสัตว์ จังหวัดปัตตานี กล่าวถึงข้อสังเกตนี้ว่า  กระบวนการคัดเลือกมีสี่ สาหลักเป็นคนพิจารณา  เราจะบอกว่าสี่เสาหลัก ตรวจสอบครัวเรือนยากจนในหมู่บ้านไม่ละเอียดก็ว่าได้ แม้ในช่วงที่มีการสำรวจข้อมูลครัวเรือนยากจน จะมีบัณฑิตหมู่บ้านเป็นคนลงพื้นที่เก็บข้อมูล แต่หน้าที่จริงๆ แล้วเป็นของสี่เสาหลัก สี่เสาหลักอาจเจาะลึกไม่ได้ทั้งหมด  จึงทำให้คนที่คัดเลือก เอาชื่อคนใกล้ชิดหรือคนในครอบครัวเข้าร่วมโครงการ

เงื่อนไขโครงการถูกกำหนดไว้ชัดเจน และมีเครื่องมือการพัฒนาที่เรียกว่าการทำประชาคมสี่เสาหลักโดยหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมแก้ปัญหาและยกระดับความยากจน แต่เมื่อลงลึกไปในปฏิบัติ กลับไม่เป็นเช่นนั่น สิ่งเหล่านี้อาจนำไปสู่ช่องว่างของการทุจริตโครงการ ดังนั้น การให้ความสำคัญต่อการตรวจสอบการปฏิบัติจริงจะเป็นวิธีการหนึ่งเพื่อให้โครงการถึงมือประชาชนอย่างแท้จริง

 

รายงานข่าวนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการทุนเพื่อทำข่าวสืบสวนสอบสวน กลุ่มเยาวชน

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net