Skip to main content
sharethis

แม้ยกเลิก ‘จอมพล’ แต่เงินเดือนเท่าเดิม ย้อนดู พ.ร.บ.ทหาร ปี 21-58 ปรับเงินเดือน 5 ครั้ง เพิ่มเกินเท่าตัวปี 31 และ 51 ล่าสุดปี 58 เพิ่ม 8% ใช้งบ 2 หมื่นล้าน ปี 59 ปรับเงินเดือนทหาร-ตำรวจ ตำแหน่ง พล.ท.สูงสุด 76,800 บ. งบฯ กลาโหมปี 61 เพิ่ม 8.8 พันล้าน ขณะที่ปี 57 ไทยมีนายพลรวม 1,500-2,000 คน มากกว่าสหรัฐฯ 1 ใน 3 แม้ประชากรน้อยกว่า 5 เท่า

เปรียบเทียบอัตราการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนระดับชั้นของข้าราชการทหาร พ.1 ป.1 น.1 น.5 และ น.9 กับ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ในปี 2527, 2531, 2535, 2551 และ 2558 

จากข่าว เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 61 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ยกเลิกตำแหน่งจอมพลแต่รับอัตราเงินเดือน น. 9 เท่าเดิม ตามที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม เสนอร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่) พ.ศ.... ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการ พ.ศ.2551  

โดยเมื่อร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว จะส่งผลให้กระทรวงกลาโหมไม่มีตำแหน่งอัตราจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ โดยนายทหารสัญญาบัตรยศจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ ที่มีอัตราเงินเดือนจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ ในระดับ น.9 จะถูกปรับเปลี่ยนเป็นยศพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก และได้รับอัตราเงินเดือนพลเอกพิเศษ พลเรือเอกพิเศษ พลอากาศเอกพิเศษ ในระดับ น.9 เช่นเดิม ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบต่อเงินเดือน เนื่องจากนายทหารสัญญาบัตรเหล่านี้ยังคงได้รับเงินเดือนระดับ น.9 ต่อไปเช่นเดิม

ประชาไทชวนย้อนดูการขึ้นเงินเดือนทุกระดับชั้นของข้าราชการทหาร ตั้งแต่ พ.1, พ.2, ป.1, ป.2, น.1, น.2, น.3, น.4, น.5, น.6, น.7, น.8, น.9

1.ทหารกองประจําการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ให้ได้รับเงินเดือนระดับ พ.1

2.พลทหารประจําการ (พลอาสาสมัคร) ให้ได้รับเงินเดือนระดับ พ.2

3.นายทหารประทวนยศตั้งแต่สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี ถึงสิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ป.1

4.นายทหารประทวนยศตั้งแต่จ่าสิบตรี พันจ่าตรี พันจ่าอากาศตรี ถึงจ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ป.2

5.นายทหารประทวนยศจ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก อัตราเงินเดือน จ่าสิบเอกพิเศษ พันจ่าเอกพิเศษ พันจ่าอากาศเอกพิเศษ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ ป.3

6.นายทหารสัญญาบัตรยศร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี ถึงร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก ให้ได้รับเงินเดือนระดับ น.1

7.นายทหารสัญญาบัตรยศพันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี ให้ได้รับเงินเดือนระดับ น.2

8.นายทหารสัญญาบัตรยศพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท ให้ได้รับเงินเดือนระดับ น.3

9.นายทหารสัญญาบัตรยศพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก ให้ได้รับเงินเดือนระดับ น.4

10.นายทหารสัญญาบัตรยศพลจัตวา พลเรือจัตวา พลอากาศจัตวา หรือพันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอกอัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ ให้ได้รับเงินเดือน ระดับ น.5

11.นายทหารสัญญาบัตรยศพลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี ให้ได้รับเงินเดือนระดับ น.6

12.นายทหารสัญญาบัตรยศพลโท พลเรือโท พลอากาศโท ให้ได้รับเงินเดือนระดับ น.7

13.นายทหารสัญญาบัตรยศพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ให้ได้รับเงินเดือนระดับ น.8

14.นายทหารสัญญาบัตรยศพลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก ที่เคยครองอัตราจอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ ให้ได้รับเงินเดือนระดับ น.9

พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร 21-58 ปรับเงินเดือน 4 ครั้ง ล่าสุดเพิ่ม 8% ใช้งบ 2 หมื่นล้าน

โดย พ.ร.บ. ฉบับแรกคือ พ.ศ. 2521 จากนั้น พ.ร.บ. ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2527 ได้ปรับเงินเดือนข้าราชการทหารขึ้นเป็นครั้งแรก ปรับครั้งที่ 2 ใน พ.ร.บ. ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2531 ปรับครั้งที่ 3 ใน พ.ร.บ. ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2435 จากนั้นเว้นไปอีก 15 ปี และปรับครั้งที่ 4 ใน พ.ร.บ. ฉบับที่ 7 พ.ศ. 2551 และปรับครั้งที่ 5 เพิ่มขึ้นประมาณ 8% ใน พ.ร.บ. ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2558 โดย สนช. เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร ปรับเงินเดือนข้าราชการทหารเพื่อปรับเงินเดือนข้าราชการทหาร ทหารกองประจำการ และนักเรียนในสังกัดกระทรวงกลาโหม ด้วยมติ 163 เสียง งดออกเสียง 14 เสียง จากทั้งหมด 177 เสียง โดยให้เหตุผลว่า เพื่อให้มีความเหมาะสมและเป็นธรรม สอดคล้องกับค่าครองชีพในปัจจุบัน โดยวงเงินที่ใช้ในการดำเนินการในการปรับขึ้นเงินเดือนอัตรา 8 % จะอยู่ที่ประมาณ 20,000 ล้านบาท

ระดับเงินเดือน

2521 (รวมบัญชี 1,2,3)

2527

2531 (รวมบัญชีก. ข. ค. ง.)

2535

2551

2558

พ.1

300-660

420-1,255

560-2,900

800-3,000

1,360-6,050

1,469-6,534

พ. 2

900-1,950

1,255-3,535

2,100-7,010

3,000-6,350

4,870-15,290

5,260-16,513

ป. 1

1,000-3,115

1,255-4,685

2,100-8,270

3,000-7,610

4,870-19,520

5,260-21,082

ป. 2

1,485-3,535

2,765-5,745

3,550-10,270

5,260-9,700

7,140-23,400

7,711-25,272

ป. 3

ไม่มีตำแหน่ง

ไม่มีตำแหน่ง

ไม่มีตำแหน่ง

ไม่มีตำแหน่ง

10,350-26,990

11,178-29,189

น. 1

1,785-6,935

2,485-7,285

3,150-12,720

4,760-12,480

6,470-26,990

6,988-29,149

น. 2

4,110-8,895

5,205-9,385

5,800-15,770

8,390-15,380

13,160-28,880

14,213-31,190

น. 3

5,210-10,855

6,935-12,535

7,200-19,470

9,740-18,840

16,190-35,220

17,485-38,038

น. 4

6,710-13,095

8,475-13,095

8,950-22,770

11,980-23,170

19,860-49,830

21,449-53,816

น. 5

8,160-15,575

10,365-15,575

12,350-32,500

18,060-31,990

24,400-53,080

26,352-57,326

น. 6

9,790-16,975

11,975-16,975

14,300-36,250

22,180-37,740

29,980-62,080

32,378-67,760

น. 7

11,650-18,515

13,695-18,515

16,700-40,000

25,960-42,520

35,090-67,560

37,897-72,965

น. 8

12,690-18,515

14,935-18,515

18,400-40,000

28,920-42,520

39,090-67,560

42,217-72,965

น. 9

13,820-19,325

19,325

24,000-41,250

37,800-44,160

51,960-70,930

56,117-76,604


เปรียบเทียบการเพิ่มขึ้นของเงินเดือนเป็นเปอร์เซ็นต์

ระดับเงินเดือน

2527

2531

2535

2551

2558

พ.1

90

131

3

102

8

พ. 2

81

98

-9

140

8

ป. 1

50

77

-8

157

8

ป. 2

63

79

-6

141

8

ป. 3

ไม่มีตำแหน่ง

ไม่มีตำแหน่ง

ไม่มีตำแหน่ง

ตำแหน่งใหม่

8

น. 1

5

75

-2

116

8

น. 2

6

68

-2

88

8

น. 3

15

55

-3

87

8

น. 4

0

74

2

115

8

น. 5

0

109

-2

65

8

น. 6

0

114

4

64

8

น. 7

0

116

6

64

8

น. 8

0

116

6

59

8

น. 9

0

113

7

61

8


เมื่อคำนวณอัตราการเพิ่มของเงินเดือน โดยคิดจากอัตราเงินเดือนสูงสุดของแต่ละระดับ พบว่า ปี 2527 แต่ละระดับเงินเดือนมีทั้งที่ไม่เพิ่มขึ้นเลย (น.9) ไปจนถึงเพิ่มขึ้นประมาณ 90% (พ.1) ปี 2531 ทุกระดับเงินเดือนเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว จนถึงเกินเท่าตัว เพิ่มสูงสุด 131% (พ.1) รองลงมาคือ 116% (น.8) ปี 2535 เป็นปีที่เงินเดือนสูงสุดในแต่ละระดับลดลงหรือหากเพิ่มขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นทหารในระดับสูง เช่น น.6 น.7 น.8 น.9 แต่ที่เพิ่มมากที่สุดคือ น.9 เพิ่ม 7% ปี 2551 เพิ่มขึ้นอย่างมากอีกครั้งทั้งเกือบทั้งตัวจนถึงเกินเท่าตัว และเพิ่มตำแหน่ง ป.3 เข้ามาด้วย เพิ่มสูงสุด 157% (ป.1) ส่วน น.4 เพิ่มขึ้น 115% น.5 เพิ่มขึ้น 65% น.6, น.7 เพิ่มขึ้น 64% น.8 เพิ่มขึ้น 59% และ น.9 เพิ่มขึ้น 61% และปี 2558 เฉลี่ยแล้วทุกระดับเงินเดือนเพิ่มขึ้น 8%

เปรียบเทียบกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในเขตกรุงเทพมหานครแต่ละปีตามราชกิจจานุเบกษาได้ดังนี้

 

2521

2527

2531

2535

2551

2558

บาท/ต่อวัน

35

70

76

115

203

300

บาท/ต่อเดือน

910

1,820

1,976

2,990

5,278

7,800

อัตราการเพิ่ม

 

100%

8.57%

51.31%

76.52%

47.78%

*ค่าจ้างขั้นต่ำรายเดือนคำนวณจากค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน x 26 วัน

ปี 59 ปรับเงินเดือนทหาร-ตำรวจ 400-1,300 บ. ตำแหน่ง พล.ท.สูงสุด 76,800 บ.

ปี 2559 (22 มี.ค.) ปรับเพิ่มเงินเดือนอีกครั้งเมื่อ ครม. เห็นชอบปรับอัตราเงินเดือนของข้าราชการทหาร ตำรวจ เพิ่มอัตราละ 400-1,300 บาท ตามหลักเกณฑ์และวิธีการเยียวยาให้กับข้าราชการทหาร ตำรวจและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำของอัตราเงินเดือน เนื่องจากที่ผ่านมามีการปรับเงินเดือนของข้าราชการพลเรือน ทำให้ฐานเงินเดือนสูงสุดของฝ่ายพลเรือนมีอัตราที่สูงกว่าภาคข้าราชการทหาร ตำรวจ จึงมีการเสนอให้ลดความเหลื่อมล้ำลง

โดยจะปรับเพดานอัตราเงินเดือนดังนี้ ระดับพล.ท. พล.ร.ท. พล.อ.ท.จากเงินเดือน 74,320 บาท เยียวยาเป็น 75,560 ถึง 76,800 บาท ระดับ พล.ต. พล.ร.ต. พล.อ.ต. จากเงินเดือน 69,040 บาท เยียวยาเป็น 70,360 ถึง 74,320 บาท ระดับ พ.อ. น.อ. น.อ.อ. จากเงินเดือน 58,390 บาท เยียวยาเป็น 59,500 บาท ระดับจ่าสิบตรี พันจ่าตรี พันจ่าอากาศตรี ถึงจ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก จากเงินเดือน 29,690 บาท เยียวยาเป็น 30,220 บาท ถึง 38,750 บาท และระดับสิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี ถึงสิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก จากเงินเดือน 21,480 บาท เยียวยาเป็น 21,880 บาท ถึง 38,750 บาท ส่วนข้าราชการตำรวจ ระดับ พล.ต.ท.จาก 74,320 บาท เยียวยาเป็น 75,560 บาท ถึง 76,800 บาท ระดับ พล.ต.ต.จากเงินเดือน 69,040 บาท เยียวยาเป็น 70,360 บาท ถึง 74,320 บาท ระดับพ.ต.อ.(พิเศษ) จากเงินเดือน 69,040 บาท เยียวยาเป็น 70,360 บาท ระดับ พ.ต.อ.จาก 58,390 บาทเยียวยาเป็น 59,500 บาท

ปี 60 สนช. ใช้เวลา 15 นาที ผ่านร่าง พ.ร.บ.ฯ เพิ่มอัตราเงินเดือนประจำตำแหน่งข้าราชการวิชาการกลาโหม

ปี 2560 (23 พ.ย.) ที่ประชุม สนช. ใช้เวลาเพียง 15 นาที เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการทหาร ด้วยมติเห็นชอบ 203 เสียง งดออกเสียง 4 เสียง จากทั้งหมด 207 เสียง เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการ ประเภทวิชาการในสถาบันการศึกษาสังกัดกระทรวงกลาโหม และเพิ่มบัญชีอัตราเงินประจำตำแหน่งข้าราชการ ประเภทวิทยฐานะ โดยไม่นำชั้นยศทางทหารมาเป็นหลักเกณฑ์การพิจารณาการดำรงตำแหน่งทางวิชาการ เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ โดยมีคณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ จากนั้น วันที่ 26 มกราคม 2561 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ ระเบียบข้าราชการทหาร (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2561 ซึ่งเป็นการแก้ไขตามมติดังกล่าว

งบฯ กลาโหมปี 61 เพิ่ม 8.8 พันล้านจากปี 60 เพิ่มขึ้นทุกปีตั้งแต่ปี 58

พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ได้จัดสรรงบประมาณที่มาจากภาษีของประชาชนไปยังกระทรวงกลาโหมสูงถึง 2.2 แสนล้านบาท คิดเป็น 7.7% ของงบประมาณทั้งหมด ได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้นจากงบปี 2560 ถึง 8.8 พันล้านบาท ถือเป็นจำนวนที่เพิ่มสูงในอันดับต้นๆ ของกลุ่มกระทรวงด้วยกัน และหากนับย้อนไปตั้งแต่ คสช.เข้าควบคุมอำนาจการปกครอง จะพบว่างบกลาโหมไต่ระดับสูงขึ้นตลอด ตั้งแต่งบปี 2558 จำนวน 1.9 แสนล้าน เป็นทะลุ 2 แสนล้านในปี 2559 แล้วขยับขึ้นเป็น 2.1 แสนล้านในปี 2560 และล่าสุด 2.22 แสนล้าน ในปี 2561

งบของกระทรวงกลาโหมปี 2561 มากเป็น 2 เท่าของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดูแลเกษตรกรอย่างน้อย 11 ล้านคน มากเป็น 5 เท่าของกระทรวงแรงงาน ที่ดูแลแรงงานในระบบและนอกระบบรวมกว่า 38 ล้านคน และมากเป็น 15 เท่าของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งมีภารกิจสำคัญในการพัฒนาและสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยเฉพาะการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ และหากนำไปเทียบกับงบที่กระทรวงกลาโหมได้รับจัดสรรเมื่อเกือบสิบปีก่อนในปี พ.ศ. 2552 ซึ่งอยู่ที่ 1.70 แสนล้านบาท ก็จะเพิ่มขึ้นถึง 30% เลยทีเดียว

ย้อนดูปี 57 ไทยมีนายพลรวม 1,500-2,000 คน มากกว่าสหรัฐฯ 1ใน 3 แม้ประชากรน้อยกว่า 5 เท่า

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ พบว่า ปี 2557 บัญชีแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารชั้นนายพล มีชื่ออยู่ในบัญชีถึง 1,092 คน นั่นคือนายพลเก่าและนายพลใหม่ (ขยับจากระดับพันเอกพิเศษขึ้นมา) รวมกัน แต่ยังไม่นับรวมนายพลที่ไม่ได้ขยับย้ายไปไหน ประเมินกันว่ารวมๆ แล้วน่าจะมีนายพลจากทุกเหล่าทัพมากถึง 1,500-2,000 คน

ย้อนดูจำนวนนายทหารชั้นนายพลในบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายวาระประจำปีย้อนหลัง 5-6 ปีก็จะเห็นความผิดปกติ โดยในปี 2552 มีนายพลในบัญชีรายชื่อ จำนวน 568 คน ปี 2553 ลดลงเล็กน้อยเหลือ 530 คน ปี 2554 ขยับขึ้นเป็น 584 คน จากนั้นปี 2555 ก้าวกระโดดขึ้นเป็น 811 คนตามด้วย 861 คนในปี 2556 และขึ้นถึงหลักพันในปี 2557 ที่จำนวน 1,092 คน นับจากปี 2554-2557 มีนายพลในบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว แน่นอนว่านายทหารยศ "พลเอก" ก็เพิ่มขึ้นตามลำดับด้วย

กานดา นาคน้อย นักวิชาการเขียนถึงประเด็นนี้ในบทความ ‘นายพลว่างงาน’ เมื่อ ต.ค.2557 ว่า เมื่อเทียบกับสหรัฐฯ มีจำนวนนายพลเพียง 2 ใน 3 ของจำนวนนายพลไทย สหรัฐฯ มีกำลังพลประมาณ 3 เท่าของกำลังพลของกองทัพไทย เมื่อเปรียบเทียบด้วยจำนวนประชากรแล้ว สหรัฐฯ มีประชากรประมาณ 5 เท่าของไทย ดังนั้นสัดส่วนกำลังพลของกองทัพไทยต่อประชากรจึงสูงกว่าสัดส่วนกำลังพลของกองทัพสหรัฐฯเสียอีก และเมื่อตรวจสอบดูเรื่องสวัสดิการของนายพล งบจัดซื้อรถยนต์ประจำตำแหน่ง งบค่าน้ำมัน และงบค่าเดินทางไปต่างประเทศ กลับไม่สามารถหาสถิติได้

ปฏิรูปกลาโหม ตั้งเป้าปี 71 เหลือ 384 นายพล

อย่างไรก็ตาม เมื่อ ก.ค.2559 พล.ต.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ โฆษกกระทรวงกลาโหม แถลงภายหลังการประชุมสภากลาโหม ว่า ที่ประชุมเห็นชอบการปฏิรูปกระทรวงกลาโหม เพื่อรองรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยการปรับระบบงานด้านกําลังพล ซึ่งปัจจุบันกระทรวงกลาโหมประสบปัญหาความคับคั่งของกําลังพลในชั้นยศสูง จึงต้องปรับลดให้มีขนาดที่เหมาะสม โดยส่วนแรกได้ปรับลดกําลังพลในตําแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ผู้ทรงคุณวุฒิ นายทหารปฏิบัติการลงร้อยละ 2.5 ต่อปี โดยเริ่มดําเนินการตั้งแต่ปี 2551 และสิ้นสุดในปี 2571 ซึ่งจะสามารถลดจํานวนกําลังพลดังกล่าวได้ถึงร้อยละ 50 โดยปี 2551 มีนายทหารระดับ พลตรี พลโท พลเอก ในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ทั้งหมด 768 คน และ จะลดลงในปี 2571 เหลือ 384 คน เช่นเดียวกับนายทหารชั้นยศพันเอกพิเศษ ในตำแหน่งนายทหารปฏิบัติการ (นปก.) ที่มีอยู่ตั้งแต่ปี 2551 จำนวน 2,698 คน จะต้องลดลงในปี 2571 เหลือ 1,349 คน

โฆษกกระทรวงกลาโหม ระบุด้วยว่า การลดจำนวนนายพล โดยลดอัตราผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ จะเริ่มค่อยๆ ดำเนินการต่อไปเพราะที่ผ่านมาก็เริ่มทำมาแล้วตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งจะสอดคล้องกับการผลิตนักเรียนจากโรงเรียนเตรียมทหาร และนายร้อยฯ ทุกเหล่าทัพที่จะลดไปตามลำดับด้วย สำหรับการตั้งข้อสังเกตว่าในช่วงหลังมีตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ และ ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษในโผทหารจำนวนมากนั้น ก็เป็นปัญหาความคับคั่งในระดับรองลงไป ทั้งนี้ กระทรวงกลาโหมได้จัดทําโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกําหนดจํานวน 3 โครงการ เพื่อเป็นกลไกรองรับต่อภารกิจดังกล่าว ทั้งระดับชั้นยศนายพล และทุกชั้นยศ มีกําลังพลเข้าร่วมโครงการใน 3 ปี ที่ผ่านมา กว่า 15,000 นาย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net