Skip to main content
sharethis

ปาฐกถานำ “ทบทวนไทศึกษา/ ล้านนาคดี” โดยศาสตราจารย์ ดร.สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ เมื่อ 20 กันยายนที่ผ่านมา โดยการปาฐกถาเป็นส่วนหนึ่งของงานสัมนาวิชาการ “มานุษยวิทยา ล้านนาคดี และประวัติศาสตร์นิพนธ์ คนสามัญ อานันท์ 70 ปี” ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 20 - 21 เดือนกันยายน  2560 ที่สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดยเนื้อหาการนำเสนอของสมพงศ์ เริ่มต้นด้วยเรื่องทำไมต้องทบทวนไทศึกษา/ล้านนาคดีศึกษา ทั้งในแง่การนิยาม/การให้ความหมาย "ไทศึกษา"/"ล้านนาคดีศึกษา" เป้าหมายของการศึกษา การตอบโจทย์ทางวิชาการ/โจทย์ของสังคม ผลของการศึกษา: ทำให้เข้าใจคนไท/สังคมไท/คนเมือง/สังคมล้านนาดีขึ้นจริงหรือ? ใครเป็นผู้เข้าใจ และนำมาใช้แก้ปัญหาทางสังคมของสังคมไท/สังคมล้านนาได้หรือไม่?

VUCA "New Normal" ความปกติแบบใหม่ ความผันผวน (Volatillity) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความซับซ้อน (Complexity) ความกำกวม (Ambiguity) ที่คนกำลังเผชิญ คำถามก็คือเราเข้าใจสังคม เศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาลอย่างไร เราจะทำอย่างไร อย่างธนาคารที่เคยรับฝากเงินแล้วให้ดอกเบี้ยต่อไปก็อาจคิดค่าฝากหรือทยอยปิดสาขา แนวโน้มจะเกิดขึ้นกับมหาวิทยาลัยหรือไม่ สิ่งเหล่านี้ก็คือ VUCA หรือความปกติแบบใหม่หรือเปล่า

นอกจากนี้สมพงศ์ยังตั้งคำถามต่อถึง ไทศึกษา/ล้านนาคดีศึกษา กับความปกติแบบใหม่ ว่าสังคมและวัฒนธรรมล้านนาจะเป็นอย่างไร นักวิจัย/นักวิชาการจะมีท่าทีต่อสภาพสังคมแบบใหม่นี้อย่างไร การศึกษาวิจัยจะมีส่วนช่วยเหลือชุมชนล้านนาได้อย่างไร ประเด็นการศึกษาเรื่องคนท้องถิ่น/คนชายขอบ/คนต่างชาติ ควรปรับอย่างไร เมื่อเข้าใจแล้วต่อไปจะช่วยเหลือได้อย่างไรทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ

ธเนศ วงศ์ยานนาวา: มิเชล ฟูโกต์ แฮมเบอร์เกอร์ อร่อยจริงหรือเปล่า, 21 ก.ย. 2560

พหุวัฒนธรรม ความหลากหลาย ทิศทางและข้อท้าทาย ล้านนาคดีศึกษาและวิชาการเพื่อสังคม, 22 ก.ย. 2560

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net