Skip to main content
sharethis

ค้านการสร้าง “เขื่อนไซยะบุรี” กั้นแม่น้ำโขง หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม เดือดร้อนทั้งระบบนิเวศน์-สัตว์น้ำ-คน พร้อมยื่นหนังสือผ่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ส่งถึงรัฐบาลจี้ยกเลิกแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการฯ

 
 
วันนี้ (6 ธ.ค.54) เมื่อเวลาประมาณ 9.30 น.เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง แถลงข่าว “รวมพลังปกป้องแม่น้ำโขง” ณ บริเวณเชิงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จ.หนองคาย เรียกร้อง ให้รัฐบาลประเทศลุ่มน้ำโขง ทั้งไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม แสดงเจตจำนงต่อพันธกรณีตามกฎหมายตามความตกลงแม่น้ำโขง พ.ศ.2538 ในการแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงและป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อระบบ นิเวศของแม่น้ำ และวิถีชีวิตของประชาชนกว่า 60 ล้านคนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ซึ่งได้พึ่งพาอาศัยแม่น้ำโขงทั้งโดยตรง และโดยอ้อมในโอกาสการประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขงครั้งที่ 18 ณ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 7-9 ธ.ค.นี้
 
พร้อมออกแถลงการณ์ “เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ให้ยุติการสร้างเขื่อนไซยะบุรี”เรียกร้องให้ผู้นำรัฐบาลไทย รับฟังเสียงคัดค้านโครงการเขื่อนไซยะบุรี ที่มาจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งจากประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน และทั่วโลกในขณะนี้ โดยยกเลิกแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรีโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเท่า นั้น แต่ยังได้ช่วยร่วมปกป้องทรัพยากรลุ่มแม่น้ำโขง และวัฒนธรรมของประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขง ให้สามารถดำรงต่อไปได้อย่างยั่งยืน
 
แถลงการณ์ ดังกล่าวระบุข้อค้นพบของการศึกษาต่างๆ ที่สนับสนุนให้ยกเลิกโครงการดังกล่าว โดยเฉพาะรายงานการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ ของ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ซึ่งพบว่าเขื่อนไซยะบุรีจะส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตการอพยพของพันธุ์ปลา และอาจเป็นเหตุให้มีการสูญพันธุ์ของพันธุ์สัตว์น้ำกว่า 41 ชนิดในแม่น้ำโขง โดยรายงานได้เสนอให้ชะลอการตัดสินใจก่อสร้างเขื่อนแม่น้ำโขงสายหลักออกไป เป็นเวลา 10 ปี เนื่องจากไม่มีความรู้เกี่ยวกับแม่น้ำโขงอย่างเพียงพอสำหรับการตัดสินใจ สร้างเขื่อนดังกล่าวนี้
 
นอกจากนี้ จากประสบการณ์ตรงของชุมชนริมน้ำโขง หลายปีที่ผ่านได้รับรู้ถึงผลกระทบของการสร้างเขื่อน 4 แห่งในประเทศจีนซึ่งกั้นแม่น้ำโขง ที่แม้จะอยู่ห่างไกลกว่าโครงการเขื่อนไซยะบุรี แต่ได้สร้างผลกระทบต่อคนลุ่มน้ำโขงตอนล่างอย่างชัดเจน
 
“พวก เราคาดหวังว่ารัฐบาลไทย จะไม่คำนึงถึงผลประโยชน์เชิงธุรกิจของคนส่วนน้อย แต่ทำลายวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขงหลายล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ควรเคารพภูมินิเวศ-วัฒนธรรมของชุมชน โดยไม่คำนึงถึงพรมแดนเป็นตัวตั้ง เพื่อให้สังคมสุวรรณภูมิอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขต่อไป” ตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขงกล่าว
 
ขณะที่หนังสือพิมพ์ ข่าวสดออนไลน์ รายงาน ว่า เวลาประมาณ 11.00 น.วันเดียวกัน (6 ธ.ค.54)ที่ลานน้ำพุพญานาค อ.เมือง จ.หนองคาย กลุ่มเครือข่ายองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน ประมาณ 500 คน ร่วมรณรงค์ปกป้องแม่น้ำโขง ต่อต้านการสร้างเขื่อนไซยะบุรี ที่ประเทศลาว กั้นแม่น้ำโขง โดยยื่นหนังสือข้อกังวลของกลุ่มเครือข่ายผ่านรองผู้ว่าฯ เพื่อส่งต่อให้รัฐบาลพิจารณายกเลิกแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะ บุรี ยกเลิกการก่อสร้างเขื่อน และขอให้ร่วมกันปกป้องแม่น้ำโขง
 
พร้อม มอบอาหารแห้ง ประเภทปลาแม่น้ำโขงปรุงสำเร็จ, กล้วย, สับปะรด และน้ำดื่มบรรจุขวด จำนวนหนึ่งให้กับนายวิเชียร ปิยะวรากร รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย นำส่งต่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในภาคกลาง
 
นาย อิทธิพล คำสุข เลขานุการเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จังหวัดภาคอีสาน กล่าวว่า เครือข่ายติดตามกรณีการก่อสร้างเขื่อนไซยะบุรี ที่ประเทศลาว โดยบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ของไทยเป็นผู้ก่อสร้าง มีธนาคารของไทย 4 แห่งให้การสนับสนุนเงินทุน หลังจากนั้นการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจะรับซื้อไฟฟ้าจากเขื่อนแห่งนี้ ซึ่งเครือข่ายฯ มีความวิตกว่าการก่อสร้างเขื่อนดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ในแม่น้ำ โขง กระทบต่อพันธุ์ปลา สิ่งแวดล้อมปริมาณน้ำในแม่น้ำโขง และวิถีชีวิตคนลุ่มน้ำในอนาคต จึงอยากให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องพิจารณาผลกระทบดังกล่าว หากเป็นไปได้อยากให้ชะลอการก่อสร้าง หรือยกเลิกโครงการไป
 
นาย อิทธิพล กล่าวด้วยว่า หลังจากนี้จะมีการรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนให้มากขึ้น เพื่อให้ทุกฝ่ายช่วยกันรณรงค์ต่อต้านการสร้างเขื่อนให้เป็นผลสำเร็จ
 
 
 
แถลงการณ์
 
เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง
 
ให้ยุติการสร้างเขื่อนไซยะบุรี
 
ใน นามของเครือข่ายประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง อันประกอบด้วยจังหวัดเชียงราย เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี ได้ทำงานติดตามกรณีเขื่อนไซยะบุรี บนแม่น้ำโขง ในพื้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชนลาว (สปป.ลาว) มาโดยตลอด ในโอกาสการประชุมคณะมนตรีแม่น้ำโขงครั้งที่ 18 ณ ประเทศกัมพูชา เครือข่ายฯ จึงขอให้ดำเนินการยกเลิกโครงการเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งถึงแม้เขื่อนจะตั้งอยู่ใน สปป.ลาว แต่โครงการเขื่อนไซยะบุรีก็เกี่ยวข้องกับประเทศไทยโดยตรง เนื่องจากมีบริษัท ช.การช่างของไทยเป็นผู้พัฒนาโครงการ โดยได้รับการสนับสนุนเงินทุนจาก 4 ธนาคารของไทย ขณะที่ผู้รับซื้อไฟฟ้าคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เช่นเดียวกัน
 
การ ประชุมคณะมนตรีคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงครั้งนี้เป็นโอกาสสุดท้ายที่รัฐบาลใน ลุ่มน้ำโขง ทั้งไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม จะแสดงเจตจำนงต่อพันธกรณีตามกฎหมายตามความตกลงแม่น้ำโขง พ.ศ.2538 ในการแบ่งปันการใช้ประโยชน์จากแม่น้ำโขงและป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อระบบ นิเวศของแม่น้ำ และวิถีชีวิตของประชาชนกว่า 60 ล้านคนในพื้นที่ลุ่มน้ำโขง ซึ่งได้พึ่งพาอาศัยแม่น้ำโขงทั้งโดยตรง และโดยอ้อม
 
เรา ขอเรียกร้องให้ผู้นำรัฐบาลไทย ได้รับฟังและพิจารณาถึงเสียงคัดค้านโครงการเขื่อนไซยะบุรี ที่มาจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งจากประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน และทั่วโลกในขณะนี้
 
นับ แต่มีการเสนอให้สร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขง พบว่ามีการศึกษาจำนวนมากซึ่งล้วนแต่ให้ข้อมูลว่า เขื่อนไซยะบุรีจะมีผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อพันธุ์ปลา การหาปลา ระบบนิเวศ และวิถีชีวิตของประชาชนในลุ่มน้ำโขง โดยยังไม่มีเทคโนโลยีใดๆ ที่พิสูจน์ได้ว่าจะสามารถแก้ไขบรรเทาผลกระทบเหล่านี้ได้จริง
 
ข้อ ค้นพบของการศึกษาต่างๆ จากนักวิชาการ ยังแสดงให้เห็นความจำเป็นที่จะต้องยกเลิกโครงการนี้ โดยเฉพาะรายงานการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ ของ คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง พบว่าเขื่อนไซยะบุรีจะส่งผลกระทบต่อวงจรชีวิตการอพยพของพันธุ์ปลา และอาจเป็นเหตุให้มีการสูญพันธุ์ของพันธุ์สัตว์น้ำกว่า 41 ชนิดในแม่น้ำโขง รวมทั้งปลาบึกด้วย รายงานได้เสนอให้ชะลอการตัดสินใจก่อสร้างเขื่อนแม่น้ำโขงสายหลักออกไปเป็น เวลา 10 ปี เนื่องจากไม่มีความรู้เกี่ยวกับแม่น้ำโขงอย่างเพียงพอสำหรับการตัดสินใจ สร้างเขื่อนดังกล่าวนี้
 
นอก จากนี้ จากประสบการณ์ตรงของชุมชนริมน้ำโขง หลายปีที่ผ่านมาพวกเราได้รับรู้ถึงผลกระทบของการสร้างเขื่อน 4 แห่งในประเทศจีนซึ่งกั้นแม่น้ำโขง ที่แม้จะอยู่ห่างไกลกว่าโครงการเขื่อนไซยะบุรี แต่ได้สร้างผลกระทบต่อคนลุ่มน้ำโขงตอนล่างอย่างชัดเจน โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ ระดับน้ำที่ขึ้นลงผิดธรรมชาติ และความเสียหายต่อพันธุ์ปลาอพยพ การเพาะปลูก และการขนส่ง ซึ่งหมายถึงความเสียหายต่อการหาอยู่หากินของชุมชนตลอดสายน้ำ  และหากมีการสร้างเขื่อนไซยะบุรีสำเร็จ ประชาชนลุ่มน้ำโขงเชื่อว่าจะเกิดผลกระทบกับพี่น้องชาวลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย รวมถึงคนริมฝั่งแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง อีกจำนวนมากที่ต้องตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก
 
องค์ ความรู้ที่สะสมมาในช่วงหลายปีนี้ ทั้งการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญ และประสบการณ์ของชาวบ้านเอง พิสูจน์จนสิ้นสงสัยแล้วว่า เขื่อนไซยะบุรีจะเป็นภัยคุกคามที่สำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคแม่ น้ำโขง และจะทำลายความอยู่ดีกินดี ความผาสุกของพี่น้องในลุ่มน้ำโขง
 
ดัง นั้น เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง จึงขอเรียกร้อง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้นำรัฐบาลและผู้กำกับดูแลรัฐมนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสนับ สนุนการสร้างเขื่อนดังกล่าว โดยยกเลิกแผนการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเขื่อนไซยะบุรี โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยเท่า นั้น แต่ยังได้ช่วยร่วมปกป้องทรัพยากรลุ่มแม่น้ำโขง และวัฒนธรรมของประชาชนในลุ่มแม่น้ำโขง ให้สามารถดำรงต่อไปได้อย่างยั่งยืน
 
ดัง นั้นพวกเราคาดหวังว่ารัฐบาลไทย จะไม่คำนึงถึงผลประโยชน์เชิงธุรกิจของคนส่วนน้อย แต่ทำลายวิถีชีวิตของคนลุ่มน้ำโขงหลายล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ควรเคารพภูมินิเวศ-วัฒนธรรมของชุมชน โดยไม่คำนึงถึงพรมแดนเป็นตัวตั้ง เพื่อให้สังคมสุวรรณภูมิอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขต่อไป
 
 
 
ด้วยความเสมอภาค และภราดรภาพ
 
เครือข่ายภาคประชาชน 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง
 
วันที่ 6 ธันวาคม 2554
 
 
ภาพจาก: เอกสาร "แม่น้ำโขง สายน้ำแห่งชีวิต แหล่งพึ่งพิงของชุมชน"
จัด พิมพ์โดย: โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง (TERRA), มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ, Oxfam Australia, The Swedish Society for Nature Conservation (SSNC), Inter Church Organisation for Development Cooperation (ICCO); มีนาคม 2554

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net