การประท้วงมาตรการปิดเมืองของรัฐบาลจีน

ความโกรธแค้นต่อมาตรการปิดเมืองที่กดขี่ประชาชนได้หลอมรวมเข้ากับความต้องการประชาธิปไตยมากขึ้น

กระแสการประท้วงต่อต้านการล็อกดาวน์โควิดในจีนถือเป็นความท้าทายต่อระบอบการปกครองและมาตรการปลอดโควิด ที่ถูกขับเคลื่อนโดยความต้องการค้ากำไร ไม่ใช่ความต้องการของประชาชน เมืองอย่างน้อย 10 แห่ง รวมทั้งเซี่ยงไฮ้ ปักกิ่งและอู่ฮั่น สั่นคลอนจากการเดินขบวนบนท้องถนนที่หาดูได้ยากยิ่งเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา การระบาดเริ่มต้นจากเหตุเพลิงไหม้อพาร์ตเมนต์ในเมืองอูรุมชี ในเขตปกครองตนเองซินเจียง-อุยกูร์ ผู้ประท้วงที่นั่นอ้างว่าการปิดเมืองล็อกดาวน์โควิดขัดขวางความพยายามในการช่วยเหลือขณะที่เกิดไฟไหม้ทำให้ผู้คนหลบหนีได้ยากขึ้น

 (ภาพ)นักศึกษามหาวิทยาลัย Southwest Jiaotong ไว้อาลัยเหยื่อเพลิงไหม้ที่ไหม้อพาร์ตเมนต์ในเมืองอุรุมชี (Urumqi) ที่จุดชนวนการประท้วง

ผู้คนในจีนสามารถรับรู้ความเดือดร้อนจากมาตรการปิดเมืองได้ หลังการแพร่ระบาดโควิดเกือบ 3 ปี มีเรื่องราวเกี่ยวกับการถูกกักขังที่บ้าน หลายครั้งเจ้าหน้าที่ปิดประตูตึกห้ามคนเข้า-ออก

การเคลื่อนไหวที่แข็งแกร่งที่สุดเกิดในรั้วมหาวิทยาลัย ความรู้สึกต่อต้านการล็อกดาวน์ได้หลอมรวมเข้ากับการเรียกร้องประชาธิปไตยมากขึ้น ความโกรธแค้นของพวกเขาได้สะท้อนออกมาท่ามกลางสังคมต่างระดับของจีน ตั้งแต่แรงงานข้ามชาติที่ประสบปัญหาการว่างงาน ขาดแคลนอาหารในช่วงล็อกดาวน์ ไปจนถึงมืออาชีพที่ไม่พอใจข้อจำกัดในการเดินทางในเซี่ยงไฮ้ ผู้ชุมนุมประท้วงเรียกร้องให้ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ลาออก ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องที่กล้าหาญมากๆ ในประเทศเผด็จการที่ผู้เห็นต่างมีโทษจำคุกแบบขังลืม ภาพการประท้วงซึ่งได้รับจากบีบีซี. แสดงให้เห็นกลุ่มตำรวจกำลังลากผู้คนออกไป ขณะนี้เจ้าหน้าที่ปราบปรามที่รุนแรงยิ่งขึ้น

ความโกรธเกรี้ยวของผู้ประท้วงเกิดขึ้นท่ามกลางการชะลอตัวของเศรษฐกิจครั้งใหญ่และการระบาดของโควิดที่ใหญ่ที่สุดเป็นเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ขณะที่รัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการคนก็ยิ่งออกมาประท้วง

หลายคนคิดว่าหากทางการจีนละทิ้งมาตรการโควิดแบบกักขัง กักกันคนที่ทำอยู่ ระบบการรักษาพยาบาลจะล้มเหลว “โรงพยาบาลจะประสบปัญหาการขาดแคลนเตียงเพื่อรองรับผู้ป่วยที่หลั่งไหลเข้ามาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้” ไมเคิล ฮวง ( Michael Huang) เพิ่งใช้เงิน 500 ปอนด์ ( สองหมื่นกว่าบาท) ไปกับเครื่องช่วยหายใจ บอกกับหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์ “ฉันต้องแน่ใจว่าพ่อของฉันจะได้รับการรักษาที่บ้าน ถ้าห้องฉุกเฉินไม่สามารถรับตัวเขาไปได้”  นั่นคือรัฐบาลจีนไม่ลงทุนกับการรักษาพยาบาลมากพอ

ความเสี่ยงที่จะล่มสลายของบริการสุขภาพนั้นมีอยู่จริง งบค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่อคนขณะนี้อยู่ที่ 458 ปอนด์ต่อปี หรือเกือบ 20,000 บาท ขณะที่อังกฤษใช้งบด้านสุขภาพต่อคน 4,313 ปอนด์ต่อปี  หรือประมาณ 1แสน 8 หมื่นบาท และมีเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ที่มีอายุมากกว่า 80 ปีที่ได้รับวัคซีนสองครั้ง

นั่นหมายถึงมีความเสี่ยงสูงที่จะมีคนติดเชื้อโควิดมากขึ้นจริงๆ หากยกเลิกมาตรการป้องกันโควิดทั้งหมดทันทีในจีน จะนำไปสู่การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล 5 ล้านคน และเสียชีวิต 1.55 ล้านคน ตัวเลขนี้มาจากการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัย Fudan ในเซี่ยงไฮ้

นั่นชี้ให้เห็นถึงเหตุผลที่แท้จริงว่าทำไมรัฐจีนบุกเบิกกลยุทธ์ปลอดโควิด หรือโควิดเป็นศูนย์ (a zero-Covid strategy )ในรูปแบบที่ไม่เหมือนใครในโลก เพื่อให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพต่ำในขณะเดียวกัน ขณะที่บังคับโรงงานให้ทำงานเต็มประสิทธิภาพในช่วงระยะเวลาหนึ่ง กลยุทธ์นี้มันอาจใช้ได้ผล ช่วงแรกๆที่อังกฤษและสหรัฐอเมริกา มีคน 313 คน ในจำนวน 100,000 คนที่รับเชื้อต้องเสียชีวิต   ขณะที่ตัวเลขผู้เสียชีวิตในจีนมีเพียง 1 คน

การประท้วงระลอกล่าสุดในจีนพิสูจน์ให้เห็นว่าการคงนโยบายล็อกดาวน์ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ภายใต้การคุกคามด้วยความรุนแรงของรัฐ ไม่อาจคงอยู่ตลอดไปได้ กลยุทธ์ปลอดโควิดที่รัฐบาลจีนใช้อยู่เพียงอย่างเดียวไม่ใช่ทางออก  ปัญหาต่างๆจะแก้ได้ ก็ด้วยกลยุทธ์หรือมาตรการที่กำหนดและดำเนินการโดยประชาชนคนธรรมดาเท่านั้น.

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท