Skip to main content
sharethis
  • 'นิด้าโพล' เผยผลสำรวจคนเหนือ หนุน ‘แพทองธาร’ นั่งนายกฯ เหตุชื่นชอบ ‘เพื่อไทย-ผลงานตระกูลชินวัตร’ ตามด้วย 'พิธา' เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ เป็นคนมีวิสัยทัศน์ ขณะที่พรรคกว่า 40% เลือก 'เพื่อไทย' ทั้งเขตและบัญชีรายชื่อ ตามด้วย 'ก้าวไกล'
  • 'ซูเปอร์โพล' เผยผลสำรวจโอกาส ‘เพื่อไทยแลนด์สไลด์’ มีสูง ขณะที่ ‘ภูมิใจไทย’ ตามมาติดๆ

 

7 พ.ย.2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมา ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) สำรวจความคิดเห็น เรื่อง “คนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนเหนือ” ระหว่างวันที่ 28 ต.ค. - 2 พ.ย. 2565 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในภาคเหนือ กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนที่ใช่ พรรคที่ชอบ ของคนเหนือ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนเหนือจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 31.70 ระบุว่าเป็น แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ ชื่นชอบพรรคเพื่อไทย นโยบายของพรรคทำได้จริง ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบผลงานของตระกูลชินวัตร อันดับ 2 ร้อยละ 15.00 ระบุว่าเป็น พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) เพราะ เป็นคนรุ่นใหม่ เป็นคนมีวิสัยทัศน์ ขณะที่บางส่วนระบุว่า ชื่นชอบนโยบายและอุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 12.65 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 4 ร้อยละ 12.50 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะ เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบ และต้องการให้บริหารประเทศอย่างต่อเนื่อง อันดับ 5 ร้อยละ 6.55 ระบุว่าเป็น สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) เพราะ เป็นคนมีประสบการณ์ด้านการบริหาร ชื่นชอบนโยบายของพรรค ขณะที่บางส่วนระบุว่า ต้องการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเข้ามาบริหารประเทศ อันดับ 6 ร้อยละ 6.20 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) เพราะ เป็นคนตรงไปตรงมา มีความซื่อสัตย์สุจริต และชื่นชอบวิธีการทำงาน อันดับ 7 ร้อยละ 3.85 ระบุว่าเป็น ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) เพราะ เป็นคนที่พูดจริงทำจริง มีประสบการณ์ด้านการบริหาร และชื่นชอบพรรคเพื่อไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.50 ระบุว่าเป็น กรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) เพราะ เป็นคนมีความรู้ มีความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และมีประสบการณ์ด้านการบริหาร อันดับ 9 ร้อยละ 2.00 ระบุว่าเป็น อนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) เพราะ เป็นคนพูดจริงทำจริงและชื่นชอบนโยบายของพรรคภูมิใจไทย อันดับ 10 ร้อยละ 1.85 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ อันดับ 11 ร้อยละ 1.10 ระบุว่าเป็น จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) เพราะ มีประสบการณ์ด้านการบริหาร ชื่นชอบผลงานที่ผ่านมา และชื่นชอบพรรคประชาธิปัตย์ ฯลฯ

สำหรับพรรคการเมืองที่คนเหนือมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 48.70 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 16.40 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 10.40 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 8.05 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 5 ร้อยละ 5.45 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 6 ร้อยละ 2.50 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.20 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.05 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย และร้อยละ 4.25 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคสร้างอนาคตไทย ไม่ตอบ/ไม่สนใจ พรรคกล้า พรรคไทยภักดี พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคเศรษฐกิจไทย พรรคเทิดไท พรรครวมพลัง (พรรครวมพลังประชาชาติไทย) และพรรคเศรษฐกิจใหม่

เมื่อพิจารณาพรรคการเมืองที่คนเหนือมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มจังหวัดของภาคเหนือ พบว่า

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 อันดับ 1 ร้อยละ 01 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 19.66 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 7.63 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 4 ร้อยละ 3.82 ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์ และยังไม่ตัดสินใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน และอันดับ 5 ร้อยละ 2.67 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 อันดับ 1 ร้อยละ 07 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 17.75 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 9.22 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 5.17 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 2.92 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 อันดับ 1 ร้อยละ 41 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 15.46 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 15.12 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 9.45 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 8.42 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 อันดับ 1 ร้อยละ 65 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 13.14 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 12.47 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 4 ร้อยละ 9.58 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 6.01 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

ด้านพรรคการเมืองที่คนเหนือมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ ในวันนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 48.75 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 16.15 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 11.55 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 7.20 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 5 ร้อยละ 4.75 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 6 ร้อยละ 2.85 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.25 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 8 ร้อยละ 1.90 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย และร้อยละ 4.60 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคชาติพัฒนากล้า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคไทยภักดี พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคกล้า พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรครวมไทยสร้างชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคเศรษฐกิจใหม่ พรรคเศรษฐกิจไทย พรรคเทิดไท และพรรครวมพลัง (พรรครวมพลังประชาชาติไทย)

เมื่อพิจารณาพรรคการเมืองที่คนเหนือมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มจังหวัดของภาคเหนือ พบว่า

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 อันดับ 1 ร้อยละ 43 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 19.66 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 6.11 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 5.72 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 3.63 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 อันดับ 1 ร้อยละ 30 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 17.75 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 9.89 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 4 ร้อยละ 4.05 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 2.70 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 อันดับ 1 ร้อยละ 92 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 16.15 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 14.60 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 4 ร้อยละ 9.45 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 6.87 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 อันดับ 1 ร้อยละ 65 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 13.59 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 3 ร้อยละ 12.47 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 4 ร้อยละ 9.13 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ และอันดับ 5 ร้อยละ 5.35 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างทั้งหมดมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ภาคเหนือ ตัวอย่าง ร้อยละ 48.15 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.85 เป็นเพศหญิง  ตัวอย่าง ร้อยละ 12.25 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.00 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 17.75 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.50 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 26.50 อายุ 60 ปีขึ้นไป

ตัวอย่าง ร้อยละ 97.90 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 0.35 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 1.65 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.10 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 30.50 สถานภาพโสด ร้อยละ 66.90 สมรส ร้อยละ 2.55 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.05 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่าง ร้อยละ 29.85 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 35.15 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.60 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.55 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 3.80 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 0.05 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 9.70 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.90 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 19.35ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.50 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.95 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 21.90 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 4.60 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 0.10 ไม่ระบุอาชีพ

ตัวอย่าง ร้อยละ 22.90 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 26.05 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.70 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 8.75 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 3.85 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.05 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.70 ไม่ระบุรายได้

อ่านรายละเอียดผลโพลที่ https://nidapoll.nida.ac.th/survey_detail?survey_id=601

'ซูเปอร์โพล' เผยผลสำรวจโอกาส ‘เพื่อไทยแลนด์สไลด์’ มีสูง ขณะที่ ‘ภูมิใจไทย’ ตามมาติดๆ

วันที่ 6 พ.ย.ที่ผ่านมาเช่นกัน นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) เสนอผลสำรวจ เรื่อง “เพื่อไทย แลนด์สไลด์” กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผ่านกระบวนการวิจัยเชิงทดลอง(Experimental Survey) เพื่อลดความคลาดเคลื่อนแก้ปัญหาแหล่งความคลาดเคลื่อนจากผู้ถามผู้ตอบและเครื่องมือวัด จำนวน 1,643 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 1 – 5 พ.ย. ที่ผ่านมา โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนจากการกำหนดขนาดตัวอย่างบวกลบร้อยละ 5 ในช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 พบว่า ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทยจะชนะการเลือกตั้งด้วยจำนวนที่นั่ง ส.ส. บัญชีรายชื่อ หรือ จำนวน ผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองมากที่สุด คือ 25 ที่นั่ง และอาจสูงขึ้นถึง 30 ที่นั่งในการตัดสินใจของประชาชนทั้งประเทศ รองลงมาคือ พรรคภูมิใจไทย ประมาณการว่าจะได้ 21 ที่นั่ง และอาจจะสูงถึง 26 ที่นั่ง ตามมาด้วยพรรคพลังประชารัฐคาดว่าจะได้ 16 ที่นั่ง หรืออาจจะสูงถึง 21 ที่นั่ง โดยยังไม่มีปัจจัยย้ายพรรคของ ส.ส. จากพรรคพลังประชารัฐและความขัดแย้งจนแพแตกแยกทางกันเดินระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เกิดขึ้นเพิ่มเติม

อันดับที่สี่และอันดับที่ห้า สูสีกันคือ พรรคประชาธิปัตย์ กับ พรรคก้าวไกล โดยพรรคประชาธิปัตย์คาดว่าจะได้ 11 ที่นั่ง และพรรคก้าวไกล คาดว่าจะได้ 9 ที่นั่ง เป็น ส.ส. ผู้แทนราษฎรส่วนของพรรคการเมือง ตามด้วยส่วนของ พรรคชาติไทยพัฒนา 3 ที่นั่ง และพรรคการเมืองอื่น ๆ จำนวน 10 ที่นั่ง และมีอีกจำนวนที่นั่งที่อาจจะเทไปให้พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งอีกจำนวน 5 ที่นั่ง

ที่น่าสนใจคือ เมื่อจำแนกตามภูมิภาค พบว่า พรรคเพื่อไทยแลนด์สไลด์ในภาคอีสาน ร้อยละ 45.6 รองลงมาคือภาคเหนือ ร้อยละ 32.9 ในกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 29.6 ในภาคกลางร้อยละ 8.0 และในภาคใต้ร้อยละ 6.3 ตามลำดับ ในขณะที่ พรรคภูมิใจไทย ได้ในภาคกลางมากที่สุดคือร้อยละ 26.2 ภาคใต้ได้ร้อยละ 24.0 ภาคอีสานได้ร้อยละ 21.2 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 19.3 และภาคเหนือได้ร้อยละ 7.8 ตามลำดับ

สำหรับพรรคพลังประชารัฐในเงื่อนไขว่า ยังไม่มีการย้ายพรรคของ ส.ส.และยังไม่เกิดความขัดแย้งจนแพแตกแยกทางกันเดินระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ พบว่า ภาคใต้ได้ร้อยละ 26.0 ภาคกลางได้ร้อยละ 25.8 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 13.3 ภาคเหนือได้ร้อยละ 7.8 และภาคอีสานได้ร้อยละ 5.8 ตามลำดับ ในขณะที่ พรรคประชาธิปัตย์ ภาคใต้ได้ร้อยละ 24.3 ภาคกลางได้ร้อยละ 11.5 ภาคเหนือได้ร้อยละ 11.2 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 7.4 และภาคอีสานได้ร้อยละ 3.7 ตามลำดับ

ส่วนพรรคก้าวไกล กระจายไปได้ภาคเหนือมากสุดร้อยละ 14.0 กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 9.6 ภาคอีสานได้ร้อยละ 8.7 ภาคกลางได้ร้อยละ 8.2 และภาคใต้ได้ร้อยละ 4.9 ตามลำดับ

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลโพลชิ้นนี้ชี้ให้เห็นความชัดเจนว่า พรรคการเมืองเด่น ๆ ที่ค้นพบในการสำรวจครั้งนี้อยู่ที่ พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ (บนเงื่อนไขของการย้ายพรรคและความขัดแย้งจนแพแตกแยกทางกันเดินระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) พรรคประชาธิปัตย์ กับ พรรคก้าวไกล ส่วนพรรคการเมืองอื่น ๆ อาจเป็นพรรคการเมืองที่ต้องควบรวมสร้างอำนาจต่อรองการจัดตั้งรัฐบาลในอนาคตหลังการเลือกตั้งได้

ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวต่อว่า เพื่อไทยแลนด์สไลด์จะเป็นภาพที่ไม่เกินความเป็นจริงโดยเฉพาะในภาคอีสาน ส่วนในภาคอื่น ๆ ที่น่าจับตามองคือ ภาคใต้จะกลายเป็นสนามรบแรง 3 พรรค พรรคประชาธิปัตย์ พรรคภูมิใจไทยและพรรคพลังประชารัฐ ในขณะที่ กรุงเทพมหานคร จะขึ้นกับกระแสเป็นหลัก ที่โดดเด่นคือ พรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย พรรคพลังประชารัฐ และที่น่าจับตามองมากที่สุดในสนามกรุงเทพมหานครคือ พรรคก้าวไกล ด้วยสำหรับพื้นที่ภาคเหนือ จะตกเป็นของพรรคเพื่อไทย และ พรรคก้าวไกลที่เด่น ส่วนภาคกลาง จะกลางจริง ๆ คือกระจายกันไปหลายพรรคแต่ที่จะเด่นขึ้นมาคือ พรรคภูมิใจไทย กับ พลังประชารัฐ ในภาคกลาง แต่ถ้าแพแตก ก็ค่อยว่ากันอีกภาพหนึ่ง

“แต่มีสัญญาณจากข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์ส่วนหนึ่งชี้ให้เห็นว่ามีความน่าจะเป็น ชัชชาติ เอฟเฟกต์ ที่ทำให้คู่แข่งขันทางการเมืองแตกกระจายเป็นส่วนย่อย ๆ ไร้พลังสู้ เกิดขึ้นในการสู้รบทางการเมืองระดับชาติได้ คือ พรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล เข้มแข็ง ในขณะที่ พรรคคู่แข่งเช่น พรรคพลังประชารัฐ พรรคภูมิใจไทย และพรรคประชาธิปัตย์จะถูกปั่นกระแสทำลายให้อ่อนแอ ทั้งจากภายในฝ่ายรัฐบาลเอง ฝ่ายค้านและฝ่ายอื่น ๆ จึงอาจจะเห็นภาพ เพื่อไทยแลนสไลด์เกิดขึ้นแท้จริง ก็เป็นไปได้เหมือนชัยชนะที่ชัชชาติ ทำได้มาแล้ว” ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าว

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net