Skip to main content
sharethis

หลายคนคงเคยเห็นพลาสติกกันกระแทกที่มีลักษณะเป็นเม็ดฟองอากาศที่เรียกว่า 'บับเบิ้ลแร็พ' (bubble wrap) ซึ่งพอบีบเล่นแล้วจะส่งเสียงชวนให้รู้สึกเพลิดเพลิน แต่ความสนุกแบบนั้นกำลังจะหมดไปเมื่อบริษัทในต่างประเทศคิดค้นรูปแบบใหม่ ทนแรงกระแทก บีบไม่แตก

3 ก.ค. 2558 หลายคนคงเคยเห็นพลาสติกกันกระแทกที่มีลักษณะเป็นเม็ดฟองอากาศที่เรียกว่า 'บับเบิ้ลแร็พ' (bubble wrap) ซึ่งพอบีบเล่นแล้วจะส่งเสียงชวนให้รู้สึกเพลิดเพลิน แต่ในตอนนี้บริษัทซีลด์แอร์ คอร์เปอเรชั่น ผู้จัดจำหน่ายบับเบิ้ลแรป ต้นแบบมาตั้งแต่ปี 2503 กำลังผลิตพลสติกกันกระแทกแบบใหม่ชื่อ 'ไอบับเบิ้ลแร็พ' (iBubble Wrap) ที่ต่างจากของเดิมตรงที่จะเม็ดฟองอากาศจะไม่แตกออกเมื่อได้รับแรงกด

วอลล์สตรีทเจอนัลระบุว่าธุรกิจของพัสดุกันกระแทกเป็นธุรกิจใหญ่ของโลกที่ทำรายได้ 2 หมื่นล้านดอลลาร์จากการสำรวจปี 2556 เนื่องจากมีปริมาณการขนส่งพัสดุหรือวัตถุดิบข้ามประเทศเพิ่มขึ้นจากการที่อุตสาหกรรมการผลิตมีลักษณะแบบข้ามประเทศมากขึ้น และผู้ค้าอย่างบริษัทแอมะซอนดอทคอม (Amazon.com) หรือบริษัททาร์เก็ท คอร์เปอเรชั่น ก็พยายามทดลองการบรรจุหีบห่อแบบใหม่ที่ลดต้นทุน มีความปลอดภัย และเพิ่มความรวดเร็วในการจัดส่งอยู่เสมอ

โดยคุณลักษณะของไอบับเบิ้ลแร็พจะกินพื้นที่น้อยกว่าบับเบิ้ลแร็พแบบเดิมวัดจากตอนก่อนที่มันจะถูกทำให้ยุบตัวซึ่งถือเป็นการลดพื้นที่การขนส่งได้ แต่ก็มีบางอย่างที่อาจจะทำให้แฟนดั้งเดิมของบับเบิ้ลแร็พไม่ชอบคือการที่มันบีบเล่นให้แตกไม่ได้

ถึงแม้ว่าบริษัทบางแห่งจะทดลองนำวัสดุกันกระแทกแบบอื่นๆ เช่น ที่ทำมาจากของเหลือทิ้งทางการเกษตรมาใช้แทนวัสดุจำพวกฟองอากาศ แต่บริษัทซีลด์แอร์ก็หวังว่าไอบับเบิ้ลจะทำให้วัสดุกันกระแทกจำพวกฟองอากาศกลับมาได่รับความนิยมอีกครั้งหลังจากที่ได้รับความนิยมลดลงตั้งแต่ปี 2555 รวมถึงมีการแข่งขันกับผู้ผลิตบับเบิ้ลแร็พรายอื่น ซึ่งอุปสรรคที่ทำให้ซีลแอร์ไม่ค่อยส่งผลิตภัณฑ์ของพวกเขาให้กับที่ไกลๆ เพราะมันมีขนาดใหญ่เทอะทะจนทำให้ค่าการขนส่งระยะไกลแพง

เคน คริสแมน ประะานฝ่ายดูแลคุณภาพสินค้าของบริษัทซีลด์แอร์กล่าวว่า ถ้าหากบริษัทไม่สามารถแก้ไขปัญหาต้นทุนการขนส่งสินค้าของตนที่มีราคาสูงได้พวกเขาอาจจะต้องปิดกิจการลง ทำให้พวกเขาต้องสร้างไอบับเบิ้ลแร็พที่มีขนาดเล็กกว่าเพื่อกำจัดปัญหาเรื่องการขนส่ง โดยไอบับเบิ้ลแร็พยังได้รับการยอมรับจากกลุ่มผู้ขนส่งทางเรือที่ค่าเช่าโกดังเพิ่มสูงขึ้นและมีพื้นที่จัดเก็บลดลงทำให้ต้องหาวิธีใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ไอบับเบิ้ลแร็พมีลักษณะที่ฟองอากาศต่อกันเป็นแนวด้วยและเชื่อมด้วยช่องอากาศขนาดเล็กจนไม่สามารถบีบแตกได้ อย่างไรก็ตามสิ่งนี้อาจจะถือเป็นข้อด้อยเล็กน้อยของแร็พแบบใหม่คือการที่มันไม่สามารถบีบเล่นได้จนทำให้ผู้ที่มีความเพลิดเพลินจากการบีบเม็ดฟองอากาศเหล่านี้รู้สึกต่อต้าน โดยในเฟซบุ๊คมีผู้ก่อตั้งกลุ่มเกี่ยวกับความสนุกในการบีบเม็ดฟองชื่อเพจ "Popping Bubble Wrap" ที่มีสมาชิกกลุ่มมากกว่า 500,000 คน

เว็บไซต์เดอะเวิร์จนำเสนอข่าวในเชิงไว้อาลัยบับเบิ้ลแร็พดั้งเดิมด้วยท่าทีปนขำขัน รวมถึงเสนอทางเลือกอื่นๆ สำหรับผู้ชื่นชอบการบีบเม็ดฟอง เช่น เว็บไซต์เวอร์ชวลบับเบิ้ลแร็พ (http://www.virtual-bubblewrap.com/popnow.shtml) ที่ให้ผู้เล่นเข้าไปเล่นบีบเม็ดฟองได้ด้วยเมาส์ซึ่งเดอะเวิร์จระบุว่าชวนให้รู้สึกเศร้าๆ หรือวิดีโอในยูทูบที่สามารถให้ผู้เข้าชมฟังเสียงบีบเม็ดฟองได้


เรียบเรียงจาก

Revamped Bubble Wrap Loses Its Pop, Wall Street Journal, 01-06-2015

Bubble Wrap is dead, long live Bubble Wrap, The Verge, 02-06-2015
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net