Skip to main content
sharethis

'นิด้าโพล' เผยผลสำรวจคน กทม. 2,500 คน พบส่วนใหญ่เลือก 'พิธา' เป็นนายก 25.08% ตามมาด้วย 'แพทองธาร' 24.20% แต่ ส.ส. เลือก 'เพื่อไทย' มากที่สุด เขต 34.92% ปาร์ตี้ลิสต์ 34.40%

26 มี.ค. 2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “คนกทม. เลือกพรรคไหน” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 15-21 มีนาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร ครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 50 เขต กระจายทุกระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,500 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับคนกรุงเทพมหานครเลือกพรรคไหน การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่คนกรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 25.08  ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 24.20 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3   ร้อยละ 18.24 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 5.96 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) อันดับ 5 ร้อยละ 5.68 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) อันดับ 6 ร้อยละ 5.20 ระบุว่า ยังหาคน ที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 7 ร้อยละ 4.84 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) อันดับ 8 ร้อยละ 2.40 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 9 ร้อยละ 2.00 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 10 ร้อยละ 1.64 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) อันดับ 11 ร้อยละ 1.56 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) และร้อยละ 3.20 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ  (พรรคพลังประชารัฐ) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายมงคลกิตติ์ สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ  (พรรคประชาธิปัตย์) ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ (พรรคพลังประชารัฐ) นายรังสิมันต์ โรม (พรรคก้าวไกล) นายวิกรม กรมดิษฐ์ และนายสกลธี ภัททิยกุล (พรรคพลังประชารัฐ) 

เมื่อพิจารณาบุคคลที่คนกรุงเทพมหานครจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขตการปกครองของกรุงเทพมหานครพบว่า

1. กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง อันดับ 1 ร้อยละ 27.50 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 22.14 ระบุว่าเป็น  พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 3 ร้อยละ 21.07 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 4 ร้อยละ 7.86 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) และอันดับ 5 ร้อยละ 5.36 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์  (พรรคไทยสร้างไทย) 

2. กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 23.72 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 23.49 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 19.30 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 6.05 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และอันดับ 5 ร้อยละ 5.81 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

3. กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 29.16 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 24.43 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 18.89 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 7.60 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) และอันดับ 5 ร้อยละ 3.49 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า)

4. กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก อันดับ 1 ร้อยละ 24.52 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 22.61 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 19.35 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 7.47 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และอันดับ 5 ร้อยละ 6.71 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้

5. กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 27.09 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 19.60   ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 3 ร้อยละ 16.43 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 7.20 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) และยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ ในสัดส่วนที่เท่ากัน และอันดับ 5 ร้อยละ 6.34 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย)

6. กลุ่มเขตกรุงธนใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 27.65 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล) อันดับ 2 ร้อยละ 23.96 ระบุว่าเป็น  น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 3 ร้อยละ 14.06 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 6.68 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ และอันดับ 5 ร้อยละ 5.53 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) 

สำหรับพรรคการเมืองที่คนกรุงเทพมหานครจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 34.92 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 27.72 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 14.32 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 6.76 ระบุว่าเป็น  พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 3.32 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า อันดับ 6 ร้อยละ 2.96 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.48 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.16 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 9 ร้อยละ 1.68 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 10 ร้อยละ 1.48 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย และร้อยละ 2.20 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคไทยภักดี พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคสร้างอนาคตไทย   พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเทิดไท พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ และพรรคเศรษฐกิจไทย

เมื่อพิจารณาพรรคการเมืองที่คนกรุงเทพมหานครจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขตการปกครองของกรุงเทพมหานครพบว่า

1. กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง อันดับ 1 ร้อยละ 30.00 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 2 ร้อยละ 26.07 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 18.21 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 6.78 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และอันดับ 5 ร้อยละ 5.36 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ 

2. กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 35.12 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 25.58 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 13.02 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 10.70 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 2.79 ระบุว่าเป็น  พรรคพลังประชารัฐ และยังไม่ตัดสินใจ ในสัดส่วนที่เท่ากัน

3. กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 36.96 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 28.95 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 14.99 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 4.31 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย และอันดับ 5 ร้อยละ 3.70 ระบุว่าเป็น  พรรคประชาธิปัตย์

4. กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก อันดับ 1 ร้อยละ 36.59 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 27.39 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 16.28 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 5.17 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 3.07 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย

5. กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 35.74 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 23.34 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 14.12 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 6.05 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 4.90 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย

6. กลุ่มเขตกรุงธนใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 35.48 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 30.88 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 10.14 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 9.68 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 4.15 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า

ด้านพรรคการเมืองที่คนกรุงเทพมหานครจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 34.40 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 28.76 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 14.68 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 6.08 ระบุว่าเป็นพรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 3.48 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า อันดับ 6 ร้อยละ 3.04 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.60 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.08 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 9 ร้อยละ 1.44 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 10  ร้อยละ 1.28 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ และร้อยละ 2.16 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคไทยภักดี พรรคสร้างอนาคตไทย พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคเพื่อชาติ พรรคเศรษฐกิจไทย พรรคเทิดไท และพรรคประชาชาติ

เมื่อพิจารณาพรรคการเมืองที่คนกรุงเทพมหานครมีแนวโน้มจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ 5 อันดับแรก เมื่อจำแนกตามกลุ่มเขตการปกครองของกรุงเทพมหานครพบว่า

1. กลุ่มเขตกรุงเทพกลาง อันดับ 1 ร้อยละ 30.71 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 2 ร้อยละ 26.07 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 3 ร้อยละ 18.57 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 6.79 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และอันดับ 5 ร้อยละ 5.36 ระบุว่าเป็นพรรคประชาธิปัตย์ 

2. กลุ่มเขตกรุงเทพใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 34.65 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 26.51 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 13.49 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 10.24 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 2.09 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า พรรคเสรีรวมไทย พรรคพลังประชารัฐ และพรรคภูมิใจไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน

3. กลุ่มเขตกรุงเทพเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 38.19 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 29.57 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 14.37 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 3.29 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคไทยสร้างไทย ในสัดส่วนที่เท่ากัน และอันดับ 5 ร้อยละ 2.87 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า

4. กลุ่มเขตกรุงเทพตะวันออก อันดับ 1 ร้อยละ 34.29 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 29.88 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 16.86 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 3.83 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 3.26 ระบุว่าเป็นพรรคเสรีรวมไทย

5. กลุ่มเขตกรุงธนเหนือ อันดับ 1 ร้อยละ 35.16 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 23.05 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3  ร้อยละ 14.41 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 6.05 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 5.19 ระบุว่าเป็น  พรรคไทยสร้างไทย

6. กลุ่มเขตกรุงธนใต้ อันดับ 1 ร้อยละ 34.79 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 32.03 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 11.29 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 8.30 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ และอันดับ 5 ร้อยละ 3.92 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า

“พิธา” ขอบคุณทุกความไว้วางใจ ดันขึ้นที่หนึ่งนิด้าโพล กทม.

ทีมสื่อพรรคก้าวไกล แจ้งข่าวว่าพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ให้สัมภาษณ์แก่สื่อมวลชนในประเด็นการเมือง ก่อนการร่วมรณรงค์หาเสียงในจังหวัดนนทบุรี ร่วมกับว่าที่ผู้สมัคร ส.ส. ทั้ง 8 เขตตลอดทั้งวันนี้

พิธา ได้ตอบคำถามกรณีที่นิด้าโพล ได้ออกผลสำรวจความเห็นคนกรุงเทพมหานครเมื่อเช้านี้ ที่ให้ความไว้วางใจพิธามาเป็นอันกับหนึ่งของบุคคลที่ชาวกรุงเทพต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่าความไว้วางใจของพี่น้องชาวกรุงเทพฯ มอบให้ตามผลสำรวจของนิด้าโพล สอดคล้องกับโพลภายในของพรรคเองที่มีการสำรวจมา ซึ่งตนต้องขอขอบคุณทุกความไว้วางใจที่ได้มอบให้แก่ตน และทุกการสนับสนุนจะเป็นพลังที่ร่วมผลักดันการทำงานของตนและพรรคก้าวไกลในการเปลี่ยนแปลงต่อไป

สำหรับจังหวัดนนทบุรีที่พรรคก้าวไกลมารณรงค์หาเสียงในวันนี้ เมื่อครั้งเป็นพรรคอนาคตใหม่ เราได้รับความไว้วางใจจากชาวนนทบุรีทั้งสิ้น 1.7 แสนคะแนน เป็นจังหวัดยุทธศาสตร์ ที่ผู้สมัครทั้ง 8 เขตมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งช่วงโควิด และช่วงที่มีปัญหาน้ำท่วม ซึ่งจังหวัดนนทบุรีเป็นจังหวัดที่มีปัญหาน้ำท่วมกระทบพื้นที่เศรษฐกิจมากที่สุดในประเทศไทย และวันนี้ตนจะได้ไปพบปะกับพี่น้องเกษตรกรในจังหวัดนนทบุรี ที่มีปัญหาหนี้สินเยอะเป็นพิเศษ ซึ่งตนและพรรคก้าวไกลจะเข้าไปพบปะนำเสนอนโยบายด้านการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของหนี้ ธกส. นโยบายโซลาร์เซลล์ ธนาคารต้นไม้ เป็นต้น

ส่วนความนิยมในอนาคตนั้น คาดได้ว่าจะเพิ่มขึ้นไปตามการทำงานที่ต่อเนื่องของพรรคก้าวไกล ซึ่งจากจุดนี้ไปเราจะใช้เวลาช่วงที่เหลืออยู่นี้ตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ เข้าหาพบปะประชาชนต่อเนื่อง รวมทั้งย้ำนโยบายและจุดยืนการทำงานแบบพรรคก้าวไกลที่ต่างจากพรรคอื่นอย่างเห็นได้ชัด ในความชัดเจน ตรงไปตรงมา กล้าคิดกล้าทำ รวมถึงการที่พรรคก้าวไกลเน้นย้ำเสมอ ว่าโจทย์ของการเลือกตั้ง 14 พ.ค. คือการเปลี่ยนแปลงประเทศและรื้อโครงสร้าง มากกว่าแค่การเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตนต้องขอความช่วยเหลือไว้วางใจจากทุกคนที่เชื่อในสิ่งเดียวกันกับเรา ให้ร่วมเป็นหัวคะแนนธรรมชาติ ช่วยกันสื่อสารเจตจำนงนี้ของพรรคก้าวไกลออกไปให้ประชาชนได้รับรู้มากขึ้น

ผู้สื่อข่าวยังถามต่อไปถึงกรณีการเปิดตัว พล.อ.ประยุทธ์ เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ ซึ่งพิธาได้กล่าวว่าตนไม่ได้ให้ความสนใจกับเรื่องนี้ เพราะอย่างที่บอกไป ว่าสำหรับพรรคก้าวไกลแล้ว เป้าหมายทางการเมืองของเราไม่ได้เป็นเรื่องของการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีหรือเป็นเรื่องของตัวบุคคล แต่เป็นเรื่องของโครงสร้างและระบบ ตนจึงไม่ได้ให้ราคาและความสำคัญกับเรื่องนี้แต่อย่างไร

ส่วนกรณีที่ ทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร พยายามเสนอนโยบายในทิศทางที่อาสาตนจะเป็นโซ่ข้อกลางก้าวข้ามความขัดแย้งนั้น ตนจำเป็นต้องขอเตือนความจำทุกคน ว่าความขัดแย้งในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นจากทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร เป็นผู้ทำให้เกิดขึ้นมา แล้วอยู่ๆ จะมาฟอกขาวอ้างตัวเป็นโซ่ข้อกลางคงจะไม่ได้ ถ้าจะพาสังคมไทยก้าวข้ามความขัดแย้งจริงๆ ทั้งคู่ต้องเข้าสู่กระบวนการรับผิดรับชอบ ไม่เช่นนั้นก็ถือว่าไม่มีความชอบธรรมที่จะเป็นโซ่ข้อกลางได้

“การปรองดองต้องไม่เป็นแค่เรื่องของนักการเมืองมาให้อภัยกันฝ่ายเดียว แต่ต้องเป็นเรื่องของประชาชนด้วย ที่ผ่านมามีประชาชนที่ถูกกระทำมากมาย ไม่ได้รับความเป็นธรรม การปรองดองอย่างแท้จริงจะเกิดขึ้นได้ ก็ต่อเมื่อเราเอาทหารออกจากการเมือง ปิดสวิตช์ ส.ว. เอาทั้ง 3 ป. เข้าสู่กระบวนการรับโทษในสิ่งเลวร้ายที่พวกเขาที่ทำไว้กับประเทศชาติเสียก่อน ต้องไม่มีวัฒนธรรมพ้นผิดลอยนวลอีกต่อไปเท่านั้น การปรองดองถึงจะเกิดขึ้นได้” พิธากล่าว

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net