Skip to main content
sharethis

'นิด้าโพล' เผยสำรวจแนวโน้มการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่ใช้บัตรสองใบ ร้อยละ 44.82 ระบุ ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร ร้อยละ 38.03 ระบุ จะเลือกพรรคเดียวกัน ร้อยละ 30.41 ระบุว่า ไม่อยากจะเปลี่ยน ส.ส. ในเขตเลือกตั้ง แต่ร้อยละ 28.28 อยากจะเปลี่ยนอย่างมาก

 

22 ส.ค.2565 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)  เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “แนวโน้มพฤติกรรมการเลือกตั้งครั้งหน้า” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 1-5 ส.ค.ที่ผ่านมา จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาคระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,312 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับแนวโน้มพฤติกรรมการเลือกตั้งครั้งหน้า การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงแนวโน้มการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งครั้งหน้าที่ใช้บัตรสองใบ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 44.82 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร รองลงมา ร้อยละ 38.03 ระบุว่า จะเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเดียวกัน ร้อยละ 16.85 ระบุว่า จะไม่เลือก ส.ส. แบบแบ่งเขต และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเดียวกัน และร้อยละ 0.30 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

สำหรับความต้องการที่จะเปลี่ยน ส.ส. ในเขตเลือกตั้ง ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.41 ระบุว่า ไม่อยากจะเปลี่ยนเลย รองลงมา ร้อยละ 28.28 ระบุว่า อยากจะเปลี่ยนอย่างมาก ร้อยละ 19.21 ระบุว่า ค่อนข้างอยากจะเปลี่ยน ร้อยละ 11.97 ระบุว่า ไม่ค่อยอยากจะเปลี่ยน และร้อยละ 10.13 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

ท้ายที่สุดเมื่อถามประชาชนถึงแนวโน้มการเลือก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งครั้งหน้า พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 34.99 ระบุว่า ยังไม่แน่ใจว่าจะตัดสินใจอย่างไร รองลงมา ร้อยละ 32.39 ระบุว่า จะเลือกพรรคการเมืองฝ่ายค้าน ร้อยละ 21.34 ระบุว่า จะเลือกพรรคการเมืองใหม่ที่ยังไม่มี ส.ส. ในสภา ร้อยละ 10.82 ระบุว่า จะเลือกพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และร้อยละ 0.46 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/
ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.61 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 26.30 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 17.99 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.53 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.57 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 13.26 มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.76 มีอายุ 26-35 ปี ร้อยละ 19.28 มีอายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.53 มีอายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.17 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.89 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.74 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.22 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.15 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 32.24 สถานภาพโสด ร้อยละ 65.40 สมรสแล้ว และร้อยละ 2.36 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

ตัวอย่าง ร้อยละ 25.38 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 33.46 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.31 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 27.97 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.73 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.15 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 10.14 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.02 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 20.20ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.80 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.85 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.90 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 5.79 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.30 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 21.88 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.57 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.83 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.21 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.80 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 5.79 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.92 ไม่ระบุรายได้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net