Skip to main content
sharethis

นายพอล คอว์ธอร์น


ผู้อำนวยการองค์การหมอไร้พรมแดน - เบลเยี่ยม (ประเทศไทย)


19 กุมภาพันธ์ 2550


บทความเรื่อง Licensing policy fatal for HIV/AIDS sufferers ของนาย Philip Stevens ของเครือข่ายนโยบายระหว่างประเทศ (International Policy Network) ที่ลงตีพิมพ์ใน "The Nation" เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ และได้ตีพิมพ์เป็นข่าวความเห็น "กรุงเทพธุรกิจ" เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ อ้างอย่างผิดๆและจงใจบิดเบือนความจริงให้เกิดความเข้าใจผิดต่อการตัดสินใจที่กล้าหาญของ นายแพทย์มงคล ณ สงขลา ที่ต้องการสร้างความมั่นใจว่า คนไทยจะเข้าถึงยาจำเป็นช่วยชีวิตดีขึ้น


นาย Philip Stevens เป็นผู้เชี่ยวชาญที่คอยโจมตีกับทุกความคุกคามที่จะไปประทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ของบรรษัทข้ามชาติ ดังที่เครือข่ายนโยบายระหว่างประเทศ (International Policy Network) ที่เขาทำงานอยู่ได้รับการสนับสนุนทางการเงินประมาณ 85% จากบรรษัทเหล่านี้


กล่าวอย่างชัดเจนคือ องค์การหมอไร้พรมแดน (Médecins Sans Frontières - MSF) ในฐานะองค์กรสาธารณกุศลด้านการแพทย์ที่ใหญ่ที่สุด พร้อมด้วยโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS), องค์การอนามัยโลก (WHO), ธนาคารโลก และภาคประชาสังคมต่างๆ สนับสนุนการใช้กลไกยืดหยุ่นในความตกลงด้านทรัพย์สินทางปัญญา (TRIPS) ดังที่ได้รับการรับรองจากปฏิญญาโดฮา (The Doha Declaration) กลไกยืดหยุ่นเหล่านี้ รวมถึงการประกาศใช้สิทธิโดยรัฐ


 








ธนาคารโลกได้เผยแพร่รายงาน "เศรษฐศาสตร์ของการรักษาเอดส์อย่างมีประสิทธิภาพ - การประเมินทางเลือกนโยบายสำหรับประเทศไทย" (The Economics of Effective AIDS Treatment - Evaluating Policy Option for Thailand) ซึ่งในบทสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (หน้า 170) ระบุว่า "หนทางที่สองสำหรับรัฐบาลในการจำกัดงบประมาณแผ่นดินในการรักษาด้วยยาต้านไวรัสสูตรสำรอง คือ การบังคับใช้สิทธิเพื่อผลิตยาต้านไวรัสสูตรสำรองที่ติดสิทธิบัตร การทำเช่นนี้จะต้องใช้การตัดสินใจทางการเมืองระดับสูงที่ต้องตั้งอยู่บนความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจนในค่าใช้จ่าย, ผลประโยชน์ด้านสาธารณสุข การประหยัดงบประมาณรายจ่าย และผลกระทบทางการค้ากับการตัดสินใจดังกล่าว"


องค์การหมอไร้พรมแดนสนับสนุนทุกประเทศให้ใช้สิทธิในการพัฒนาการเข้าถึงยาช่วยชีวิตด้วยการใช้กลไกทางกฎหมายที่สามารถลดราคาค่ายาและเพิ่มการแข่งขันในตลาด การประกาศบังคับใช้สิทธิโดยรัฐ 3 ฉบับที่รัฐบาลประกาศไปนั้น เป็นไปตามเจตนารมณ์และตัวอักษรของความตกลงทริปส์และกฎหมายไทย


องค์การหมอไร้พรมแดนสนับสนุนการเปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันของยาชื่อสามัญที่จะนำไปสู่ราคายาที่ลดลงทั้งในส่วนของภาครัฐและผู้ป่วยทั่วไป ในประเด็นนี้ องค์การหมอไร้พรมแดนกระตุ้นให้รัฐบาลไทยเร่งกำจัดอุปสรรคใดๆที่ขัดขวางการตั้งโรงงานผลิตยาที่ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก (WHO pre-qualified HIV medicines) แก่ผู้ติดเชื้อฯในประเทศไทย นอกจากนี้ องค์การหมอไร้พรมแดนยังกระตุ้นให้รัฐบาลไทยพิจารณาส่งเสริมภาคเอกชนไทยสมัครเป็นบริษัทที่ได้รับอนุญาตจากองค์การอนามัยโลกเพื่อผลิตยาต้านไวรัสชื่อสามัญเพื่อเพิ่มศักยภาพในการป้อนตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ


องค์การหมอไร้พรมแดนยืนหยัดที่จะสนับสนุนการใช้ยาชื่อสามัญที่มีคุณภาพทั้งในโครงการของเราและของรัฐบาล ดังนั้น องค์การหมอไร้พรมแดนกระตุ้นให้รัฐบาลไทยแก้ปัญหาให้เร็วขึ้นในการสร้างความมั่นใจว่า ยาต้านไวรัสที่ผลิตโดยองค์การเภสัชกรรมจะได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโลก


สิทธิการเข้าถึงยาช่วยชีวิตในราคาไม่แพง ได้รับชัยชนะจากการตัดสินใจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข บุคคลที่ยึดมั่นอยู่ในหลักการที่ให้สิทธิของคนไทยเข้าถึงยาช่วยชีวิตเหนือกว่าผลประโยชน์ทางการค้า


การตัดสินใจขั้นสุดท้ายควรเป็นผู้ป่วยที่มีชีวิตของพวกเขาอยู่รอดได้ด้วยยาชื่อสามัญที่ผลิตได้ในประเทศ และผู้ป่วยที่จะได้รับการช่วยชีวิตในวันข้างหน้า


องค์การหมอไร้พรมแดนขอเรียกร้องให้หนังสือพิมพ์ทั้ง 2 ฉบับนำเสนอชีวิตของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีชีวิตอยู่ได้ทุกวันนี้ด้วยยาที่ผลิตในประเทศ และผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคไตวายที่ไม่สามารถเข้าถึงการรักษาด้วยเพราะราคายาที่แพงตามความต้องการของอุตสาหกรรมยาข้ามชาติ

สแกน QR Code เพื่อร่วมบริจาคเงินให้กับประชาไท

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net