Skip to main content
sharethis
1 มี.. 54 - เครือข่ายนักกฎหมาย นักวิชาการและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์สนับสนุนขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส. หรือ P move) โดยมีรายละเอียดดังนี้
 
 
แถลงการณ์เครือข่ายนักกฎหมาย นักวิชาการและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน
 
ตามที่ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส. หรือ P move) ซึ่งเป็นการรวมตัวของเกษตรกรและคนจนเมืองที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมและได้รับ ผลกระทบจากนโยบายการจัดการทรัพยากรและทิศทางการพัฒนาประเทศของรัฐที่ละเลย ต่อสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยกลุ่มคนจน 4 เครือข่าย 3 กรณีปัญหา คือ เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย, เครือข่ายสลัม 4 ภาค, สมัชชาคนจน กรณีเขื่อนปากมูล, และเครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง ชมรมประมงพื้นบ้านจังหวัดตรัง กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้พิบูลมังสาหาร อุบลราชธานี กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากโรงไฟฟ้าชีวมวลและคัดค้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อุบลราชธานี ได้ปักหลักชุมนุมเรียกร้องต่อรัฐบาลเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหา ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า ตั้งแต่วันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางสังคม
 
เครือ ข่ายนักกฎหมาย นักวิชาการและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน เห็นว่าการละเมิดสิทธิของเกษตรกรและคนจนเมืองเป็นปัญหาที่เกิดจากนโยบายและ กฎหมายที่ให้อำนาจหน่วยงานรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐอยู่เหนือสิทธิมนุษยชนและ สิทธิชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนเพื่อ ประโยชน์ของชุมชนและประโยชน์สาธารณะร่วมกัน จึงมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมกับคนจน  ก่อให้เกิดการฟ้องคนจนเป็นจำเลยมากมาย เป็นการตอกย้ำให้เห็นความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ถึงขั้นวิกฤติในปัจจุบัน  ท่ามกลางสถานการณ์ดังกล่าวกระบวนการยุติธรรมนอกจากไม่สามารถเป็นพื้นที่ให้คนจนต่อสู้คดีได้อย่างเสมอภาคกันในทางกฎหมายแล้ว  ยังเป็นกลไกหนึ่งที่สนับสนุนการแย่งชิงทรัพยากรของชาวบ้านมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน
 
บันเยียวยาวามสิทธิมนุษยชนเครือข่ายนักกฎหมาย นักวิชาการและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน จึงมีข้อเสนอต่อการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ดังนี้
 
๑. เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้รับรองสิทธิชุมชนและมีผลบังคับใช้โดยทันที ย่อมส่งผลให้กฎหมาย  ระเบียบหรือข้อบังคับใดที่ขัดต่อหลักการสิทธิชุมชนไม่มีผลบังคับใช้เพราะขัดรัฐธรรมนูญ  ดัง นั้น รัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ รวมถึงการกำหนดแนวนโยบายในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลควรสอดคล้องเป็นไปตามข้อ เสนอของขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม  มีเอกภาพและมีประสิทธิภาพในการนำแนวนโยบายไปปฏิบัติจริงโดยเจ้าหน้าที่ กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

๒.  การฟ้องคดีประชาชนที่อยู่อาศัยและทำกินในที่ดินของรัฐ ในข้อหาต่างๆ ทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา เช่น บุกรุกทำลายป่า เรียกค่าเสียหายทำให้โลกร้อน  ชุมนุมมั่วสุมก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ฯลฯ เป็นจำเลยจำนวนมากเหล่านี้ ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างสำคัญ และเป็นการมองข้ามเจตนาและศักยภาพของชุมชนในการปกป้องทรัพยากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  สำนักงานอัยการ  สภา ทนายความ รวมทั้งบุคคลากรในกระบวนการยุติธรรม ควรทบทวนบทบาทการทำหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายและการพิจารณาคดีความด้าน ที่ดินและทรัพยากร  ที่มีลักษณะแตกต่างจากคดีความทั่วไปให้ เป็นไปในทางที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในพื้นที่และคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและ สิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญอย่างเป็นอิสระ  อันเป็นบทบาทสำคัญของกระบวนการยุติธรรมในการคุ้มครองปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน  ไม่ติดอยู่ในความยุติธรรมตามกรอบกฎหมายที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ  แต่เพื่อสร้างความยุติธรรมทางสังคมให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง

เครือ ข่ายนักกฎหมาย นักวิชาการและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนจะติดตามการแก้ไขปัญหาของภาครัฐและ ดำเนินการเข้าไปมีส่วนร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ของสังคมในการแก้ไขปัญหาเพื่อยืนยันถึงความชอบธรรมของชุมชนที่จะต้องมีสิทธิ มีอำนาจในการกำหนดทิศทางการจัดการทรัพยากรของตนเอง และจะเป็นส่วนหนึ่งในการก่อให้เกิดการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมให้คนจนสามารถ เข้าถึงและให้ความเป็นธรรมแก่คนจนมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันต่อไป
 
ด้วยความเคารพในสิทธิเสรีภาพของประชาชน
เครือข่ายนักกฎหมายและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชน
  มีนาคม ๒๕๕๔
 
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน
โครงการนิติธรรมสิ่งแวดล้อม
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)
มูลนิธิผสานวัฒนธรรม
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน
ศูนย์ข้อมูลชมชน
โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw) 
ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล  สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ
วสันต์  พานิช ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนานักกฎหมายและสิทธิมนุษยชน
.ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์  คณะสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลับเชียงใหม่
ดร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทศพล ทรรศนกุลพันธ์  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
 
 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net