จับมือตั้ง "กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย" เรียกร้องหยุดปิดกั้นการแสดงความเห็น

ประชาไท - 12 พ.ย. 2549 นักวิชาการ สื่อมวลชน สื่อสิ่งพิมพ์ เจ้าของธุรกิจและผู้่ปกครอง อาทิ คปส. มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้ร่วมกันจัดตั้ง "กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย" (Freedom Against Censorship Thailand -FACT) เพื่อเรียกร้องให้ยุติการเซ็นเซอร์อย่างสิ้นเชิงในไทย โดยจะแถลงข่าวและจัดเวทีสาธารณะในวันที่ 15 พ.ย. เวลา 13.30น. ณ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว จากนั้น เวลา 17.00น. จะเดินทางไปสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ตึกปปง. เพื่อนำเรื่องร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

 

โดยระบุว่า "ตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 หลังจากที่รัฐบาลได้เริ่มการเซ็นเซอร์ทางอินเตอร์เน็ต มีเว็บไซต์มากกว่า 35,000 เว็บไซต์ถูกบล็อก โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้บล็อกเว็บไซต์กว่า 2,500 เว็บไซต์ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้ทำการบล็อกอีก 32,500 เว็บไซต์ และยังมีเว็บไซต์อีกจำนวนมากที่ไม่สามารถรู้ได้จากการบล็อกของการสื่อสารแห่งประเทศไทย เนื่องจากไม่มีกฎหมายไทยฉบับใดที่อนุญาตให้สามารถทำการบล็อกอินเตอร์เน็ต การกระทำเหล่านี้จึงทำในลักษณะเชิงที่เป็นความลับ

 

จริงๆ แล้วรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 ได้รับรองเสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ให้ทุนวิจัยแก่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เพื่อที่จะทำการศึกษาหากฎหมายที่มีอยู่ในขณะนี้ ที่สามารถรองรับการใช้อำนาจอันขัดต่อหลักกฎหมายที่รัฐธรรมนูญรองรับ รัฐบาลได้ปกปิดวาระซ้อนเร้นโดยอ้างการปิดเว็บไซต์ลามก ซึ่งเป็นเว็บไซต์ส่วนใหญ่ที่ถูกบล็อก

 

อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์ที่ถูกบล็อกอย่างน้อยร้อยละ 11 เกี่ยวข้องกับการวิพากษ์วิจารณ์อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทยของเขา รวมถึงเรื่องมาตรการของรัฐที่เกี่ยวกับปัญหาภาคใต้และเรื่องรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน

 

ทั้งนี้ เพื่อปิดรายชื่อเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกเป็นความลับ หน่วยงานของรัฐบาลไทยจึงไม่ยอมเปิดเผยเกณฑ์ที่ใช้ในการบล็อกเว็บไซต์ หรือบอกว่าบุคคลใดมีอำนาจในการตัดสิน อีกทั้งยังไม่อธิบายหรือให้คำจำกัดความคำว่า "มีผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ"

 

การไร้ซึ่งความโปร่งใสต่อสาธารณะถือว่าเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของรัฐ พ.ศ. 2540 ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ยังได้ทำการบล็อกกระดานแสดงความคิดเห็นที่มีความเห็นและความเห็นตอบจากสาธารณะแสดงอยู่ ไม่ว่ากระดานแสดงความคิดเห็นเหล่านั้นจะมีการตรวจสอบเบื้องต้นหรือไม่ก็ตาม เช่น ประชาไท พันธุ์ทิพย์ และ มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

 

โดยทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนได้นำเรื่องนี้สู่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว เฉกเช่นเดียวกับการนำเรื่องสู่ศาลปกครอง โดยทางศาลปกครองได้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวโดยให้ทำการปลดการบล็อกเว็บไซต์ดังกล่าวก่อนในช่วงขณะที่คดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาขั้นสุดท้ายของศาล

 

ทางกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารยังได้ทำการบล็อก Anonymous proxy server ที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในไทยใช้ในการเข้าสู่เว็บไซต์ที่ถูกบล็อก ทางกระทรวงฯยังร้องขอต่อ Google Thailand และ Google USA ให้ทำการบล็อกการเข้าชม Cached web page ในไทยที่ทำให้สามารถเข้าชมหน้าของเว็บไซต์ที่ถูกบล็อกไว้ เช่นเดียวกับกรณีการบล็อกการค้นหาโดยการใช้คำที่สำคัญ (Keyword)

 

วิธีการทั้งสองวิธีนี้เป็นวิธีการที่ใช้ในการที่จะปราบปรามการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในประเทศจีน ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2549 เว็บไซต์ของ BBC1, BBC2, CNN, Yahoo News, Seattle Post-Intelligencer, The Age, Amazon.com, Amazon UK และ Yale University Press ที่มีบทความเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ และทักษิณ ต่างถูกบล็อกโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

 

การบล็อกเว็บไซต์ หรือแท้ที่จริงแล้วคือ การเซ็นเซอร์เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น โดยปกติแล้วเป็นวิธีการที่รัฐบาลที่รู้สึกไม่มั่นคงจนต้องพยายามที่จะครอบงำและควบคุมประชาชนของตน โดยปกติการเซ็นเซอร์จะใช้กับความคิดเห็นที่รัฐบาลเห็นว่าเป็นการต่อต้านและไม่เหมาะสมสมควร หรือก็อาจจะส่งผลต่อฐานอำนาจของตน ดังที่ใช้กันในประเทศพม่าหรือจีนหรือเกาหลีเหนือ หรือแม้แต่ในสหรัฐอเมริกา

 

แต่ในรูปแบบของพระราชบัญญัติรักชาติ (PATRIOT Act) ประเทศไทยไม่ใช่พม่าหรือจีนหรือเกาหลีเหนือ (อย่างน้อยก็ในขณะนี้) บางทีคำพูดของอองซานซูจีที่เคยกล่าวไว้น่าจะเหมาะสมที่สุดในการอธิบายสถานการณ์นี้

 

"เราไม่มีสิ่งใดที่ต้องกลัว เว้นแต่ตัวความกลัวเอง" ("We have nothing to fear but fear itself.")

 

มีการประเมินแล้วว่ามีเว็บไซต์ในโลกมากกว่าสองพันล้านเว็บไซต์ ซึ่งในนี้มีเว็บไซต์ภาพลามกอย่างต่ำกว่าสิบล้านเว็บไซต์ แต่การที่จะบล็อกเว็บไซต์นับล้านนั้นอยู่ในความสามารถที่จะทำได้ของรัฐบาลไทยหรือ และค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลที่จะต้องใช้ในการนี้มันคุ้มค่าจริงๆหรือ หรือว่านี่เป็นแค่การสร้างกระแสเพื่อกลบเกลื่อนวาระซ่อนเร้นอันชั่วร้ายของรัฐบาลต่างหาก

 

การเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ตส่งผลกระทบต่อการศึกษาวิจัย การแข่งขันทางธุรกิจ เสรีภาพสื่อ และการศึกษาของแต่ละครอบครัว และยังรวมถึงสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานอื่นๆ เราประเมินพบว่าอย่างน้อยร้อยละ 40 ของบัณฑิตไทยจะไม่สามารถพัฒนาความคิดได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่ ส่งผลกระทบต่อการทำวิทยานิพนธ์และรายงานทางวิชาการเพราะผลจากการบล็อกเว็บไซต์

 

นี่หมายความว่าบัณฑิตของไทยจะไม่สามารถที่จะไปแข่งขันกับบัณฑิตในต่างประเทศ เราควรที่จะรับรู้ว่าประเทศของเรานั้น ห้องสมุดขาดแคลนเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในต่างจังหวัด สำหรับหลายคนนั้นอินเตอร์เน็ตเป็นหนทางเดียวสำหรับการค้นหาข้อมูลและข่าวสาร

 

อินเตอร์เน็ตในปัจจุบันเป็นที่เดียวที่ความเห็นต่างๆนั้นเท่าเทียมกัน เป็นกลาง และปราศจากผลประโยชน์เชิงธุรกิจ จึงเป็นการสมควรแล้วหรือที่จะให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมาตัดสินว่าความคิดเห็นไหนไม่สมควรเพื่อประโยชน์ของพวกเขา ดังนั้น เราจึงไม่เชื่อว่าอินเตอร์เน็ตนั้นสมควรที่จะถูกควบคุม ตรวจสอบ หรือถูกจัดการในทุกรูปแบบ  

 

ทางกลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทยเป็นภาคีของกลุ่มสนับสนุนเสรีภาพบนอินเตอร์เน็ตของโลก (Global Internet Liberty Campaign (GILC) และได้รับแถลงการณ์สนับสนุนจากองค์กรระหว่างประเทศมากกว่า 70 องค์กรซึ่งรวมถึงมูลนิธิ Electronic Frontier Foundation (EFF) ที่เว็บไซต์ของมูลนิธิเองก็ถูกบล็อกโดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ขณะนี้โลกกำลังจับตามองประเทศไทยอยู่ การเซ็นเซอร์อินเตอร์เน็ตนั้นเป็นสิ่งที่ไม่สมควร น่าขยะแขยง และผิดกฎหมายในประเทศไทยอันเป็นรัฐประชาธิปไตย"

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท