Skip to main content
sharethis

ปัจจุบัน หลายๆ พื้นที่ในจีนกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงาน ขณะที่บัณฑิตจบใหม่บางส่วนยังประสบปัญหาหางานยาก นับตั้งแต่ช่วงต้นปีนี้เป็นต้นมา เมื่อเศรษฐกิจทั่วโลกโดยรวมกระเตื้องขึ้น วิสาหกิจหลายต่อหลายรายของจีนมีใบสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาก แต่ขาดแคลนพนักงานที่มีทักษะอย่างหนัก โดยเฉพาะในมณฑลทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้ซึ่งเป็นมณฑลที่มีความต้องการแรงงานสูงมาโดยตลอด ทั้งสาขาการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า การแปรรูปเครื่องจักรกล การผลิตเสื้อผ้าและรองเท้า ซึ่งเป็นที่สนใจของสังคมอย่างยิ่ง ปัจจุบันนี้ ผู้ใช้แรงงานในมณฑลทางภาคใต้ของจีนส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากชนบท ร้อยละ 50 เป็นผู้เกิดหลังยุค 80 ซึ่งมีแรงกดดันจากการแข่งขันในสังคมค่อนข้างสูง สถิติระบุว่า ตั้งแต่หลังตรุษจีนถึงบัดนี้ ในนครเซี่ยงไฮ้ ขาดแคลนแรงงานถึง 7,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิต ในเมืองเซินเจิ้นของมณฑลกวางตุ้ง การขาดแคลนแรงงานถึง 200,000 คน และในมณฑลอันฮุย มีจำนวนสูงถึง 250,000 คน ปัญหาขาดแคลนแรงงานทำให้บริษัทในพื้นที่เหล่านี้จำเป็นต้องเพิ่มค่าจ้างหรือสวัสดิการให้แก่ลูกจ้าง เช่น ปักกิ่งได้ประกาศเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำเป็นเดือนละ 1,160 หยวน และมณฑลเจียงซูเพิ่มจาก 960 หยวนเป็น 1,140 หยวน นครกวางโจวก็เพิ่มเป็น 1,300 หยวนโดยเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 18.2 นอกจากนี้ ค่าแรงในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมแม่น้ำแยงซีเกียงของจีนส่วนใหญ่ก็ปรับเพิ่มขึ้นด้วย เช่น คนขับรถตู้คอนเทเนอร์เพิ่มเป็น 4,000 หยวน ช่างซ่อมรถยนต์เพิ่มขึ้นถึง 1,500-3,000 หยวน และบุรุษไปรษณีเพิ่มเป็น 2,500 หยวน เป็นต้น นักวิเคราะห์เห็นว่า ภาวะเช่นนี้เกิดขึ้นในบางพื้นที่ บางสาขา และบางช่วงเวลา ผลการสำรวจพบว่า หลังตรุษจีน วิสาหกิจมีความต้องการว่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว บางกิจการในพื้นที่ชายฝั่งทะเลจึงว่าจ้างแรงงานค่อนข้างยาก ทั้งนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการโยกย้ายฐานการผลิต และการที่แรงงานเกษตรกรมีความประสงค์จะหางานทำในภูมิลำเนาเดิม\ นอกจากนี้ แรงงานรุ่นใหม่จากชนบทมีเงื่อนไขในการรับจ้างสูงขึ้น เมื่อเทียบกับรุ่นพ่อ แรงงานรุ่นใหม่ซึ่งเกิดหลังปีทศวรรษ 1980 กระทั่ง 1990 มีสรีมากขึ้น และมีวุฒิการศึกษาสูงขึ้น จึงต้องการค่าจ้าง การประกันและสวัสดิการสูงขึ้น ส่วนสื่อมวลชนเห็นว่า ภาวะการขาดแรงงานเกิดจากความเร็วในการเป็นเมืองของจีนยังช้ากว่าการเป็นอุตสาหกรรม อย่างมาก ความเร็วในการเป็นเมือง ซึ่งหมายถึงประชาชนที่อาศัยในเมืองนานกว่า 6 เดือนขึ้นไปมีเพียงแค่ 48% เท่านั้น ขณะที่ความเร็วในการเป็นอุตสาหกรรมอยู่ที่ 70% เกษตรกรจำนวนมากเข้ามาเพื่อทำงานในเมืองแต่ทิ้งครอบครัวไว้เบื้องหลังในชนบท ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้แรงงานจากชนบทเหล่านี้ไม่สามารถรับจ้างทำงานระยะยาวในเมืองได้ การจะจูงใจให้คนงานเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเมืองน่าจะเป็นเรื่องสำคัญ ผลการสำรวจของกระทรวงทรัพยากรแรงงานและประกันสังคมจีนระบุว่า จนถึงสิ้นเดือนมีนาคม ภาวะการขาดแคลนแรงงานในมณฑลกวางตุ้งและฝูเจี้ยนมีเกือบล้านคน ส่วนมณฑลเจ้อเจียงก็มีตำแหน่งงานว่างประมาณร้อยละ 17 อย่างไรก็ตาม ในขณะที่จีนขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง บัณฑิตจบใหม่จากมหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัยบางส่วนกลับประสบปัญหาหางานยาก คนที่วิตกกับเรื่องนี้ไม่เฉพาะนักศึกษาและพ่อแม่ของพวกเขาเท่านั้น ผู้นำจีนก็วิตกเรื่องนี้อย่างมาก เมื่อสองสามเดือนที่แล้ว นายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีจีนไปเยี่ยมเยียนนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงปักกิ่ง เขากล่าวต่อนักศึกษาอย่างตรงไปตรงมาว่า \"ถ้าพวกคุณกลัวจะตกงาน ขอให้รู้ว่า ผมกลัวยิ่งกว่าพวกคุณ\" พร้อมให้สัญญาว่า การหางานให้บัณฑิตเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล ภาวะที่บัณฑิตจบใหม่หางานยากเกิดจากสาเหตุหลายประการ ประการแรกคือ บุคลากรที่จบระดับอุดมศึกษาล้นตลาด ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ สาเหตุสำคัญเกิดจากการวางแผนผลิตบัณฑิตไม่สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ ตำแหน่งงานขยายไม่ทันการเพิ่มขึ้นของบัณฑิตจบใหม่ ปีลังๆ นี้ มหาวิทยาลัยในจีนพากันขยายการรับนักศึกษาทำให้บัณฑิตจบใหม่ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เดือนกรกฎาคมปีนี้ บัณฑิตจบใหม่ในจีนจะสูงถึง 6.6 ล้านคน แต่การเติบโตของเศรษฐกิจจีนในปัจจุบันกลับไม่สามารถรองรับบุคลากรระดับอุดมศึกษาจำนวนมากเช่นนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคาดว่า ภายใต้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวขึ้น ปัญหาบัณฑิตใหม่หางานยากในปีนี้อาจทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้บัณฑิตจบใหม่หางานยากคือ นักศึกษามีความคาดหวังสูงเกินไป โดยคิดว่า ตนเป็นผู้มีความรู้ ต้องมีฐานะทางสังคมเหนือกว่าผู้ใช้แรงงานทั่วไป ดังนั้น จึงเลือกงานมาก นักศึกษาอเมริกันมีความฝันในแบบของเขา คือ เรียนสูงๆ ขยันทำงาน แล้วจะประสบความสำเร็จและร่ำรวย นักศึกษาจีนก็มีความฝันในแบบของจีนที่ยึดมั่นมานานแล้ว นับตั้งแต่ที่จักรพรรดิจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่นได้ทรงริเริ่มระบบการสอบจอหงวนเป็นครั้งแรก ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการคัดเลือกคนเข้ารับราชการตามสติปัญญาและความสามารถ มิใช่ด้วยชาติกำเนิด ความฝันในแบบจีนก็ไม่ต่างจาก ความฝันในแบบอเมริกัน ซึ่งมีศรัทธามั่นคงต่อการเรียนสูงๆ และขยันทำงาน แล้วก็จะได้ดิบได้ดี แต่ดูเหมือนว่า ชาวจีนอาจจะให้ความสำคัญกับคุณค่าของการศึกษามากเป็นพิเศษ การศึกษาเป็นเหมือนหลักประกันให้หนุ่มสาวชาวจีนสามารถถีบตัวขึ้นมาจากความยากจน และมีชีวิตที่ดีกว่าทั้งสำหรับตัวพวกเขาเองและพ่อแม่ แต่มาบัดนี้ หนุ่มสาวชาวจีนนับล้านๆ คนกำลังต้องเผชิญกับความจริงที่ว่า การศึกษาสูงอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้ความฝันกลายเป็นความจริง จากข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อสิ้นปีที่แล้ว บัณฑิตจบใหม่ของจีนจำนวนหลายแสนคนยังคงตกงาน เพราะว่า บัณฑิตใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี แต่สถานประกอบการกลับต้องการบุคลากรระดับอุดมศึกษาไม่มาก จึงทำให้จีนประสบปัญหาบัณฑิตใหม่หางานยาก สื่อมวลชนบางส่วนเห็นว่า การพัฒนาของสถาบันอุดมศึกษาไม่ทันกับการพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้บัณฑิตที่ผลิตออกมาไม่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ถ้าสถาบันอุดมศึกษาจัดตั้งสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน สอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ปัญหาบัณฑิตจบใหม่หางานยากก็จะผ่อนคลายลงบ้าง ผู้ประกอบการหลายๆ คนเห็นว่า บัณฑิตใหม่ส่วนใหญ่มีความคาดหวังสูงมาก จนกลายเป็นอุปสรรคในการหางาน เช่น นักศึกษาบางคนเลือกงานมาก สร้างเงื่อนไขจนน่ารำคาญ เช่น ทำงานดึกไม่ได้ ต้องหยุดเสาร์อาทิตย์ ไม่ชอบทำงานกับคนรุ่นเก่า ไม่สามารถไปต่างจังหวัด นักศึกษาบางคนคาดหวังในอัตราค่าจ้างสูงเกินไป เงินเดือนต้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ 3

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net