Skip to main content
sharethis

มูลนิธิศักยภาพชุมชนออกแถลงการณ์จี้ไทยในฐานะดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พร้อมปล่อยตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์ และนักโทษทางการเมืองที่ถูกควบคุมตัวตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ

 

 
แถลงการณ์มูลนิธิศักยภาพชุมชนเรียกร้องให้ยกเลิกพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
และให้ปล่อยตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์
 
ในฐานะที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติ ( color:black">The United Nations Human Rights Council) ซึ่งต้องทำหน้าที่ดูแล ตรวจสอบ ปกป้อง ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ควรต้องรักษาหลักการสิทธิมนุษยชน และเป็นแบบอย่างให้กับสิทธิมนุษยชนทั่วโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่าทั้งโลกกำลังจับตาดูการพัฒนาการสิทธิมนุษยชนในประเทศอย่างใกล้ชิดหลังเหตุการณ์ความรุนแรงในเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ การคงพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งเป็นที่ประจักษ์ว่ามีปัญหาในการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในประเทศไว้ จะไม่เป็นผลดีต่อสถานะสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยในฐานะประธานขององค์การที่ทำงานเพื่อพิทักษ์สิทธิมนุษยชนอย่างแน่นอน
 
1. จึงขอให้ยกเลิกการใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนแล้วว่าสถานการณ์ความวุ่นวายในประเทศได้จบลงแล้วโดยรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ การคงพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ในขณะที่สถานการณ์ความวุ่นวายนั้นจบลงแล้ว จึงเป็นการใช้กฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิและเสรีภาพ เพื่อควบคุม และสร้างความหวาดกลัวให้กับผู้ที่มีความคิดทางการเมืองที่แตกต่างกับรัฐบาล (Rule by Law) ซึ่งแตกต่างจากการใช้กฎหมายเพื่อการปกป้อง คุ้มครองประชาชน และรักษาประเทศให้อยู่ระเบียบแบบแผน (Rule of Law) การคงไว้ซึ่งพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งเป็น Rule by Law ที่มุ่งควบคุม จำกัดสิทธิของประชาชนจึงเป็นการขัดต่อกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) ซึ่งเน้นหลักการ Rule of Law ที่มุ่งปกป้อง คุ้มครองสิทธิของพลเมืองและปัจเจกบุคคล ประเทศไทยได้ให้สัตยาบรรณและมีพันธะผูกผันที่ต้องปฏิบัติตามกติกานี้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2540 ซึ่งกติการะหว่างประเทศฉบับนี้ว่าด้วยการเคารพและการประกันสิทธิเสรีภาพทางการเมืองของพลเมือง ฯ ตามข้อ1. ในมาตราที่ 2. วรรค2. กล่าวไว้ว่า “รัฐภาคีแต่ละรัฐแห่งกติกานี้รับที่จะเคารพและประกันแก่ปัจเจกบุคคลทั้งปวงภายในดินแดนของตนและและภายใต้เขตอำนาจของตนในสิทธิทั้งหลายที่รับรองไว้ในกติกานี้โดยปราศจากการแบ่งแยกใดๆ อาทิ เชื้อชาติ ผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความคิดเห็นทางการเมือง หรือความคิดเห็นอื่นใด เผ่าพันธุ์แห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นๆ”
 
2. เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2553 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทำการควบคุมตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์ นักเคลื่อนไหวทางสังคม ตามหมายควบคุมตัวพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เลขที่ 116/2523 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2553 ในขณะที่นายสมบัติ และพวกได้ทำการจัดกิจกรรมอย่างสงบโดยมีการผูกผ้าสีแดงที่บริเวณป้ายแยกราชประสงค์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมรำลึกถึงผู้สูญเสียจากเหตุการณ์การสลายการชุมนุมตั้งแต่วันที่ 14 color:black"> – 19 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งหมายควบคุมตัวฉบับนี้สืบเนื่องมาจากกรณีที่นายสมบัติ บุญงามอนงค์ และพวก ได้รวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรมพบปะแลกเปลี่ยนข่าวสาร และรำลึกถึงผู้สูญเสีย ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2553 ณ บริเวณซอยลาดพร้าว 71 การควบคุมตัวในครั้งนี้จึงเป็นการตั้งคำถามต่อการใช้อำนาจของรัฐ และความชอบธรรมของพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งมีทีท่าว่ารัฐบาลโดยนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จะทำการต่ออายุการใช้พระราชกำหนดฯ นี้ต่อไปอีก มูลนิธิศักยภาพชุมชนจึงขอยืนยันสิทธิทางการเมืองและพลเมืองของนายสมบัติ บุญงามอนงค์ และด้วยความเคารพต่อศาลขอให้มีการทบทวนคำสั่งศาลที่ให้มีการฝากขังนายสมบัติ บุญงามอนงค์ ต่ออีกเจ็ดวัน เนื่องจากการจัดกิจกรรมรำลึกถึงผู้เสียชีวิต และความสูญเสียที่เกิดขึ้นของนายสมบัติ บุญงามอนงค์ อันเป็นเหตุให้รัฐออกหมายควบคุมตัวนั้น เป็นการกระทำที่ได้รับการรับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศ และตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 45 ความว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายอื่น... การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงแห่งรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพเกียรติยศ ชื่อเสียงสิทธิในครอบครัวหรือความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน” และการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะกระทำมิได้ ตามมาตรา 29 แห่งราชอาณาจักรไทย
 
3. การปล่อยตัวนายสมบัติ บุญงามอนงค์ และนักโทษการเมืองคนอื่นๆ ซึ่งถูกควบคุมตัวตามพระราชกำหนดบริหารราชการให้สถานการณ์ฉุกเฉิน จะเป็นการแสดงความเคารพอย่างมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยต่อหลักการสากลสิทธิมนุษยชนและเป็นการสร้างบรรยากาศของการปรองดองแห่งชาติที่รัฐต้องการให้เกิดขึ้น ขณะนี้ประเทศชาติต้องการธรรมาภิบาล และคุณธรรมอันสูงส่งของผู้นำที่จะนำพาประเทศชาติให้รอดพ้นจากภัยพิบัติทางการเมือง รัฐบาลควรหามาตรการทางการเมืองที่มุ่งส่งเสริมการพัฒนา สิทธิมนุษยชน ประชาธิปไตย และคุ้มครองสิทธิทางการเมือง และสิทธิพลเมืองของประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อความสงบเย็นและสันติสุขของประชาชนทุกคนในชาติ รวมถึงการหามาตรการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการจับกุม คุมขังนักโทษทางการเมือง หรือนักโทษความคิดในไทยอีกในอนาคต
 
 
มูลนิธิศักยภาพชุมชน
 5 กรกฎาคม 2553
 
 
รายชื่อผู้สนับสนุนแถลงการณ์
 
กฤตยา อาชวนิจกุล
กาญจน์ชนิษฐา เอกแสงศรี
กาญจนา จันทร์วิเมลือง
ก้าวหน้า เสาวกุล
กิตติกา บุญมาไชย
กิตติพล เอี่ยมกมล
เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร
เกียรติศักดิ์ ประทานัง
จิรพรรณ สิงห์โตทอง
จุฑิมาศ สุกใส
ฉันทลักษณ์ รักษาอยู่
ชมพู สานุกิจไพศาล
ชัยพร พยาครุฑ
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
ณภัทร ศรีพันธุ์
ณัฐภรณ์ ทัศนภิรมย์
ณัฐยา เดวิดสัน
ตากวาง สุขเกษม
ธัญสก พันสิทธิวรกุล
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์
นครินทร์ วิศิษฎ์สิน
นที สรวารี
นรินทร์ จีนเชื่อม
นริศ เทศประสิทธิ์
นิธินันท์ ยอแสงรัตน์
เนตรชนก แดงชาติ
บุญยืน สุขใหม่
ประสิทธิพร กาฬอ่อนศรี
ฝนทิพย์ กิติเรียงลาภ
พวงจันทร์ อุตมา
พวงทอง ภวัครพันธุ์
พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
พิชาพงศ์ ธีระวจี
พิฐชญาณ์ ธนรัฐภัสสรณ์
พิพัฒน์ สุยะ
พิมพ์พิมล นาคสุทิน
พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ
พิสิต ศรีปราสาททอง
พีรดา จุ้ยนุช
เพ็ญพิณิช โชคบำรุง
เพ็ญวดี นพเกตุ มานนท์
ไพโรจน์ พฤกษ์ปาริชาติ
ภมร ภูผิวผา
ภมรมาศ ตันฑุลทุกุล
มานะ สุขจันทร์
มินตา ภณปฤณ
เมษ จารุอมรจิต
รวินทร์ คำโพธิ์ทอง
รัตตินันท์ เรีองทวีโรจน์
วรพล รินสถิตนนท์
วัชรพงศ์ โทบุดดี
วัฒนชัย วินิจจะกูล
ศราวุฒิ ประทุมราช
ศิรดา เขมานิฏฐาไท
ศุภชัย ศรีพันธุ์
ส่งสุข สุขสวัสดิ์
สมภพ ลี้สุวรรณ
สังคม จิรชูสกุล
สิริพิม สุทธิสารากร
สิริรัฐ ทองเจริญ
สิริลักษณ์ ศรีประสิทธิ์
สุดา รังกุพันธุ์
สุวรรณา เดอะเมลเดอร์
สุวรรณา ตาลเหล็ก
โสภา ต่อติด
อภิญญา เวชยชัย
อ้อมขวัญ เวชยชัย
  

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net